ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นสิ่งที่ปลอดภัยอย่างมากเมื่อใช้อย่างถูกวิธี แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากใช้ผิดวิธีก็อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งผ้าอนามัยแบบสอดสามารถทำให้เกิดภาวะ Menstruation-related toxic shock Syndrome คือการติดเชื้อที่ผิวหนัง เลือด และอวัยวะอีกหลาย ๆ ส่วน และอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ถึงแม้จะพบได้น้อยมากในปัจจุบัน
ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในยุค 1980 ในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุน้อยและแข็งแรงจะมีการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด โดยการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดจะทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิด Toxic shock syndrome ได้มากขึ้นถึง 33 ท่า หลังจากที่ทราบว่าผ้าอนามัยแบบสอดทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง ทางบริษัทที่ทำการผลิตผ้าอนามัยแบบสอดจึงได้หันมาเปลี่ยนวัสดุในการทำใหม่ โดยในปัจจุบันมักทำมาจากผ้าคอตตอนและเรยอน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
นอกจากนี้ทางองค์การอาหารและยายังได้มีส่วนร่วมในการผลิตผ้าอนามัยแบบสอดโดยการจำกัดปริมาณการซึมซับของผ้าอนามัยออกเป็น 4 กลุ่มคือ Junior, Regular, Super และ Super-plus ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดรู้ว่าจะต้องเปลี่ยนผ้าอานามัยบ่อยครั้งเพื่อทำให้ลดการลืมผ้าอนามัยไว้ภายใน เพราะถ้ายิ่งทิ้งไว้นานมากเท่าไรก็จะเสี่ยงต่อการติเชื้อของแบคทีเรียจากช่องคลอดและบริเวณอื่นๆได้ และอาจจะทำให้เกิด toxic shock syndrome ได้เช่นกัน
โดยเชื้อ Staphylococcus aureus (S.aureus) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มักจะอาศัยอยู่บนผิวหนังและทำให้เกิดการติดเชื้อบนผิวหนัง ซึ่งก็รวมไปถึงบริเวณช่องคลอดด้วย เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถปล่อย toxic shock syndrome toxin-1 ที่เป็นสาเหตุให้เกิด toxic shock syndrome และมีบางภาวะที่จะเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะนี้เช่นค่าความเป็นกรด ด่าง อุณหภูมิร่างกายและระดับคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน เนื่องจากการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดและปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในช่องคลอด ทำให้เชื้อ S.aureus มีการปล่อยสารพิษออกมา โดยสารพิษที่ทำให้เกิด toxic shock syndrome จะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของระบบการควบคุมกลไกต่างๆของร่างกาย ซึ่งสารพิษเหล่านี้จะทำให้เกิดไข้ ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และเกิดปัญหาที่ไตหรือความดันโลหิตเกิดความผิดปกติ
ตัวอย่างอาการที่พบได้บ่อยของ toxic shock syndrome ประกอบด้วย
- ไข้
- ความดันโลหิตต่ำ
- สับสน
- คลื่นไส้
- ภาวะช็อก
- อาเจียน
- ปวดกล้ามเนื้อ
- มีการอักเสบที่ตา คอ และปาก
- ไข้
- ผื่นกระจายทั่วตัวลักษณะเหมือนไหม้แดด
- อวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว (ตับและไต)
การติดเชื้อและการเกิด toxic shock syndrome อาจจะเกิดแบบไม่รุนแรงได้ ทำให้เกิดอาการทั่วๆไป อาทิเช่นไข้หนาวสั่น หรือรุนแรงจนทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานล้มเหลว ซึ่งในการวินิจฉัยภาวะนี้จะขึ้นอยู่กับการซักประวัติและลักษณะของอาการที่ตรวจพบด้วย
ภาวะ toxic shock syndrome ระดับรุนแรงสามารถรักษาได้ด้วยการดูแลอย่างใกล้ชิดและด้วยวิธีการต่อไปนี้
- นำผ้าอนามัยแบบสอดออกมา
- ให้ยาปฏิชีวนะ
- ให้สารน้ำทางเส้นเลือดและยากระตุ้นการทำงานของหัวใจเพื่อรักษาระดับความดันโลหิต
- การล้างไต (หากจำเป็น)
- การให้ gamma globulin (หากจำเป็น)
ภาวะ toxic shock syndrome ขั้นรุนแรงสามารถทำให้เสียชีวิตได้สูงถึง 50% และการให้ยาปฏิชีวนะก็มักไม่ได้ใช้เพื่อรักษาภาวะนี้โดยตรงแต่เพื่อลดการเป็นซ้ำมากกว่า
วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดในการเกิดภาวะนี้คือ การรักษาสุขอนามัยที่ดีและควรเปลี่ยนผ้าอนามัยแบบสอดอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 4-8 ชั่วโมง และหากคุณคิดว่าคุณทำผ้าอนามัยแบบสอดหายค้างอยู่ในร่างกายหรือหาไม่พบ ควรไปพบแพทย์ทันที โดยอาการของการมีผ้าอนามัยค้าวอยู่ภายในช่องคลอดจะมีความรู้สึกไม่สบายช่องท้อง ปวด มีอาการตกขาวกลิ่นเหม็นและเป็นไข้ ซึ่งคุณควรระลึกไว้ว่ายิ่งผ้าอนามัยอยู่ภายในร่างกายนานเท่าไหร่ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้นเท่านั้น