กวาวเครือขาวคืออะไร สรรพคุณ วิธีใช้ วิธีทาน ข้อควรระวัง และผลิตภัณฑ์มีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว สมุนไพรที่สาวๆ ชื่นชอบ มีสารสำคัญออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีสรรพคุณมากมาย แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้เช่นกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น บทความนี้มีคำตอบ
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กวาวเครือขาวคืออะไร สรรพคุณ วิธีใช้ วิธีทาน ข้อควรระวัง และผลิตภัณฑ์มีอะไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กวาวเครือขาว เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่นในด้านการให้ประโยชน์ทางยาแก่ผู้หญิง นิยมนำมาใช้บำรุงร่างกายกันอย่างแพร่หลายตั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน
  • กวาวเครือขาว มีสรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ขยายทรวงอก บำรุงเส้นผม และหนังศีรษะ ทดแทนฮอร์โมนในสตรีวัยทอง บำรุงเลือด เพิ่มมวลกระดูก และป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • กวาวเครือขาวมีจำหน่ายหลายรูปแบบ เช่น แคปซูล หรือยาน้ำ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้แนะนำปริมาณการรับประทานอย่างปลอดภัยคือ ไม่ควรเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ข้อควรระวังการใช้กวาวเครือขาว คือ ไม่ใช้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เนื้องอก ต่อมไทรอยด์โต ซีสต์ และม้ามโต
  • ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 6 เดือน หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์ หรือแพทย์แผนไทยก่อนใช้ยา (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

"กวาวเครือขาว" สมุนไพรสำหรับสตรีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในตำราแพทย์แผนไทย ปัจจุบันถูกนำมาสกัดเป็นยาแผนโบราณ ซึ่งมีสรรพคุณบำรุงร่างกายที่ให้ผลลัพธ์อย่างชัดเจน เหมาะต่อการเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อใช้แทนยาแผนปัจจุบันบางโรคได้

กวาวเครือขาวคืออะไร?

กวาวเครือขาว หรือที่เรียกตามภาษาพื้นบ้านว่า ทองเครือ หรือตานจอมทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Pueraria candollei Graham ex Benth.var mirifica 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กวาวเครือขาว เป็นพืชไม้เลื้อยตระกูลถั่วชนิดไม่มีลำต้น มีหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลม โดยหัวจะมีขนาดใหญ่ตามอายุ เปลือกมียางสีขาว เนื้อสีขาวคล้ายมันแกว หัวอ่อนจะมีเนื้อละเอียด ฉ่ำน้ำ เมื่อแก่ เนื้อของกวาวเครือขาวจะเปราะและมีเส้นมาก

สรรพคุณของกวาวเครือขาว

กวาวเครือขาวมีสรรพคุณเด่นด้านการให้ประโยชน์ทางยาแก่เพศหญิง เนื่องจากมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogenic activity) 

ซึ่งตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้กวาวเครือขาวเป็นหนึ่งในตัวยาที่ใช้สำหรับบำรุงร่างกาย ที่ผู้บริโภคสามารถหามาใช้ได้เองโดยไม่ต้องได้รับใบสั่งจากแพทย์ 

กวาวเครือขาวมีสรรพคุณ ดังนี้

  • บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล ช่วยลดเลือนริ้วรอย บำรุงร่างกายพร้อมกับชะลอความเสื่อมของร่างกายทั้งผิวหน้า และผิวกาย
  • ช่วยขยายทรวงอก ทำให้หน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่วยแก้ไม่ให้ทรวงอกหย่อนคล้อย แต่ทำให้กลับมาเต่งตึง
  • บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมและป้องกันไม่ให้ผมหงอก ทำให้ผมดกดำ และเพิ่มปริมาณเส้นผม
  • ลดความมันบนใบหน้า ช่วยไม่ให้เป็นสิว ลดฝ้าและกระ รวมทั้งลดริ้วรอยบนใบหน้า ทำให้ผิวหน้าไม่หยาบกร้าน
  • ทำให้หลับง่าย แก้อาการอ่อนเพลีย ไม่เหนื่อย ลดอาการเมื่อยของร่างกาย
  • ช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้อาหารมีรสชาติอร่อย ช่วยให้ผู้ที่ผอมแห้งแรงน้อยมีความสมบูรณ์มากขึ้น
  • บำรุงเลือด ช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานดีขึ้น
  • ทดแทนฮอร์โมนในสตรีวัยทอง รักษาอาการหมดประจำเดือนในวัยหลังหมดประจำเดือน ช่วยให้ช่องคลอดไม่แห้ง ลดอาการร้อนวูบวาบ และแก้ปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติในหญิงวัยเจริญพันธุ์
  • เป็นยาอายุวัฒนะ สำหรับเพศชายจะช่วยให้กระชุ่มกระชวย ร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยเพิ่มมวลกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุน เพิ่มจำนวนกระดูกเนื้อโปร่ง (Trabecular number และเพิ่มพื้นที่ผิวของเซลล์กระดูก ทำให้สร้างและซ่อมแซมกระดูกได้มากขึ้น
  • ช่วยลดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย

วิธีใช้ และวิธีรับประทานกวาวเครือขาว

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะนำและกำหนดวิธีรับประทานกวาวเครือขาว เพื่อให้เหมาะสมและเกิดความปลอดภัยในการรับประทาน คือ ไม่ควรเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

หากเป็นแคปซูล คือ วันละ 2  ครั้ง เวลาเช้าและเย็น ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง ยกเว้นช่วงที่มีประจำเดือนหรือรอให้ประจำเดือนหมดแล้วจึงค่อยรับประทาน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับวิธีการรับประทานเป็นสมุนไพรจะใช้ผงกวาวเครือขาวผสมกับน้ำผึ้ง จากนั้นปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดพริกไทยแล้วรับประทานวันละ 1 เม็ด นอกจากนี้ไม่ควรรับประทานยากวาวเครือขาวพร้อมๆ กับยาคุมกำเนิด

ข้อควรระวังการใช้กวาวเครือขาว

  • ไม่ควรใช้กวาวเครือขาวกับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี คุณแม่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก ต่อมไทรอยด์โต ซีสต์ โรคที่เกี่ยวกับมดลูกและรังไข่ รวมทั้งผู้ที่ดื่มสุราหรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับ และผู้ที่มีอาการม้ามโต
  • ควรรับประทานกวาวเครือขาวในปริมาณที่กำหนด และไม่รับประทานติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน เพราะอาจทำให้เยื่อหุ้มอัณฑะหนา หรือเต้านมแข็งเป็นก้อน ทำให้มีอาการม้ามโต อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรืออาการท้องอืดได้

ผลิตภัณฑ์กวาวเครือขาวมีอะไรบ้าง?

ปัจจุบัน มีการจัดจำหน่ายกวาวเครือขาวในรูปของแคปซูล และยาน้ำใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ทันสมัย สะอาด 

นอกจากนี้ยังมีครีมใช้ทาหรือนวดเพื่อกระชับทรวงอก โดยควรเลือกซื้อจากบริษัทที่ผลิตได้มาตรฐานอุตสาหกรรม และได้รับเลขจดแจ้งในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอาง หรือเลขทะเบียน อย. 

ในกรณีที่เป็นยา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน และร้านค้าออนไลน์

การนำกวาวเครือขาวมารับประทานเพื่อใช้บำบัดโรคเป็นครั้งคราวอาจไม่มีอันตรายใดๆ แต่ควรรับประทานตามขนาดอย่างเคร่งครัด เนื่องจากตำรายาไทยแผนโบราณมีข้อห้ามบางประการ ถึงแม้ว่ากวาวเครือขาวจะมีคุณประโยชน์มากก็ตาม 

ดังนั้น หากไม่แน่ใจ หรือมีโรคประจำตัวก็ควรปรึกษาแพทย์ หรือแพทย์แผนไทยก่อน ก็จะช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยที่สุด

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic Toxicity of Pueraria mirifica in Rats. (https://www.tci-thaijo.org)
Pueraria mirifica Exerts Estrogenic Effects in the Mammary Gland and Uterus and Promotes Mammary Carcinogenesis in Donryu Rats. Published online 2016 Nov 4.
Anti-osteoporotic effects of Pueraria candollei var. mirifica on bone mineral density and histomorphometry in estrogen-deficient rats. Epub 2016 Jan 27.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)