มะเร็งต่อมทอนซิล – อาการการวินิจฉัยและการรักษา

สาเหตุของมะเร็งต่อมทอนซิลและอาการผิดปกติที่คุณควรสังเกตเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์
เผยแพร่ครั้งแรก 26 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มะเร็งต่อมทอนซิล – อาการการวินิจฉัยและการรักษา

ต่อมทอนซิลมี 3 ประเภทคือ ต่อมทอนซิลที่อยู่ในคอหอยหรือที่เรียกว่า Adenoid ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังจมูก, ต่อมทอนซิล Palatine ตั้งอยู่ที่ด้านหลังของคอและเป็นต่อมที่คนทั่วไปรู้จักมากที่สุดเมื่อพูดถึงต่อมทอนซิล และต่อมทอนซิล Lingual ซึ่งอยู่ที่บริเวณโคนลิ้น ซึ่งในต่อมทอนซิลทั้ง 3 ชนิดนี้นั้น พบว่าต่อมทอนซิลชนิด palatine มีโอกาสเป็นมะเร็งมากที่สุด

อาการของมะเร็งต่อมทอนซิล

คุณจะพบว่าอาการแสดงบางอย่างของมะเร็งต่อมทอนซิลนั้นเหมือนกับอาการของการติดเชื้อคออักเสบ แต่การติดเชื้อของคออักเสบนั้นมักพบได้ในผู้ที่อายุ 5-15 ปี ในขณะที่มะเร็งต่อมทอนซิลนั้นมักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เจ็บบริเวณด้านหลังคอตลอดเวลา
  • ต่อมทอนซิลบวมโตและมีขนาดไม่เท่ากัน 2 ด้าน
  • เจ็บปากตลอดเวลา ไม่หาย
  • ปวดหู
  • กลืนลำบากหรือกลืนเจ็บ
  • มีก้อนที่คอ
  • เจ็บคอตลอดเวลา
  • มีเลือดปนในน้ำลาย
  • หายใจลำบาก

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมทอนซิล

มีคนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมทอนซิลมากกว่าจากวิธีชีวิตหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งต่อมทอนซิลหากดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ มีการติดเชื้อไวรัส HPV หรือ HIV หรือมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป (ถึงแม้ว่ามะเร็งต่อมทอนซิลสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุก็ตาม) และอาจมีความเสี่ยยงเพิ่มขึ้นหากเป็นผู้ชายหรือเคยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะมาก่อน

การวินิจฉัย

แพทย์ต้องใช้เครื่องมือหลายชนิดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งต่อมทอนซิล

ขั้นแรก จะเป็นการซักประวัติจากผู้ป่วย หลังจากนั้นจะทำการตรวจร่างกายแลละอาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้หากจำเป็น

  • Fine needle aspiration เป็นการเจาะนำเนื้อเยื่อขนาดเล็กมาตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์
  • การตรวจเลือด
  • การเอกซเรย์
  • การทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การทำ PET scan

การแบ่งระยะของโรค

การแบ่งโรคมะเร็งออกเป็น 4 ระยะทำให้ทีมแพทย์สามารถระบุระยะของการดำเนินโรคที่แม่นยำและชัดเจนได้ อย่างไรก็ตามข้อมูลส่วนนี้เป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับแพทย์และอาจทำให้คุณงุนงงได้ การแบ่งระยะต่าง ๆ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ระยะที่ 1 มะเร็งมีขนาดเล็ก (น้อยกว่า 2 เซนติเมตร) จำกัดอยู่ในบริเวณเดียวและยังไม่แพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
  • ระยะที่ 2 มะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-4 เซนติเมตรแต่ยังไม่แพร่กระจาย
  • ระยะที่ 3 มะเร็งมีขนาดมากกว่า 4 เซนติเมตรและมีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอด้านเดียวกัน ต่อมน้ำเหลืองมีขนาดน้อยกว่า 3 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ซับซ้อนมากที่สุดและมีการพยากรณ์โรคแย่ที่สุด โดยมะเร็งต่อมทอนซิลระยะนี้จะมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
  • มะเร็งแพร่กระจายไปที่บริเวณรอบคอหอยหรือปาก หรือต่อมน้ำเหลืองมากกว่า 1 ต่อม
  • มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง 1 ต่อมที่มีขนาดใหญ่กว่า 6 เซนติเมตร
  • มีการแพร่กระตายไปที่ต่อมน้ำเหลือง 1 ต่อมที่อีกฝั่งหนึ่งของคอ
  • มะเร็งแพร่กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การรักษามะเร็งต่อมทอนซิล

การรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง ชนิดของมะเร็งและความต้องการของคุณและแพทย์ในการรักษา โดยทั่วไปแล้วจะมีการรักษาทั้งหมด 3 ชนิด คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. การผ่าตัด – ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องการการผ่าตัดนำก้อนมะเร็งออก ในผู้ที่มะเร็งอยู่ในระยะที่ 1 หรือ 2 อาจไม่ต้องรับการรักษาด้วยวิธีอื่นต่อหลังจากการผ่าตัด แต่อาจจะมีการแนะนำให้ฉายแสงต่อเนื่องจากว่าเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่เพียงเซลล์เดียวก็สามารถทำให้เกิดก้อนมะเร็งขึ้นมาใหม่ได้

2. การฉายรังสี – ภายหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนมากจะเข้ารับการฉายรังสีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังเหลืออยู่ การฉายรังสีมีหลายแบบและการตัดสินใจเลือกชนิดของการฉายรังสีนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์

3. การรับยาเคมีบำบัด – หากคุณเป็นมะเร็งระยะที่ 3 หรือ 4 คุณมักจะต้องได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด ปัจจุบันมีการรักษาวิธีใหม่ชื่อว่า induction chemotherapy ซึ่งจะทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงได้

แพทย์ส่วนใหญ่มักแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด ต่อด้วยการฉายรังสีเฉพาะที่ แพทย์บางคนอาจใช้การรักษาในอุณหภูมิสูง (ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง) 

นอกเหนือจากนี้ยังมีการรักษาที่ยังอยู่ในการวิจัยอีกหลายชนิดแต่บริษัทประกันมักจะไม่ออกค่าใช้จ่ายให้ เนื่องจากการใช้การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้มีราคาแพงมาก ยกเว้นว่าจะเข้าร่วมโครงการวิจัย

นอกจากนั้น ยังมีการรักษาแบบองค์รวมอีกหลายอย่างที่อาจไม่มีการรับรองทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ซึ่งการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ต้องออกค่าใช้จ่ายเองและอาจมีราคาแพงได้ และไม่รับรองผลการรักษา 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มะเร็งต่อมทอนซิลเป็นมะเร็งที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้มากกว่ามะเร็งชนิดอื่นในช่องปาก แต่หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกอาจสามารถรักษาได้

ความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HPV

ปัจจุบันพบว่ามีมะเร็งที่เกิดขึ้นในศีรษะและคอที่มีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HPV มากขึ้น ซึ่งเชื้อนี้เป็นชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดมะเร็งที่ช่องคลอด ในอดีตโรคมะเร็งที่ศีรษะและคอถือเป็นมะเร็งที่พบได้น้อยและมักเกิดจากการใช้ยาสูบ การสูบบุหรี่ปริมาณมาก และการดื่มแอลกอฮอล์ 

แต่ระหว่างช่วงปี 1984 – 2004 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งศีรษะและคอที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ในปี 2004 มีผู้ป่วย 7 ใน 10 รายที่พบว่าเป็นมะเร็งต่อมศีรษะและคอ โดยเชื่อว่าเชื้อนี้ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางปากโดยไม่ได้ป้องกัน

ข้อดีอย่างหนึ่งของการเป็นมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV ก็คือมะเร็งชนิดนี้มักตอบสนองต่อการรักษาได้ดีกว่ามะเร็งศีรษะและคอชนิดอื่นๆ และในขณะที่จำนวนผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งจากการติดเชื้อเพิ่มขึ้น มะเร็งศีรษะและคอชนิดอื่นๆ กลับลดลง 

ปัจจุบันมี vaccine ป้องกันการติดเชื้อ HPV และสามารถป้องกันการติดเชื้อโดยการใช้ถุงยาง


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tonsil Cancer: Symptoms, Causes, and Treatments. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/all-about-cancer-of-the-tonsils-1191979)
Tonsil Cancer: Symptoms, Treatment, and Prognosis. Healthline. (https://www.healthline.com/health/tonsil-cancer)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)
ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)

โรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี อีกทั้งเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

อ่านเพิ่ม
การผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)
การผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

อมทอนซิลจะถูกตัดออกถ้ามีการติดเชื้อซ้ำๆหรือโตจนส่งผลต่อการหายใจ

อ่านเพิ่ม