6 ผลข้างเคียงของการทานยาคุมกำเนิด

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 ผลข้างเคียงของการทานยาคุมกำเนิด

เมื่อพูดถึงวิธีคุมกำเนิด หนึ่งในวิธีที่คนนิยมใช้มากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการทานยาคุมกำเนิด ทั้งนี้การทานยาคุมกำเนิดจะมีประสิทธิผลมากเมื่อเราทานยาตามใบสั่งของแพทย์หรือเภสัชกร แต่ยาคุมกำเนิดก็ไม่ต่างจากยาชนิดอื่นตรงที่มันมาพร้อมกับผลข้างเคียงค่ะ ซึ่งการรู้ผลข้างเคียงจะช่วยวินิจฉัยปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหลังจากทานยา สำหรับผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิดที่สามารถพบได้มีดังนี้

1.คลื่นไส้

อาการคลื่นไส้ถือเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นหลังทานยาเป็นบางครั้ง อย่างไรก็ดี คุณสามารถหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าวโดยทานยาหลังอาหารหรือก่อนเข้านอน ซึ่งอาการมักจะบรรเทาลงหลังจากที่คุณทานยาไปสัก 2-3 เดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2.ซึมเศร้า

ยาคุมกำเนิดมีฮอร์โมนสังเคราะห์ซึ่งสามารถส่งผลโดยตรงต่อสารสื่อประสาทและอาจทำให้สารสื่อประสาทเสียความสมดุล และนั่นก็จะนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ดังนั้นก่อนที่จะโทษว่าเป็นผลข้างเคียงของการทานยาคุมกำเนิด ให้คุณลองหาสาเหตุที่แท้จริงก่อนค่ะ

3.เจ็บหน้าอกหรือหน้าอกใหญ่ขึ้น

ยาคุมกำเนิดมีเอสโตรเจนปริมาณมาก ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความเกี่ยวข้องกับอาการบวม และนั่นก็อาจทำให้หน้าอกของคุณมีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการเจ็บหน้าอกหลังจากทานยาคุมกำเนิด อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดจากการทานเอสโตรเจนนั้นถือว่าไม่รุนแรง

4.สิว

มียาคุมกำเนิดหลายชนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนสังเคราะห์ ซึ่งยาบางประเภทมีระดับของฮอร์โมนแอนโดรเจนต่ำ และเป็นที่รู้กันว่ามันสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดสิวที่รุนแรง ในขณะที่ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของโปรเจสติน ซึ่งมีแอนโดรเจนเป็นหลักกลับกระตุ้นให้เกิดสิวแทน

5.ปวดศีรษะ

แม้ว่าอาการปวดศีรษะสามารถเกิดจากความเครียดหรือการนอนไม่เพียงพอ แต่การทานยาคุมกำเนิดก็อาจมีผลต่ออาการปวดศีรษะเช่นกัน แม้ว่ามันไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้อาการกำเริบ แต่ในบางครั้งการทานยาคุมกำเนิดสามารถทำให้อาการปวดศีรษะแย่ลง อย่างไรก็ดี ผู้หญิงที่เป็นโรคไซนัสหรือไมเกรนควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานยาคุมกำเนิด

6.รอบเดือนผิดปกติ

ผู้หญิงบางคนอาจเห็นว่ามีเลือดออกกะปริดกะปรอยในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของการทานยาคุมกำเนิด นอกจากนี้ผู้หญิงบางคนอาจมีเลือดออกมากกว่าปกติ ในขณะที่การสูบบุหรี่ก็สามารถลดประสิทธิผลของยาคุมกำเนิด สำหรับผลข้างเคียงอื่นๆ ที่เกิดจากการทานยาคุมกำเนิด เช่น การติดเชื้อยีสต์ การมีเลือดจับตัวเป็นก้อน หรือแม้แต่ทำให้เป็นหมัน ซึ่งเป็นเคสที่หายากมาก อย่างไรก็ดี หากคุณพบความผิดปกติใดๆ คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาในอนาคต

แม้ว่ายาคุมกำเนิดมีผลข้างเคียงตามที่กล่าวไป มีการค้นพบว่ามันก็มีผลข้างเคียงในทางบวกเช่น ช่วยควบคุมอารมณ์ให้เสถียรมากขึ้น ลดอาการเจ็บปวดตอนมีประจำเดือน บรรเทาไมเกรนที่เกิดตอนมีประจำเดือน ป้องกันโรคมะเร็งบางชนิดอย่างมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งรังไข่ ฯลฯ หากคุณพบว่าร่างกายผิดปกติหลังจากทานยาคุมกำเนิด คุณก็ควรรีบไปพบแพทย์

ที่มา: https://popit.io/birth-control...


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Birth Control Side Effects: Risks and Long-Term Safety of the Pill. Healthline. (https://www.healthline.com/health/birth-control-side-effects)
Combined pill. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/combined-contraceptive-pill/)
Birth Control Pill FAQ's: Benefits, Risks, Side Effects. Drugs.com. (https://www.drugs.com/article/birthcontrolpill-risks-benefits.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)