ประโยชน์ของการวิ่ง อาการบาดเจ็บที่พบบ่อยจากการวิ่ง วิธีการป้องกัน วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประโยชน์ของการวิ่ง อาการบาดเจ็บที่พบบ่อยจากการวิ่ง วิธีการป้องกัน วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การวิ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีของการออกกำลังกายที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากปฏิบัติได้ง่ายและใช้อุปกรณ์น้อย สร้างความเพลิดเพลินไม่น่าเบื่อ เพราะได้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบกายในแต่ละวัน อีกทั้งยังได้ประโยชน์กับร่างกายและจิตใจ ทำให้บุคลิกภาพดูดี หรืออาจได้เพื่อนใหม่และสังคมใหม่จากการออกไปวิ่งอีกด้วย 

ประโยชน์ของการวิ่ง

  • ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นจากการสร้างภูมิคุ้มกันโรค กล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยเพิ่มไขมันชนิดดีแล้วลดไขมันชนิดเลว ลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิง โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน โรคภูมิแพ้ ช่วยให้หลอดเลือดแดงมีความยืดหยุ่น ทำให้หัวใจแข็งแรง ลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือภาวะหัวใจวาย
  • ช่วยลดหรือควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากเป็นการเผาผลาญพลังงานได้มากอีกวิธีหนึ่ง แต่ต้องกระทำด้วยวิธีการวิ่งที่ถูกต้อง โดยเริ่มจากการวิ่งช้าๆ และใช้เวลาให้นานพอ ร่างกายจะได้ดึงเอาไขมันมาออกมาใช้เป็นพลังงาน
  • ผ่อนคลายความเครียดและช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ด้วยการหลั่งสารเอนดอร์ฟินหรือสารแห่งความสุข ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ทำให้รู้สึกสดชื่นและสงบมากขึ้น รักษาอาการซึมเศร้าได้ดี พร้อมกับปรับบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้น

อาการบาดเจ็บที่พบบ่อยจากการวิ่งและวิธีป้องกัน

  • เจ็บต้นขาด้านหลัง จะมีอาการเจ็บแบบกะทันหัน เพราะมีการตึงที่กล้ามเนื้อบริเวณนี้จนเกินไป เนื่องจากขาดการยืดเหยียดก่อนการวิ่ง ซึ่งควรจะต้องอบอุ่นร่างกายและมีการยืดกล้ามเนื้อต้นขาหลังให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวก่อนวิ่งทุกครั้ง
  • เจ็บเข่าด้านนอก การบาดเจ็บในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นทั้งนักวิ่งเก่าและใหม่ได้เสมอ เป็นเพราะกล้ามเนื้อสะโพกและต้นขายังไม่มีความแข็งแรงมากพอ หรือเกิดจากการเร่งความเร็วมากเกินไปและการวิ่งอย่างหักโหม จึงควรป้องกันด้วยการออกกำลังกายสลับชนิดอื่น เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อในส่วนนี้บ้าง
  • เจ็บเข่าด้านหน้า การเจ็บบริเวณนี้จะยิ่งเกิดมากขึ้น หากต้องใช้เข่ามากๆ เป็นเพราะการวิ่งไม่ถูกวิธี เช่น วิ่งลงส้นเท้าหรือก้าวเท้ายาวเกินไป ทำให้น้ำหนักมากระแทกที่เข่า การวิ่งขึ้น – ลง หรืองอเข่ามากไป การหักโหมเพิ่มระยะวิ่งมากเกินไป ซึ่งเราป้องกันได้โดยในระยะแรกไม่ควรเพิ่มระยะทางการวิ่งที่ยาว จากนั้นก้าวเท้าให้พอดี ส่วนพื้นที่วิ่งควรมีความราบเรียบไม่คดเคี้ยวไปมา สูงชัน หรือหักศอก
  • เจ็บหน้าแข้งหรือหน้าแข้งอักเสบ โดยเฉพาะบริเวณหน้าแข้งด้านในที่จะมีอาการปวดรุนแรงมากขึ้น สำหรับวิธีป้องกันคือไม่เพิ่มระยะทางและความเร็วมากเกินไป หรือไม่ก้าวเท้ายาวจนเกินตำแหน่งเข่าของตนเอง อีกทั้งก่อนวิ่งจะต้องยืดเหยียดกล้ามเนื้อ พร้อมกับอบอุ่นร่างกายให้เพียงพอ
  • เอ็นร้อยหวายหรือบริเวณข้อเท้าอักเสบ เป็นเพราะการวิ่งที่กระแทกอย่างรุนแรง ใช้แรงผลักขณะวิ่ง ทำให้น้ำหนักตัวลงที่ส้นเท้ามากเกินไป ดังนั้นควรใช้ระยะทางที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่วิ่งในที่สูงชัน
  • เจ็บบริเวณฝ่าเท้า เป็นอาการปวดหรือเจ็บใต้ฝ่าเท้าขณะลงน้ำหนักที่เท้าตอนเดินหรือวิ่ง ทำให้เท้าโดนแรงกระแทกจนอักเสบ ผู้ที่มีน้ำหนักมากต้องระมัดระวังให้มากขึ้น โดยไม่ฝึกวิ่งอย่างหักโหมหรือเร็วจนเกินไป ก่อนวิ่งควรยืดกล้ามเนื้อน่อง ข้อเท้า หรือเอ็นร้อยหวาย และยืดใต้ฝ่าเท้า พร้อมกับก้าวเท้าขณะวิ่งให้พอเหมาะ 

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • ผู้ที่เกิดอาการบาดเจ็บจะต้องหยุดวิ่งเพื่อพักทันที เพราะจะทำให้อาการบาดเจ็บนั้นรุนแรงขึ้นได้
  • ทำการประคบเย็นโดยใช้ผ้าขนหนูห่อน้ำแข็ง หลังเกิดการบาดเจ็บประมาณ 15 นาที พักหยุด 10 นาที ภายใน 1 ชั่วโมงแรก
  • รัดด้วยผ้ายืดอย่าให้แน่นจนเกินไป เพื่อป้องกันอาการชาและไม่ให้บวมมากขึ้น
  • ถ้ามีอาการบาดเจ็บรุนแรงแล้วหลังปฐมพยาบาลยังไม่ดีขึ้น จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที 

การบาดเจ็บจากการวิ่งสามารถป้องกันให้เกิดขึ้นน้อยลงได้ ด้วยวิธีตรวจสภาพร่างกายและความพร้อมก่อนการวิ่งในครั้งแรก เพื่อดูสภาพความพร้อมของสรีระร่างกาย รองเท้าที่ใช้ต้องเหมาะกับรูปเท้า หลังการวิ่งควรดื่มน้ำและรับประทานอาหารให้เพียงพอตามหลักโภชนาการ พักผ่อนอย่างเต็มที่สำหรับให้ร่างกายได้ซ่อมแซมและฟื้นฟูพร้อมการวิ่งในครั้งต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป