อาการท็อกซิกช็อก

เผยแพร่ครั้งแรก 6 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการท็อกซิกช็อก

แม้อาการท็อกซิกช็อก (toxic shock syndrome - TSS) เป็นอาการที่ส่งผลร้ายแรง แต่ทว่าเป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อยนัก 

อาการท็อกซิกช็อกหรือ TSS สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหญิง ชาย หรือเด็ก แม้จะเป็นอาการที่ส่งผลร้ายแรง แต่เป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อยนัก หากคุณกำลังกังวลเกี่ยวกับอาการ TSS สิ่งที่ควรทำคือศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะอาการเพื่อเพิ่มความระมัดระวัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการท็อกซิกช็อกคืออะไร?

สาวๆ ที่มีประจำเดือนอาจเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการเกิดอาการท็อกซิกช็อก (TSS) มาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นอาการช็อกรุนแรงอันเกิดจากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ย้อนกลับไปช่วงปลายทศวรรษที่ 70 ที่เริ่มเกิดกรณีเจ็บป่วยจากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดที่สามารถซึบซับประจำเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพทย์จึงต้องย้ำเกี่ยวกับสุขลักษณะและพฤติกรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้งาน กล่าวคือต้องมีการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ โดยจำนวนของผู้มีอาการ TSS ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ป่วยประมาณ 50% เท่านั้นที่มีอาการ TSS จากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด

อย่างไรก็ตาม อาการ TSS ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเสมอไป ทว่าการใช้ฟองน้ำคุมกำเนิดหรือห่วงคุมกำเนิดก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ TSS ได้ หรืออาการ TSS อาจเกิดได้จากการที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนังที่เป็นแผล การผ่าตัด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือจากการใช้วัสดุห้ามเลือดกำเดาไหลเกินเวลาที่แพทย์กำหนดให้ใช้ เป็นต้น ซึ่งอาการ TSS ที่เกิดจากกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

อาการ TSS เป็นอาการที่ส่งผลต่อระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกายทั้งหมด  ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ แบคทีเรีย Staph และแบคทีเรีย Strep โดยแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดนี้จะผลิตสารพิษ และเมื่อร่างกายไม่สามารถต่อต้านสารพิษได้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองทันที โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้จะส่งผลทำให้เกิดอาการ TSS ได้

สัญญาณบ่งบอกอาการท็อกซิกช็อก (TSS)

อาการ TSS จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นอาการที่เกิดจากสารพิษส่งผลต่อระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย โดยสัญญาณบ่งบอกและอาการของ TSS ดังนี้

  • มีไข้สูงเฉียบพลัน (มีไข้สูงกว่า 38.8 องศา)
  • ความดันโลหิตลดลงเฉียบพลัน จนทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะและเป็นลมหมดสติได้
  • มีแผลคล้ายแผลไหม้จากแสงแดดซึ่งจะเกิดขึ้นบริเวณใดของร่างกายก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณฝ่ามือหรือฝ่าเท้า
  • อาเจียนและท้องร่วง
  • ปวดกล้ามเนื้อรุนแรงและมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มีอาการตาแดง ปาก ภายในลำคอ และช่องคลอดบวมแดง
  • ปวดศีรษะ เกิดอาการสับสน งุนงง และชัก
  • เกิดภาวะไตวายหรืออวัยวะอื่นๆ ภายในร่างกายเสียหายฉับพลัน

ระยะเวลาเฉลี่ยก่อนที่อาการ TSS จะเกิดขึ้นอยู่ที่ 2-3 วันหลังจากได้รับเชื้อแบคทีเรีย อย่างไรก็ตามระยะเวลาแสดงอาการของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของการติดเชื้อ

วิธีการป้องกัน

โอกาสที่จะเกิดอาการ TSS นั้นมีไม่มาก แต่จะสามารถลดความเสี่ยงลงไปได้อีกหากใช้วิธีการเหล่านี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เมื่อเป็นแผล ทำความสะอาดและปิดแผลเพื่อป้องกันเชื้อโรค
  • เมื่อปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ ต้องเปลี่ยนผ้าก๊อซอยู่เสมอไม่ใช้ซ้ำเช่นนั้นนานๆ หรือเป็นเวลาหลายวัน
  • สังเกตแผลที่เป็นว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ เช่น มีอาการบวม แดง ปวด หรือมีไข้ หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบพบแพทย์
  • หากเด็กสาวเริ่มมีประจำเดือน แนะนำให้ใช้ผ้าอนามัยธรรมดาแทนการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
  • สำหรับสาวๆ ที่ชอบใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ควรเลือกผ้าอนามัยแบบซึมซับปริมาณน้อยเพราะจะทำให้ระบบการไหลของประจำเดือนเป็นไปอย่างสะดวกและเพื่อเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยขึ้น หากมีประจำเดือนมาก สาวๆ อาจใช้ผ้าอนามัยแบบสอดร่วมกับการใช้ผ้าอนามัยธรรมดาด้วย หรือหากมีประจำเดือนไม่มาก แนะนำให้ใช้ผ้าอนามัยธรรมดาจะดีกว่า นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเก็บรักษาผ้าอนามัยแบบสอดไว้ในที่ที่ร้อนชื้น ซึ่งจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี และเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียอาจติดอยู่ตามนิ้วมือหรือฝ่ามือ สาวๆ จึงต้องล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังใช้ทุกครั้ง
  • หากคุณเคยมีอาการ TSS หรือเคยติดเชื้อ Staph หรือ Strep มาก่อนแล้ว ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรืออุปกรณ์คุมกำเนิดใดๆ ที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เช่น ห่วงคุมกำเนิดหรือฟองน้ำคุมกำเนิด เป็นต้น

วิธีการรักษา

อาการ TSS ถือเป็นอาการรุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากคุณหรือคนรอบตัวกำลังมีอาการ TSS จะต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันทีเพื่อประเมินการรักษา

หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นอาการ TSS แพทย์จะเติมน้ำเกลือและยาปฏิชีวนะเข้าทางเลือดทันที และนำเนื้อเยื่อบริเวณผิว จมูก หรือช่องคลอด ไปตรวจหาเชื้อ หรืออาจใช้วิธีการตรวจเลือด เนื่องจากการตรวจเลือด

สามารถตรวจหาความผิดปกติของการทำงานของไตและสามารถตรวจหาโรคแทรกซ้อนอื่นๆ อันเป็นสาเหตุของอาการ TSS ได้ด้วย

นอกจากนี้ แพทย์หรือพยาบาลจะนำผ้าอนามัย อุปกรณ์คุมกำเนิด หรือผ้าก๊อซปิดแผล ออกจากบริเวณที่เป็นสาเหตุของอาการและทำความสะอาด หากพบว่ามีฝีหนอง แพทย์จะทำการเจาะฝีบริเวณนั้นด้วย

ผู้ที่มีอาการ TSS จำเป็นต้องพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลประมารณ 3 – 4 วัน เพื่อรอดูอาการและสังเกตระดับความดันโลหิต การหายใจ และเฝ้าระวังอาการที่อาจเกิดขึ้นแทรกซ้อนได้ เช่น ความเสียหายของอวัยวะภายใน เป็นต้น

อาการ TSS เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แม้อาการอาจมีความรุนแรงและเสี่ยงถึงแก่ชีวิต แต่การสังเกตตัวเองและการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้คุณปลอดภัยจากอาการ TSS ได้


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Toxic shock syndrome: MedlinePlus Medical Encyclopedia (https://medlineplus.gov/ency/article/000653.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
Q&A เกี่ยวกับผ้าอนามัยแบบสอด (Tampons)
Q&A เกี่ยวกับผ้าอนามัยแบบสอด (Tampons)

คลายทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับผ้าอนามัยแบบสอด และความเชื่อแบบผิดๆ ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน เช่น เรื่องของความบริสุทธิ์ หรือความเจ็บปวดเมื่อใช้ผ้าอนามัยชนิดนี้

อ่านเพิ่ม