ผ้าอนามัย ผ้าอนามัยแบบสอด และอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับการมีประจำเดือน Tampons, Pads, and Other Period Supplies

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ผ้าอนามัย ผ้าอนามัยแบบสอด และอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับการมีประจำเดือน Tampons, Pads, and Other Period Supplies

หากพูดถึงผ้าอนามัยและผ้าอนามัยแบบสอด คงนึกภาพออกเลยว่ามันมีหลากหลายประเภทและยี่ห้อให้เลือกเต็มไปหมด คุณอาจต้องทดลองใช้หลายแบบและยี่ห้อจนกว่าคุณจะเจอแบบและยี่ห้อที่เหมาะกับคุณมากที่สุด และนี่คือเคล็ดลับที่นำมาแชร์

เมื่อมีประจำเดือนคุณย่อมต้องการอะไรบางอย่างมาซึมซับหรือรองรับเลือดประจำเดือนที่ออกมา มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกอย่างหลากหลาย ซึ่งคุณอาจต้องทดลองใช้หลายแบบหลายยี่ห้อจนกว่าคุณจะเจอแบบและยี่ห้อที่เหมาะกับคุณมากที่สุด มาดูกันว่าอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อซึมซับหรือรองรับเลือดประจำเดือนมีอะไรบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

 ผ้าอนามัย

ไม่ว่าจะเป็นผ้าอนามัยแบบบาง บางเฉียบ มีปีกหรือไม่มีปีก แบบดับกลิ่น แผ่นใหญ่และหนา หรือแผ่นเล็ก ลักษณะที่หลากหลายเหล่านี้อาจทำให้คุณรู้สึกงงได้ว่าจะเลือกใช้แบบใดดี และแน่นอน! มันต้องมีสักแบบที่จะเหมาะกับคุณมากที่สุด

ผ้าอนามัยคือแผ่นซับที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกาวอีกด้านที่สามารถแปะเข้ากับเป้ากางเกงชั้นในของสาวๆ ได้ บางครั้งถูกเรียกว่า sanitary pads (U.K) หรือ sanitary napkins (U.S) ผ้าอนามัยบางแบบถูกออกแบบมาให้มีปีกด้านข้างที่สามารถติดยึดขอบกางเกงชั้นในบริเวณเป้าให้ติดแน่น กระชับ และป้องกันการซึมเปื้อนได้

เด็กสาวบางคนมีเลือดประจำเดือนออกมามาก ในขณะที่บางคนมีเลือดเพียงน้อยนิด ดังนั้นผ้าอนามัยจึงมีหลายขนาดและมีความหนาบางที่แตกต่างกันไปเพื่อใช้ในวันมามาก วันมาน้อย ใช้ตอนกลางวัน หรือใช้ตอนกลางคืน เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่มีประจำเดือนไม่มากก็ไม่จำเป็นต้องใส่ผ้าอนามัยแผ่นหนาๆ ให้รู้สึกอึดอัด และผู้ที่มีประจำเดือนมามากก็ไม่ต้องกังวลว่าเลือดจะซึมเปื้อนออกมาเลอะกางเกงหรือกระโปรงที่สวมอยู่

ผ้าอนามัยบางรุ่นมีกลิ่นหอมหรือเป็นแบบระงับกลิ่นได้  แต่ผ้าอนามัยประเภทนี้อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกระคายเคืองบริเวณช่องคลอดหรือเด็กสาวบางคนอาจเกิดอาการแพ้ได้

โดยปกติแล้วผ้าอนามัยจะมีแถบกาวอีกด้านหนึ่ง เพียงแค่ลอกแถบกระดาษออกคุณก็จะสามารถแปะผ้าอนามัยเข้ากับเป้ากางเกงชั้นในได้ และหากเป็นผ้าอนามัยแบบมีปีก คุณก็แค่แปะบริเวณปีกเข้ากับขอบกางเกงชั้นในเพื่อให้กระชับ ซึ่งผ้าอนามัยแบบนี้จะเป็นประเภทที่ใช้แล้วทิ้ง

สำหรับผ้าอนามัยที่ใช้แล้ว คุณจะต้องห่อหุ้มด้วยกระดาษหรือกระดาษชำระให้มิดชิดก่อนทิ้งลงในถังขยะ คุณจะต้องไม่ทิ้งผ้าอนามัยที่ใช้แล้วลงในโถชักโครกเด็ดขาด! เพราะมันจะทำให้ส้วมอุดตันและสกปรกได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม คุณยังสามารถเลือกใช้ผ้าอนามัยแบบซักแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไปหรือหาซื้อจากร้านค้าออนไลน์ ผ้าอนามัยประเภทนี้จะใช้โดยการยึดผ้าอนามัยเข้ากับกางเกงชั้นในโดยคลิป เด็กสาวหลายคนเลือกใช้ผ้าอนามัยประเภทนี้เพราะเชื่อว่ามันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยังประหยัดเงินในกระเป๋าด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละคนที่จะเลือกผ้าอนามัยประเภทไหน

และไม่ว่าจะเป็นผ้าอนามัยแบบใด คุณจะต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 3 – 4 ชม. แม้ในวันมาน้อย เพราะการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ จะช่วยป้องกันการก่อเชื้อแบคทีเรียและป้องกันการเกิดกลิ่นด้วย และในวันมามากคุณย่อมต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยขึ้นอีกเพราะผ้าอนามัยจะเต็มเร็วมาก

ผ้าอนามัยแบบสอด

ผ้าอนามัยแบบสอดนั้นมีลักษณะที่แตกต่างจากผ้าอนามัยแบบปกติที่ซึมซับเลือดประจำเดือนเมื่อไหลออกมานอกร่างกายแล้ว แต่ผ้าอนามัยแบบสอดจะซึมซับเลือดประจำเดือนภายในช่องคลอด ซึ่งผ้าอนามัยแบบนี้จะถูกผลิตด้วยวัสดุซึมซับพิเศษที่บีบอัดให้มีลักษณะเป็นแท่งเล็กๆ เช่นเดียวกันกับผ้าอนามัยแบบปกติที่ผ้าอนามัยแบบสอดก็มีหลากหลายขนาดและหลายแบบไม่ว่าจะสำหรับวันมากหรือวันมาน้อย

ผ้าอนามัยแบบสอดอาจถูกออกแบบมาให้สามารถดับกลิ่นได้ด้วย อย่างไรก็ตามมันไม่จำเป็นเลยที่จะต้องใช้แบบที่ดับกลิ่นได้ เพราะยังไงแล้วการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ก็ช่วยให้ไม่มีกลิ่นอยู่แล้ว นอกจากนี้สารดับกลิ่นอาจทำให้คุณเกิดอาการระคายเคืองภายในช่องคลอดและอาจเกิดอาการแพ้ได้

การใช้ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ใช่เรื่องยากเพียงแต่คุณต้องรู้ว่าทำอย่างไร ก่อนใช้ทุกครั้งต้องล้างมือให้สะอาดและทำตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด บางยี่ห้อมีเครื่องมือช่วยสอดแถมมาให้ด้วยเพื่อให้คุณใช้งานง่ายขึ้น แต่บางยี่ห้อคุณต้องใช้นิ้วมือของคุณเองในการสอดใส่อุปกรณ์

สาวๆ บางคนพบว่าการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดที่มีขนาดเรียวเล็กจะช่วยให้สอดใส่เข้าไปในช่องคลอดได้ง่ายในช่วงแรกที่ใช้ นอกจากนี้อุปกรณ์ช่วยสอดที่แถมมากับผลิตภัณฑ์ด้วยจะช่วยให้คุณใช้งานง่ายขึ้นโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เริ่มใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หากคุณใช้มันเป็นครั้งแรกแนะนำให้ใช้ในวันที่ประจำเดือนมามากเพราะจะทำให้สอดเข้าไปได้ง่ายกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เด็กสาวบางคนกังวลว่าผ้าอนามัยแบบสอดอาจหลุดหายเข้าไปในร่างกายได้ แต่จริงๆ แล้วมันไม่สามารถหลุดหายเข้าไปในตัวเราได้ มันจะอยู่เฉพาะภายในช่องคลอดเพราะปากมดลูกนั้นมีขนาดเล็กมากซึ่งผ้าอนามัยแบบสอดจะไม่สามารถผ่านเข้าไปได้

ผ้าอนามัยแบบสอดทุกชิ้นจะมีสายยื่นยาวออกมาจากส่วนท้ายซึ่งจะถูกปล่อยไว้นอกร่างกายเพื่อใช้ดึงผ้าอนามัยออกจากช่องคลอด และเพื่อไม่ให้สาวๆ ลืมว่ามีผ้าอนามัยอยู่ภายในและจะไม่ใส่อันใหม่เข้าไปโดยที่ไม่ดึงอันเก่าออกมา

หากคุณปล่อยให้ผ้าอนามัยค้างอยู่ภายในนานเกินไป มันจะไม่หายไปไหน แต่จะพบว่ามีตกขาวออกมามากและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนทุก 4 – 6 ชม.หรือเมื่อรู้สึกว่ามันอิ่มตัว เนื่องจากคุณจะไม่สามารถเห็นมันได้เหมือนการใช้ผ้าอนามัยแบบปกติ ดังนั้นคุณต้องจำให้ได้ว่าคุณใส่มันไปเวลาใดและจะต้องเปลี่ยนมันเมื่อไหร่ หรือคุณอาจสังเกตได้จากรอยเปรอะที่แผ่นอนามัย กางเกงชั้นใน หรือเสื้อผ้าที่สวมใส่ หากพบเช่นนั้นคุณจะต้องเปลี่ยนโดยการดึงเชือกที่ยื่นออกมาอย่างเบามือจนกว่าผ้าอนามัยจะหลุดออกมา จากนั้นห่อหุ้มด้วยกระดาษชำระให้มิดชิดแล้วทิ้งลงถังขยะ จำไว้ว่าอย่าทิ้งมันลงในโถชักโครกหรือโถส้วมเด็ดขาดแม้บนกล่องผลิตภัณฑ์จะบอกว่ามันสามารถทิ้งลงในโถชักโครกได้ก็ตาม นั่นเพราะมันอาจทำให้ส้วมเต็มและเกิดความสกปรกได้

แต่เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยแล้วคุณกลับไม่พบเชือกที่ควรต้องยื่นออกมา ไม่ต้องเป็นกังวล! มันยังคงอยู่ในนั้น เพียงแค่คุณสอดนิ้วมือเข้าไปในช่องคลอดเพื่อหาสายเชือก อาจใช้เวลาสักนิดเพราะไม่ง่ายที่จะหยิบเชือกออกมาได้

ถ้วยอนามัย

ถ้วยอนามัยมีลักษณะการใช้คล้ายๆ กับการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด คือ ต้องมีการสอดอุปกรณ์เข้าไปในช่องคลอด แต่แทนที่จะช่วยซึมซับเลือดประจำเดือน ถ้วยอนามัยจะทำหน้าที่รองรับเลือดก่อนที่มันจะไหลออกมาจากช่องคลอด ถ้วยอนามัยทำมาจากวัสดุที่เป็นยางหรือซิลิโคนที่มีความยืดหยุ่นมาก เนื่องจากคุณจะไม่มีทางทราบได้ว่าถ้วยนั้นเต็มหรือไม่ ดังนั้นมันต้องถูกดึงออกมาเพื่อเทเลือดประจำเดือนทิ้งบ่อยๆ แนะนำให้ศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด

แม้ว่าอุปกรณ์อาจมีรูปร่างคล้ายกับไดอะเฟรม ทว่ามันไม่ใช่อุปกรณ์คุมกำเนิดเหมือนไดอะเฟรมและจะไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

การหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้

สิ่งที่ควรคำนึงเมื่อใช้ผ้าอนามัยแบบสอด คือ คุณจะต้องเปลี่ยนมันทุก 1 – 2 ชม.และใช้แบบที่เหมาะสมกับปริมาณของประจำเดือนในแต่ละวัน และจะต้องไม่ปล่อยให้ผ้าอนามัยแช่ไว้ในช่องคลอดทั้งวันหรือทั้งคืนเด็ดขาด ซึ่งบางครั้งคุณอาจรู้สึกว่าคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเพราะมีประจำเดือนมาไม่มาก แต่พฤติกรรมเช่นนี้เสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากเพราะคุณอาจเป็นโรค toxic shock syndrome หรือ TSS ได้ ซึ่ง TSS เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดที่ซับเลือดประจำเดือนไว้นานเกินไป โดยเฉพาะเมื่อมันถูกทิ้งไว้เป็นเวลานานเกินกว่าที่แนะนำ

อาการของ TSS เช่น มีไข้สูง อาเจียน ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง รู้สึกอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะมาก และมีผื่นที่ดูเหมือนผิวไหม้แดด หากคุณมีอาการเหล่านี้ขณะที่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดอยู่ คุณต้องรีบดึงมันออกและแจ้งให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง พยาบาลประจำโรงเรียน หรือผู้ใหญ่ทราบทันที และนำคุณส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็วที่สุด เนื่องจากร่างกายอาจช๊อกจากอาการ TSS หากรอให้มีอาการนานเกินไป

อย่างไรก็ตาม ภาวะ TSS นั้นพบได้ไม่บ่อยนักและสาวๆ ส่วนใหญ่ไม่เคยมีอาการป่วยจากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหากพวกเธอปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานอย่างเคร่งครัดและเปลี่ยนมันบ่อยๆ

จะเลือกอะไรดีระหว่างผ้าอนามัยแบบปกติหรือผ้าอนามัยแบบสอด

เมื่อต้องตัดสินใจว่าจะใช้ผ้าอนามัยหรืออุปกรณ์แบบไหน ย่อมขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้ เด็กสาวบางคนเลือกที่จะใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเพราะมันง่ายและสะดวกที่จะพกพาหรือเก็บในกระเป๋ากางเกงหรือกระเป๋าตังค์  นอกจากนี้การใช้ผ้าอนามมัยแบบสอดและถ้วยอนามัยยังทำให้พวกเธอสามารถว่ายน้ำได้ อย่างไรก็ตามเด็กสาวบางคนเลือกที่จะใช้ผ้าอนามัยแบบปกติเพราะมันง่ายที่จะใช้และจะไม่ลืมที่จะเปลี่ยนซึ่งสามารถเห็นได้ว่าผ้าอนามัยอิ่มตัวหรือยัง

เด็กสาวหลายคนมีการใช้สลับกันไปมา ซึ่งบางครั้งก็ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดและบางครั้งก็ใช้ผ้าอนามับแบบปกติขึ้นอยู่กับสถานการณ์และปริมาณของเลือดประจำเดือน อย่างบางคนเลือกใช้ผ้าอนามัยในตอนกลางคืนเวลานอนและใช้ผ้าอนามัยแบบสอดในตอนกลางวัน และบางคนใช้ผ้าอนามัยแบบสอดในวันมามากและใช้ผ้าอนามัยหรือแผ่นอนามัยช่วยรองรับไม่ให้เลือดซึมเปื้อน

หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์เหล่านี้และการมีประจำเดือน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/supplies.html


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Menstrual cups vs. pads and tampons: How do they compare?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325790)
Tampons vs. Pads: Is One Better Than the Other?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/tampons-vs-pads)
Menstrual Product Alternatives to Tampons and Pads. Health.com. (https://www.health.com/menstruation/genius-period-products)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป