โรคแผลริมอ่อนคืออะไร
โรคแผลริมอ่อน (Chancroid) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้เกิดแผลเปื่อยบริเวณด้านบนหรือรอบๆ อวัยวะเพศทั้งชายและหญิง
สำหรับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรคชนิดนี้คือ แบคทีเรียชนิดแฮโมฟีลุส ดูเครย์ (Haemophilus Ducreyi) ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศเสียหายและทำให้เกิดแผลเปื่อย หรือเรียกได้อีกชื่อว่า "แผลริมอ่อน"
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีเลือดหรือของเหลวไหลออกมาจากแผล ซึ่งสามารถทำให้แบคทีเรียแพร่เชื้อไปยังคู่นอนระหว่างที่มีเพศส้มพันธ์ทางปาก รูทวาร หรือช่องคลอดได้ นอกจากนี้โรคแผลริมอ่อนอาจแพร่เชื้อได้จากการสัมผัสแบบใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อด้วย
ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแผลริมอ่อน
- ผู้ที่อยู่ในวัยที่มีเพศสัมพันธ์ได้ ตั้งเด็กวัยรุ่นไปจนถึงผู้ใหญ่
- เป็นผู้เดินทางหรืออาศัยอยู่ในประเทศที่ที่อยู่อาศัย น้ำ อาหาร และระบบสาธารณสุขไม่สะอาด
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ขายบริการ
- ผู้ที่ชอบเปลี่ยนคู่นอนอยู่บ่อยๆ
- ผู้ที่ใช้สารเสพติดหรือชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
อาการของโรคแผลริมอ่อน
โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4-7 วันหลังจากได้รับเชื้อ แต่อาการอาจแตกต่างกันไปในผู้ชายและผู้หญิง
1. อาการของโรคแผลริมอ่อนในผู้ชาย
ในผู้ป่วยชาย อาจมีตุ่มสีแดงเล็กๆ ขึ้นบนอวัยวะเพศ ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นแผลเปื่อยภายใน 1-2 วัน และแผลอาจก่อตัวขึ้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของอวัยวะเพศก็ได้ ซึ่งรวมไปถึงองคชาต หรือถุงอัณฑะด้วย และเมื่อเกิดแผล ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนที่บริเวณแผลมาก
2. อาการของโรคแผลริมอ่อนในผู้หญิง
ผู้หญิงอาจมีตุ่มสีแดง 4 เม็ดหรือมากกว่านี้บนแคมนอก หรือระหว่างแคมนอก รูทวาร หรือบนต้นขา และเพราะแคมนอกเป็นรอยพับของผิวที่ปกคลุมอวัยวะเพศหญิงเอาไว้ หลังจากที่ตุ่มกลายมาเป็นแผลเปื่อยหรือแผลเปิดแล้ว ผู้ป่วยหญิงอาจรู้สึกแสบร้อน หรือเจ็บในระหว่างที่ขับปัสสาวะหรืออุจจาระ
อาการของโรคแผลริมอ่อนอื่นๆ ที่พบในผู้ชายและผู้หญิง
เราสามารถพบอาการดังนี้ ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
- แผลสามารถมีขนาดแตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1/8 นิ้ว-2 นิ้ว
- แผลมีจุดกึ่งกลางที่นิ่ม และเป็นได้ตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาอมเหลือง อีกทั้งมีขอบที่ชัดและแหลม
- หากสัมผัสแผล เลือดอาจไหลออกมาอย่างง่ายดาย
- ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์หรือขณะที่ปัสสาวะ
- บริเวณขาหนีบอาจบวมขึ้น
- ต่อมน้ำเหลืองที่บวมสามารถผ่านเข้าไปยังผิว และทำให้เกิดฝีหรือหนองขนาดใหญ่ได้
การวินิจฉัยโรคแผลริมอ่อน
การวินิจฉัยโรคนั้นอาจต้องทำโดยเก็บตัวอย่างของเหลวที่ไหลออกมาจากแผล แล้วส่งไปยังห้องทดลองเพื่อวิเคราะห์ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการตรวจเลือดยังไม่ช่วยให้เราวินิจฉัยโรคแผลริมอ่อนได้ แพทย์อาจมีการตรวจต่อมน้ำเหลืองในขาหนีบร่วมด้วย เพื่อดูว่ามีขนาดบวมขึ้นและทำให้คุณรู้สึกเจ็บหรือไม่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หรืออาจเป็นการตรวจพีซีอาร์ (Polymerase chain reaction: PCR) ซึ่งเป็นการตรวจโดยเทคนิคเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอที่ต้องการศึกษาให้มีจำนวนเพิ่มเป็นหลายเท่าในระยะเวลาอันสั้น หรือในกรณีนี้อาจหมายถึงเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลนั่นเอง จุดเด่นของการตรวจแบบนี้คือ มีความแม่นยำสูงเกือบ 100% แต่มีราคาแพงและต้องใช้เวลาในการตรวจ
การรักษาโรคแผลริมอ่อน
เราสามารถรักษาโรคแผลริมอ่อนด้วยวิธีทานยาหรือผ่าตัด
1. ยา
แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผล และอาจช่วยลดโอกาสที่จะเกิดแผลเป็นเมื่อแผลหายดีแล้วด้วย เช่น
- อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin)
- เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) ซึ่งการให้ยาชนิดนี้รักษาอาจอยู่ในรูปของการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
- อิริโทรมัยซิน (Erythromycin)
- ไซโพรฟล็อกซาซิน (Ciprofloxacin)
2. การผ่าตัด
แพทย์อาจเจาะฝีที่มีขนาดใหญ่และทำให้รู้สึกเจ็บภายในต่อมน้ำเหลืองโดยใช้เข็มหรือการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยลดบวมและความเจ็บปวดเมื่อแผลหายดีแล้ว แต่ก็อาจทำให้เกิดแผลเป็นจางๆ บริเวณที่กระทำการดังกล่าวได้
นอกจากนี้ยังมีวิธีการดูแลตนเองอื่นๆ ที่คุณควรทำร่วมกับการรักษาเพื่อให้แผลคงความสะอาดและไม่ติดเชื้อลุกลามกว่าเดิม เช่น
- หมั่นทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอยู่เป็นประจำ
- ใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผลทำความสะอาดแผลให้สะอาด และเช็ดแผลให้แห้งอยู่เสมอ
- งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลจะหายดี
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดจนกว่าแผลจะหายดี
โรคแผลริมอ่อนเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งหากผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด แผลดังกล่าวก็อาจไม่เกิดรอยแผลเป็นทิ้งไว้เมื่อหายดีแล้ว แต่หากผู้ป่วยปล่อยแผลทิ้งไว้โดยไม่รักษา ก็อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นถาวรบนอวัยวะเพศชาย และนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อในผู้หญิงได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อีกข้อควรระวังที่สำคัญคือ หากแพทย์วินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคแผลริมอ่อน นั่นหมายความว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ด้วย ดังนั้นคุณควรเข้ารับการตรวจโรคเหล่านี้เช่นกันเพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง (Human Immunodeficiency Virus: HIV) และเป็นโรคแผลริมอ่อนด้วย มีแนวโน้มที่แผลจะหายช้ากว่าผู้ป่วยทั่วไป
การป้องกันโรคแผลริมอ่อน
คุณสามารถป้องกันไม่ให้ตัวเองเป็นโรคแผลริมอ่อนโดยใช้ถุงยางอนามัยในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ สำหรับวิธีป้องกันอื่นๆ ประกอบไปด้วย
- หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน และไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับผู้ขายบริการเพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีแผลที่อวัยวะเพศ
- เมื่อมีแผลที่อวัยวะเพศ ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลและงดการมีเพศสัมพันธ์ จากนั้นให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแผลที่เกิดขึ้น
- หมั่นรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอยู่เสมอ
- บอกคู่นอนของตนเองหากป่วยเป็นโรคแผลริมอ่อน เพื่อที่คู่นอนจะได้ไปตรวจและรักษาตัวเช่นกัน
เราจะเห็นได้ว่าการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือการมีพฤติกรรมหมกมุ่นเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อยู่บ่อยๆ ย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อมากมายตามมา รวมถึงการมีพฤติกรรมไม่รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศซึ่งเป็นจุดอับชื้นก็เช่นกัน พฤติกรรมแบบนี้ย่อมส่งผลให้คุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ โดยไม่รู้ตัวได้
ดังนั้นคุณจึงควรรู้จักการป้องกันตนเอง หมั่นรักษาความสะอาด อย่ามีเพศสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และหากเกิดแผลไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาให้หายโดยเร็วจะดีที่สุด
เป็นแผลริมอ่อนครับ วิธีการดูแลให้สะอาดต้องขูดหนองออกไหมครับ