กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

อมทอนซิลจะถูกตัดออกถ้ามีการติดเชื้อซ้ำๆหรือโตจนส่งผลต่อการหายใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

ต่อมทอนซิลเป็นก้อนเนื้อเยื่อ 2 ก้อนที่อยู่ด้านหลังของช่องปากมีหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อ บางครั้งการรักษาอาการบางอย่างจำเป็นต้องใช้วิธีที่เรียกว่า ทอนซิลเลคโตมี (Tonsillectomy) คือการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออก

การผ่าตัดต่อมทอนซิลจะทำเมื่อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ทอนซิลอักเสบไม่หายหรือเป็นซ้ำบ่อยๆ
  • มีการติดเชื้อเสตรปที่คอซ้ำๆ
  • ต่อมทอนซิลโตจนส่งผลต่อการหายใจหรือการนอนหลับ
  • ต่อมทอนซิลโตหรือมีหนอง
  • ภาวะอื่นๆของต่อมทอนซิล

เด็กมีแนวโน้มจะต้องผ่าตัดต่อมทอนซิลมากกว่าผู้ใหญ่แต่ผู้ใหญ่ก็อาจจำเป็นต้องตัดทอนซิลเช่นกัน ที่เด็กมักจะมีปัญหากับทอนซิลเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทอนซิลจะทำงานมากที่สุดในช่วงก่อนเข้าวัยวัยเจริญพันธุ์ การผ่าตัดต่อมทอนซิลมักทำไปพร้อมกับการตัดต่อมอะดีนอยด์แต่ก็ไม่เสมอไป

วิธีผ่าตัดทอนซิล

การตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy) มักจะทำโดยศัลยแพทย์หู คอ จมูกภายใต้การดมยาสลบ ศัลยแพทย์จะใช้เครื่องมือเล็กๆใส่ในปากเพื่ออ้าปากออกและจะตัด จี้ไฟฟ้า หรือคว้านเอาต่อมทอนซิลออก ซึ่งจะทำผ่านทางช่องปากทำให้ไม่ต้องลงแผลที่ใบหน้าหรือศีรษะ และการผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 30 นาที

ปัจจุบันมีวิธีผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออกแบบใหม่ที่เรียกกันว่า “สแนร์” หรือ Tyding Tonsil Snare เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะปลายเป็นวงลวดที่สามารถรูดได้ โดยวงลวดนี้จะไปคล้องต่อมทอนซิล จากนั้นรูดออกจากช่องคอ ซึ่งไม่ทำให้เกิดแผลใดๆ ที่ด้านนอก

ก่อนการผ่าตัดทอนซิล

ก่อนการผ่าตัดทอนซิล คุณอาจต้องตรวจเลือดหรือตรวจร่างกายก่อน ต้องแจ้งกับแพทย์เกี่ยวกับยาที่กินอยู่ประจำ และอาจต้องหยุดยาแอสไพริน (Aspirin) ยานาพร็อกเซน (Naproxen) ชื่อการค้าคือเอลีฟ (Aleve) ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ชื่อการค้าคือแอดวิล (Advil) ยาวาฟาริน (Warfarin) ชื่อการค้าคือคูมาดิน (Coumadin) หรือรวมถึงยาอื่นๆ เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ก่อนเริ่มผ่าตัดแพทย์จะทำการตรวจดูจำนวนเม็ดเลือดขาวและการตรวจเลือดอื่นๆ เพื่อเช็คความผิดปกติจากการหยุดไหลของเลือด รวมถึงการตรวจปัสสาวะเพื่อเช็คความผิดปกติของไต จากนั้นทำการเอ็กซเรย์ปอด โดยผู้ป่วยจะต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนเข้าห้องผ่าตัด เพราะจะช่วยป้องกันอาการสำลักน้ำและอาหารเข้าไปในปอดในระหว่างที่ทำการผ่าตัด

หลังการผ่าตัดทอนซิล

หลังการผ่าตัดคุณจะต้องอยู่ที่ห้องพักฟื้นหลังผ่าตัดจนกว่าจะสามารถหายใจได้สะดวก กลืน และไอได้ และสามารถกลับบ้านได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังผ่าตัด เว้นแต่เป็นรายที่ยากซับซ้อนอาจจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลหนึ่งคืน  โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณหนึ่งถึงสองสัปดาห์ในการฟื้นตัวซึ่งผู้ใหญ่จะใช้เวลามากกว่าเด็ก แพทย์พยาบาลจะบอกว่าต้องใช้ยาลดปวดตัวใดและใช้บ่อยขนาดไหน และคุณอาจถูกสั่งให้ดื่มน้ำปริมาณมากหลังจากผ่าตัดทอนซิล ทั่วไปแล้วไม่มีอาหารแสลงหรืออาหารที่ห้ามกินหลังการผ่าตัดทอนซิล แต่แพทย์มักจะแนะนำให้กินอาหารอ่อนๆเป็นเวลาสองถึงสามวัน อาหารจำพวกแอปเปิลซอส (Applesauce) และซุปข้น (Broth) จะกลืนได้ง่ายที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงพบปะกับคนป่วยขณะที่กำลังพักฟื้น จะมีรอยสีขาวๆหนาๆบริเวณต่อมทอนซิลที่ถูกตัดออกไปซึ่งทำให้กลิ่นลมหายใจแย่ลง แต่เป็นภาวะปกติซึ่งรอยนี้จะหายไปใน 5-10 วันหลังการผ่าตัด และควรไปพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้หลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เลือดออกจากจุดที่ผ่าตัด(เลือดสีแดงสด)
  • ไข้(สูงกว่า 102 องศาฟาเรนไฮซ์)
  • มีปัญหาการกายใจ
  • มีภาวะขาดน้ำ

ความเสี่ยงของการผ่าตัดต่อมทอนซิล

ความเสี่ยงที่สำคัญของการผ่าตัดนี้คือ

  • ติดเชื้อ เลือดออก หรือมีก้อนลิ่มเลือด
  • ปัญหาการหายใจ
  • เกิดการบาดเจ็บต่อลิ้นไก้หรือเพดานอ่อน
  • แพ้ยา
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ

การผ่าตัดต่อมทอนซิล การนอนหลับ และโรคสมาธิสั้น (ADHD)

มีงานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการผ่าตัดต่อมทอนซิลอาจช่วยลดอาการของโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD)ในเด็กได้ มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารกุมารเวชศาสตร์ระบุว่าเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นก่อนการผ่าตัดต่อมทอนซิลจะหายจากโรคในหนึ่งปีหลังการผ่าตัดโดยเด็กเกือบทั้งหมดในการศึกษานี้เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ(sleep apnea) ขณะที่นักวิจัยบางกลุ่มเชื่อว่าความผิดปกติของการนอนหลับ การหายใจ และปัญหาด้านพฤติกรรมนั้นเกี่ยวข้องกัน แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาอีกมากเพื่อยื่นยันความเกี่ยวข้องกันดังกล่าวและบอกได้ว่าการผ่าตัดต่อมทอนซิลเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ได้ผล

ผ่าต่อมทอนซิลหรือไม่ผ่าดี?

ต่อมทอนซิลเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ภายในช่องปาก ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 2 ต่อมด้วยกัน โดยทำหน้าที่ในการดักจับและทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าสู่ร่างกายจากระบบทางเดินอาหาร แต่ในบางครั้งก็กลายเป็นที่เก็บกักเชื้อโรค ทำให้เรามีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยเฉพาะอาการเจ็บคอหรือต่อมทอนซิลโตมาก ซึ่งในกรณีนี้แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออก

เกณฑ์พิจารณาในการผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออก

  1. เจ็บคอเรื้อรัง มีอาการเจ็บคอ 5 ครั้งใน 2 ปี หรือ 7 ครั้งใน 1 ปี และมีอาการไข้สูงจนรู้สึกหนาวสั่นร่วมด้วย ไอบ่อย มีกลิ่นปากรุนแรง และมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างลำคอโต ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
  2. เนื้อเยื่อมีหนอง เนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ ต่อมทอนซิลมีหนองจำนวนมาก อันเนื่องมาจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล
  3. เป็นแหล่งเชื้อโรค หากมีอาการชักหลังจากอาการเจ็บคอและเป็นไข้สูง หรือมีการพิสูจน์ได้ว่าเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อโรคอย่างเช่น “เบต้า ฮีโมไลติก สเตรปโตคอคไค กรุ๊ปเอ” หรือเชื้อโรคคอตีบ ก็จำเป็นต้องตัดออก
  4. ต่อมทอนซิลโตมาก ทำให้ไปอุดกั้นทางเดินหายใจจนกระทั่งมีอาการนอนกรน หรือหยุดหายใจขณะนอนหลับเป็นพักๆ หากมีอาการโตมากๆ จะทำให้กลืนอาหารลำบาก
  5. ต่อมทอนซิลโตข้างเดียว มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมทอนซิล จึงมีความจำเป็นต้องตัดออกแล้วนำมาตรวจทางพยาธิวิทยาว่าอาจจะมีเซลล์มะเร็งหรือไม่

ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบและเป็นหนองบ่อยๆ จนทำให้ร่างกายทรุดโทรม ส่งผลกระทบต่อการเรียนและหน้าที่การงานที่ต้องหยุดบ่อยๆ แต่เมื่อได้รับการผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออกแล้ว จะช่วยทำให้ไม่ติดเชื้อบ่อย หรือไม่เป็นแหล่งกักเก็บเชื้อโรค สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็กหรือผู้ที่เคยมีอาการต่อมทอนซิลโต ก็จะทำให้หายใจโล่งและกลืนอาหารสะดวกยิ่งขึ้น

ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยมักจะมีความกังวลเกี่ยวกับอาการหลังการผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออก ซึ่งเราจะมาไขข้อข้องใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างดังต่อไปนี้

  1. อาการเจ็บคอ หลังผ่าตัดชั่วโมงแรกๆ จะมีอาการเจ็บคอมาก แต่อาการปวดแผลจะค่อยๆ ลดน้อยลงหายเองภายใน 10 วัน ส่วนแผลผ่าตัดจะหายเป็นปกติประมาณ 30 วัน
  2. น้ำหนักเพิ่มขึ้น หลังจากผ่าตัดประมาณ 1- 2 เดือน ผู้ป่วยจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากต่อมทอนซิลที่เคยโตได้นำออกไปแล้ว ทำให้ไม่มีอุปสรรคภายในลำคอ ทำให้ไม่เจ็บป่วยง่าย รับประทานอาหารได้อร่อย โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 3 7 ปี จะสามารถรับประทานได้มากขึ้น
  3. เสียงพูดเปลี่ยนไป ผลังจากผ่าตัดในสัปดาห์แรก ผนังช่องคอหรือบริเวณเพดานอ่อนจะมีอาการบวมขึ้นมาก ทำให้หายใจไม่ค่อยสะดวก แต่พอแผลหายบวมแล้วก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ยกเว้นกรณีผู้ป่วยบางรายมีอาการ VPI หรือภาวะเสียงขึ้นจมูก ซึ่งอาจเกิดจากมีความผิดปกติของเพดานปาก หรือมีความผิดปกติของเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อบนใบหน้า
  4. เกิดฝ้าขาวที่บริเวณแผลผ่าตัด เมื่อผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแล้วจะมีแผลในผนังช่องคอทั้งสองข้างที่ตำแหน่งเดิมของต่อมทอนซิล ซึ่งจะมองเห็นเป็นฝ้าสีขาวคล้ายๆ กับอาการหนองอักเสบ แต่นี่คืออาการหายของแผลที่ไม่ใช่การติดเชื้อ โดยจะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์

ผู้ป่วยควรรับประทานเฉพาะอาหารเหลวเท่านั้นอย่างน้อย 7 วัน เพื่อป้องกันอาการเจ็บคอและไม่ให้มีอาการเลือดออก ไม่ขากเสมหะหรือไอแรงๆ หลังจากนั้นให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ไม่ร้อน พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เมื่อผ่าน 14 วันไปแล้วให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ รับประทานอาหารได้ตามปกติ งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ แต่ไม่แข็งจนเกินไปจนกว่าจะครบ 1 เดือน จึงจะรับประทานอาหารได้ทุกอย่าง

นอกจากนี้ภายใน 1 เดือนแรก หลังได้รับการผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออก จะต้องงดออกกำลังกายทุกชนิด เพื่อเป็นการป้องกันเลือดออกจากแผล พร้อมกับหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้อีกทางหนึ่ง จนกว่าร่างกายจะกลับมาแข็งแรงมีสุขภาพดี

อาการข้างเคียงจากการผ่าตัดต่อมทอนซิลที่อาจเกิดขึ้นได้คือ มีเลือดออกจากแผลผ่าตัดมาก โดยพบได้ประมาณ 2 – 4% สำหรับอัตราการเสียชีวิตที่เกิดจากการผ่าตัดต่อมทอนซิลมีเพียง 1 ใน 25,000 ราย ซึ่งมีสาเหตุมาจากเลือดออกจากแผลไม่หยุด แผลติดเชื้อ หรือภาวะหายใจล้มเหลว และยังมีอีกประมาณ 1 ใน 40,000 รายที่เสียชีวิตจากผลข้างเคียงของการดมยาสลบ

ดังนั้นผู้ป่วยที่ต้องการรักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง และมีสุขภาพแข็งแรงพอสมควรนั้น การผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออกก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย เพื่อช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องเจ็บป่วยง่ายจนทำให้ต้องหยุดเรียนหรือทำงานบ่อยๆ ได้ค่ะ


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
reference.medscape.com, Tonsillectomy (https://reference.medscape.com/article/872119-overview), Oct 05, 2017
medicalnewstoday.com, Tonsillectomy (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323709.php), November 15, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มะเร็งต่อมทอนซิล – อาการการวินิจฉัยและการรักษา
มะเร็งต่อมทอนซิล – อาการการวินิจฉัยและการรักษา

สาเหตุของมะเร็งต่อมทอนซิลและอาการผิดปกติที่คุณควรสังเกตเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์

อ่านเพิ่ม
ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)
ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)

โรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี อีกทั้งเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

อ่านเพิ่ม