แค่เอ่ยถึงการตรวจภายในขึ้นมา ไม่ว่าผู้หญิงโสด หรือแต่งงานแล้ว ส่วนมากจะรู้สึกหวาดกลัวและอายที่แพทย์ หรือพยาบาลจะได้เห็นอวัยวะสำคัญที่สงวนไว้ ผู้หญิงหลายคนจึงพยายามบ่ายเบี่ยงไม่ตรวจภายใน
ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว การตรวจภายในเป็นสิ่งจำเป็น หรือเป็นข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้หญิงทุกคนตามวัยที่กำหนด หรือหากมีความเสี่ยง ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ก็สมควรเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้ารับการตรวจภายใน
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การตรวจภายในคืออะไร?
การตรวจภายใน คือ การที่แพทย์ หรือพยาบาลตรวจเช็กอวัยวะระบบสืบพันธุ์ทั้งอวัยวะภายในและอวัยวะภายนอก จุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่ารังไข่ ช่องคลอด และอวัยวะเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์เป็นปกติดี
โดยปกติแล้วเด็กผู้หญิงไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจภายใน ทว่าบางรายอาจต้องได้รับการตรวจ หากแพทย์พบว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น เมื่อประจำเดือนมามากผิดปกติ รอบเดือนขาด หรือมีตกขาวผิดปกติ
ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุเพื่อทำการรักษาต่อไป โดยปกติแล้วแพทย์จะไม่แนะนำให้เด็กวัยรุ่นตรวจภายใน หรือตรวจแปปสเมียร์ (PAP smear) จนกว่าจะอายุ 21 ปี
ขั้นตอนการตรวจภายในเป็นอย่างไร?
ขั้นตอนการตรวจภายใน มีดังนี้
- ผู้ช่วยแพทย์ หรือพยาบาลจะให้คุณสวมเสื้อคลุมและมีผ้าปิดคลุมตัวคุณไว้ โดยคุณจะเปลือยเฉพาะท่อนล่างเท่านั้น
- จากนั้นแพทย์จะเข้ามาในห้องตรวจและพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับสิ่งที่จะตรวจและบอกเหตุผลที่ต้องมีการตรวจภายใน
- คุณจะต้องนอนบนเตียงที่มีขาหยั่งโดยคุณจะต้องวางขาสองข้างบริเวณนั้น
- ทำจิตใจให้สบายและผ่อนคลาย ไม่เกร็งเข่าหรือขา
- แพทย์จะสวมถุงมือและตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วยตาเปล่าเพื่อให้แน่ใจว่า บริเวณนั้นไม่มีลักษณะบวม หรือมีแผล และเพื่อให้แน่ใจว่าอวัยวะส่วนภายนอกนั้นเป็นปกติดี
การตรวจอวัยวะภายในของระบบสืบพันธุ์
แพทย์จะตรวจดูภายในช่องคลอดด้วยเครื่องมือสำหรับตรวจคลอด (Speculum) เพื่อเปิดปากช่องคลอด เครื่องมือดังกล่าวมีลักษณะคล้ายปากเป็ดส่วนใหญ่ทำจากโลหะ มีส่วนบานพับที่ปลายด้านหนึ่งซึ่งสามารถควบคุมให้เปิด หรือปิดได้
หากเครื่องมือเป็นโลหะ แพทย์จะทำให้เครื่องมือดังกล่าวอุ่นขึ้นและจะแจ้งให้คุณทราบก่อนที่จะสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เมื่อเครื่องมือสอดเข้าไปและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว แพทย์จะค่อยๆ เปิดขยายปากช่องคลอด ซึ่งจะไม่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด ในขณะที่บางรายอาจบอกว่าการสอดเครื่องมือเข้าไปทำให้รู้สึกอึดอัดบริเวณนั้น นั่นเพราะว่าช่องคลอดล้อมรอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่สามารถยืดหยุ่น หดรัด และคลายตัวได้
ดังนั้นการตรวจจะทำให้คุณรู้สึกสบายมากขึ้นหากคุณผ่อนคลายและไม่เกร็งช่องคลอด แนะนำให้หายใจเข้าออกลึกๆ และเพ่งความสนใจไปที่การผ่อนคลายกล้ามเนื้อช่องคลอด
หลังจากสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอดแล้ว แพทย์จะส่องไฟด้านในเพื่อตรวจเช็คว่า อวัยวะภายในปกติดีหรือไม่ เช่น ตรวจอาการบวมแดง มีแผล หรือมีเลือดไหลหรือไม่
แพทย์จะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อช่องคลอดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อต่อไปด้วย หากแพทย์วินิจฉัยว่าจำเป็นต้องได้รับการตรวจ
แพทย์จะค่อยๆ ถอดเครื่องมือออกจากช่องคลอดเมื่อการตรวจเช็คเสร็จสิ้นแล้ว โดยการตรวจภายในด้วยเครื่องมือชนิดนี้จะใช้เวลาเพียง 1 – 2 นาทีเท่านั้น
การตรวจรังไข่และมดลูก
เนื่องจากรังไข่และมดลูกเป็นอวัยวะภายในที่อยู่ลึกไปอีกทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้จากการใช้เครื่องมือสำหรับตรวจคลอด ดังนั้นแพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไปเพื่อตรวจว่า รังไข่และมดลูกมีขนาดปกติและไม่มีถุงน้ำรังไข่ หรือเนื้องอกใดๆ บริเวณนั้น
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สำหรับการตรวจในขั้นตอนนี้ คุณจะวางขาสองข้างบนขาหยั่ง แพทย์จะทาเจลหล่อลื่นบนนิ้วมือสองนิ้วที่สวมถุงมือและสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอด และจะใช้มืออีกข้างกดบริเวณท้องน้อยช่วงล่าง
การตรวจลักษณะนี้จะทำให้คุณรู้สึกอึดอัด จึงแนะนำให้คุณผ่อนคลายกล้ามเนื้อช่องคลอดและหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ โดยการตรวจคลำด้วยนิ้วมือจะใช้เวลาประมาณ 3 – 5 นาที
การนัดพบแพทย์
ช่วงเวลาการนัดแพทย์เพื่อตรวจภายในที่เหมาะสมที่สุดคือ ช่วงที่คุณไม่มีรอบเดือน แต่ก็ค่อนข้างยากที่จะกำหนด หรือคาดเดาได้ เนื่องจากบางคนอาจมีรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
ดังนั้นเมื่อนัดแพทย์ คุณควรสอบถามสิ่งที่ควรปฏิบัติ หากวันนัดคุณดันมีรอบเดือนมาพอดีและต้องตรวจภายใน แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหาใดๆ ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องวิตกกังวลใดๆ
อย่างไรก็ตาม การตรวจภายในครั้งแรกอาจทำให้คุณรู้สึกเขินอาย วิตกกังวล หรือกลัวมาก แต่เมื่อคุณไปตรวจครั้งต่อไป แม้ว่าคุณจะไม่ชอบแต่ก็จะรู้สึกว่า การตรวจง่ายขึ้นและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นด้วย ดังนั้นการเลือกตรวจกับแพทย์ที่คุณไว้วางใจก็ช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจได้มากเลยทีเดียว
บทความที่เกี่ยวข้อง
รีวิว ตรวจภายใน คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ThinPrep ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
ฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ไม่เจ็บอย่างที่คิด | HDmall
รีวิวตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจหาเชื้อ HPV และอัลตราซาวด์หาเนื้องอกมดลูกและรังไข่ ที่โรงพยาบาลพญาไท 3 | HDmall
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android