กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Q&A เกี่ยวกับผ้าอนามัยแบบสอด (Tampons)

คลายทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับผ้าอนามัยแบบสอด และความเชื่อแบบผิดๆ ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน เช่น เรื่องของความบริสุทธิ์ หรือความเจ็บปวดเมื่อใช้ผ้าอนามัยชนิดนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
Q&A เกี่ยวกับผ้าอนามัยแบบสอด (Tampons)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผ้าอนามัยแบบสอด เป็นผ้าอนามัยอีกประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
  • แม้ว่าจะใส่ผ้าอนามัยแบบสอด ก็ต้องเปลี่ยนใช้อันใหม่ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง
  • ก่อนและหลังใส่ผ้าอนามัยแบบสอด ทุกล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ทำให้สูญเสียเยื่อพรมจรรย์อย่างที่หลายคนเข้าใจ
  • หากเกิดอาการผิดปกติหลังใส่ผ้าอนามัยแบบสอด ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ที่นี่

ตั้งแต่ที่มีการคิดค้นผ้าอนามัยแบบสอด (Tampons) ขึ้นมา สินค้าประเภทนี้ก็ได้กลายเป็นที่ถกเถียงในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านของสุขลักษณะ ด้านจริยธรรม และด้านโฆษณาชวนเชื่อเกินจริงซึ่งก็ทำให้เกิดข้อสงสัยและความใจผิดมากมายที่เกี่ยวข้องกับผ้าอนามัยแบบสอดมาจนถึงปัจจุบันดังต่อไปนี้

  1. การสอดหรือถอดผ้าอนามัยแบบสอด จะทำให้รู้สึกเจ็บหรือไม่?
    การใช้ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ควรจะทำให้รู้สึกเจ็บ ยกเว้นแต่ในกรณีที่ช่องคลอดแห้ง หรือมีประจำเดือนมาน้อยมาก ก็อาจทำให้เกิดอาการไม่สบายตัวเล็กน้อยขณะสอดเข้าไปหรือถอดออกมา วิธีแก้ปัญหาง่ายๆ คือ ใช้สารหล่อลื่นชนิดน้ำปริมาณเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ผ้าอนามัยเข้าไปได้สะดวกยิ่งขึ้น หรือเลือกผ้าอนามัยแบบสอดชนิดที่มีการดูดซับไม่มากเกินไปนัก

    สำหรับการสอดผ้าอนามัยเข้าไปครั้งแรก หากดันเข้าไปข้างในลึกมากพอ จะไม่ทำให้เกิดความรู้สึกใดๆ ทั้งสิ้น เพราะผ้าอนามัยชนิดนี้ถูกออกแบบมารองรับกับส่วนต้นของช่องคลอด ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกที่สุดจากปากช่องคลอด แต่ถ้ารู้สึกเจ็บ หรือรู้สึกขัดๆ ให้ลองดันเข้าไปให้ลึกกว่าเดิม จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น
  2. ผ้าอนามัยแบบสอดสามารถหลุดหายเข้าไปในร่างกายได้หรือไม่?
    ภายในมดลูกจะมีช่องเปิดขนาดเล็กๆ ที่ให้เลือดหรือน้ำเชื้อไหลผ่านได้เท่านั้น สิ่งแปลกปลอมอื่นๆ จึงไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ หากรู้สึกว่าถอดผ้าอนามัยออกมายาก ให้พยายามดันภายในช่องท้องด้วยการเบ่งคล้ายกับการเบ่งอุจจาระ หรือการลุกนั่งพร้อมกับใช้นิ้วเขี่ยรอบๆ ภายในของช่องคลอด เมื่อเจอสายหรือตัวผ้าอนามัยแบบสอดแล้วก็ให้ใช้นิ้วหนีบออกมา
  3. ผ้าอนามัยแบบสอดสามารถหลุดออกมาเองได้หรือไม่?
    ถ้าหากสอดผ้าอนามัยเข้าไปลึกมากพอ ช่องคลอดจะหนีบผ้าอนามัยให้อยู่กับที่ตามธรรมชาติ แม้ว่าคุณกำลังวิ่งหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ผ้าอนามัยก็จะไม่หลุดออกมา แต่หากคุณเบ่งอุจจาระแรงๆ ก็เป็นไปได้ที่จะทำให้ผ้าอนามัยแบบสอดหลุดออกมาเอง หากเป็นเช่นนี้ก็ควรเปลี่ยนไปใช้ผ้าอนามัยแบบสอดอันใหม่แทน
  4. ผ้าอนามัยแบบสอด จะทำให้สูญเสียความบริสุทธิ์หรือไม่?
    ความบริสุทธิ์ ไม่ใช่ภาวะทางการแพทย์หรือทางกายภาพใดๆ เป็นเพียงคำนิยามตามวัฒนธรรมที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเชื่อมโยงกับความเชื่อที่ว่าปากช่องคลอดของผู้หญิงจะถูกปกคลุมด้วยชั้นเนื้อเยื่อ หรือที่เรียกว่าเยื่อพรหมจารี (Hymen) ที่จะขาดออกเมื่อมีเพศสัมพันธ์

    ปกติแล้ว Vaginal Corona จะค่อยๆ เสื่อมสภาพไปเองตามการทำกิจกรรมต่างๆ ของร่างกาย เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน หรือการขี่ม้า ไม่ได้เกิดจากการสอดสิ่งใดเข้าไปทั้งสิ้น
  5. สามารถอาบน้ำพร้อมกับการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดได้หรือไม่?
    ผู้หญิงทุกคนสามารถใช้ผ้าอนามัยแบบสอดขณะอาบน้ำหรือแช่น้ำอยู่ก็ได้ เพราะทั้งผ้าอนามัยแบบสอดและถ้วยอนามัย ต่างก็เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการว่ายน้ำในขณะที่มีประจำเดือน
  6. ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยแบบสอดบ่อยแค่ไหน?
    ผ้าอนามัยแบบสอดสำหรับประจำเดือนมาน้อย สามารถอุ้มของเหลวได้สูงสุด 3 มิลลิลิตร ในขณะที่ผ้าอนามัยแบบสอดสำหรับวันมามากอาจอุ้มได้มากสุดถึง 12 มิลลิลิตร

    วิธีที่ดีที่สุด ในการประเมินว่าควรเปลี่ยนผ้าอนามัยแบบสอดหรือไม่ คือการดึงสายผ้าอนามัยเบาๆ หากตัวผ้าอนามัยเริ่มดึงออกมาง่ายขึ้น แสดงว่าควรทำการเปลี่ยนได้แล้ว แต่ถ้าหากยังดึงยาก ก็หมายความว่าคุณสามารถใช้ผ้าอนามัยชิ้นนั้นได้อีกสักพัก แต่ห้ามทิ้งไว้ในร่างกายนานเกินกว่า 8 ชั่วโมง เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคท็อกซิคช็อคขึ้น
  7. สามารถปัสสาวะขณะที่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดอยู่ได้หรือไม่?
    ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยแบบสอดทุกครั้งที่ปัสสาวะ แต่อาจต้องยัดสายของผ้าอนามัยเข้าไปในช่องคลอดหรือจับเอาไว้ เพื่อไม่ให้สายของผ้าอนามัยไปโดนน้ำปัสสาวะ

    บางคนสามารถถ่ายอุจจาระพร้อมกับมีผ้าอนามัยแบบสอดอยู่ แต่ในกรณีนี้ควรระมัดระวังไม่ให้สายผ้าอนามัยสัมผัสถูกอุจจาระ เพราะแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้สามารถทำให้เกิดภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะได้
  8. สามารถทิ้งผ้าอนามัยแบบสอดลงชักโครกได้หรือไม่?
    ไม่ควรทิ้งผ้าอนามัยแบบสอดลงชักโครก เพราะผ้าอนามัยแบบสอดออกแบบมาเพื่อดูดซับของเหลวและขยายตัวออก จึงอาจทำให้ผ้าอนามัยเข้าไปติดอยู่ในชักโครกหรือท่อน้ำได้ ซึ่งผ้าอนามัยส่วนมากไม่สามารถย่อยสลายได้ แต่ถึงย่อยสลายได้ก็ไม่ควรทิ้งลงชักโครก ตัวเลือกที่ดีที่สุดคือการห่อผ้าอนามัยและตัวช่วยต่างๆ ด้วยกระดาษชำระและนำไปทิ้งลงถังขยะ
  9. หากใช้ห่วงอนามัย สามารถใช้ผ้าอนามัยแบบสอดได้หรือไม่?
    หลังการสอดห่วงอนามัย (IUD) อาจพบอาการเลือดออกได้บ้าง แต่เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว ก็สามารถใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือแบบถ้วยได้แม้ว่าคุณจะมีห่วงอนามัยอยู่ภายใน โดยสายของ IUD จะมีขนาดไม่กี่เซนติเมตรจากปากมดลูก ดังนั้น ตัวของ IUD ควรจึงไม่รบกวนการสอดหรือการถอดผ้าอนามัยแบบสอดแต่อย่างใด
  10. ผ้าอนามัยแบบสอดมีวันหมดอายุหรือไม่?
    ผ้าอนามัยแบบสอดมักจะมีอายุอยู่ที่ประมาณ 5 ปี แต่ถ้าเก็บในที่ชื้น เช่น ในห้องน้ำ ก็อาจทำให้หมดอายุเร็วกว่าเดิม เนื่องจากมีการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราบนผ้าอนามัย เพราะถึงสินค้าชนิดนี้จะเป็นสินค้าอนามัย แต่ก็ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อมา

    ในกรณีที่มีการเก็บผ้าอนามัยแบบสอดติดกระเป๋าไว้เพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉิน ควรตรวจสอบก่อนแกะใช้งานว่ามีความเสียหาย หรือมีสิ่งปนเปื้อนเกิดขึ้นหรือไม่ หากมี ก็ไม่ควรใช้เพราะความสกปรกหรือความชื้น อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ช่องคลอด

ผ้าอนามัยแบบสอด สามารถทำให้เกิดโรคท็อกซิกช็อคได้หรือไม่?

โรคท็อกซิกช็อค (Toxic Shock Syndrome: TSS) เป็นภาวะหายากที่เกิดกับผู้ที่มีประจำเดือนประมาณ 1 ใน 100,000 คน และกรณีที่พบ ก็มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดมากกว่าครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่สวมผ้าอนามัยแบบสอดเกิน 8 ชั่วโมง โดยอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดของภาวะ TSS มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะ TSS จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่ต้องไปโรงพยาบาลทันที เพราะถ้าหากเพิกเฉยหรือปล่อยทิ้งไว้ อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Nivin Todd, MD, Understanding Toxic Shock Syndrome -- the Basics (https://www.webmd.com/women/guide/understanding-toxic-shock-syndrome-basics#1), 2 April 2019
The Facts on Tampons—and How to Use Them Safely, https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/facts-tampons-and-how-use-them-safely), 9 December 2018
Maria Cohut, Menstrual cups vs. pads and tampons: How do they compare?, https://www.medicalnewstoday.com/articles/325790.php), 18 July 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป