กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ติดเชื้ออีโคไล (Escherichia coli infection)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที

เชื้อเอชเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) หรือเชื้ออีโคไล (E. coli) เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในลำไส้ของสัตว์เลือดอุ่นรวมถึงมนุษย์ เชื้ออีโคไลส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีอันตรายและอาจมีประโยชน์ เช่น เชื้ออีโคไลที่สร้างวิตามินเคและวิตามินบี 6 และยังช่วยรักษาพื้นที่ในลำไส้สำหรับแบคทีเรียที่มีประโยชน์อื่นๆ อย่างไรก็ตามเชื้ออีโคไลบางสายพันธุ์ก็ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

เชื้ออีโคไลที่ก่อโรคจะทำให้เกิดความเจ็บป่วยจากอาหารคือเมื่อมีอุจจาระของสัตว์เหล่านั้นแม้ปริมาณเพียงเล็กน้อยจนมองไม่เห็นปนเปื้อนมาในอาหารที่คนกิน ภาวะอาหารเป็นพิษจะเกิดขึ้นเมื่ออาหารหรือน้ำดื่มปนเปื้อนเชื้ออีโคไลทำให้เชื้อเข้าสู่ลำไส้และเกิดความเจ็บป่วยขึ้น โดยแหล่งที่มักปนเปื้อนได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เนื้อบด
  • พืชผักโดยเฉพาะผักใบเขียวที่ใช้น้ำจากฟาร์มปศุสัตว์
  • นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม น้ำผลไม้ และน้ำผลไม้หมักที่ดิบหรือไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์

แม้ว่าการระบาดของเชื้ออีโคไลจะทำให้มีการปนเปื้อนของอาหารในวงกว้างแต่เชื้ออีโคไลก็ยังสามารถติดต่อแพร่จากคนสู่คนโดยตรงได้

เชื้ออีโคไลติดต่อจากคนสู่คนได้อย่างไร

โดยปกติแล้วเชื้ออีโคไลจะไม่แพร่จากคนสู่คนผ่านทางการไอ การจูบ หรือการสัมผัสกันตามปกติระหว่างเพื่อนหรือคนในครอบครัว อย่างไรก็ตามการติดต่อจากคนสุ่คนเกิดขึ้นได้หากรักษาความสะอาดไม่ดีพอ เช่นเดียวกันกับปศุสัตว์ เชื้ออีโคไลในคนจะแพร่ผ่านทางอุจจาระที่ปนเปื้อนในอาหารและน้ำ ตัวอย่างเช่น จะติดอีโคไลจากคนสู่คนได้ถ้าเข้าห้องน้ำแล้วไม่ได้ล้างมือแล้วไปเตรียมอาหารให้คนอื่นทาน และการติดต่อวิธีนี้ยังเกิดกับทารกผ่านทางจุกขวดนม จุกนมปลอม ของเล่นที่เข้าปาก นอกจากนี้การเอามือที่มีเชื้ออีโคไลเข้าปากโดยตรงก็ทำให้ติดได้ และแม้ว่าตนเองจะไม่ได้ติดเชื้อก็สามารถส่งผ่านเชื้อสู่คนอื่นได้ รวมถึงการเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กแล้วไม่ล้างมือก็ทำให้เชื้อในอุจจาระของเด็กแพร่กระจาย  และตัวเราเองจะติดเชื้ออีโคไลและแพร่เชื้อต่อได้เช่นเดียวกันเมื่อสัมผัสสัตว์และสิ่งแวดล้อมรอบๆที่สัตว์อยู่ ท้ายที่สุดอาจทำให้มีการปนเปื้อนเชื้อในทะเลสาบ สระว่ายน้ำ บ่อน้ำ หรือแม่น้ำได้ถ้าไปว่ายน้ำขณะที่ตนเองมีการติดเชื้ออีโคไล

การติดเชื้ออีโคไลในผู้ใหญ่

หากแบคทีเรียชนิดนี้เข้าไปอยู่ในทางเดินปัสสาวะจะทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โดยตามรายงานของวารสารโรคระบาดติดเชื้อ (Journal Emerging Infectious Diseases) ในปี 2012 พบว่าความจริงแล้วเชื้ออีโคไลเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะกว่า 85 % และเมื่อเชื้ออีโคไลเข้าสู่ปอดก็ทำให้เกิดความเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบหายใจ และส่วนน้อยยังทำให้เกิดปอดอักเสบได้ และยังเป็นที่รู้จักกันว่าทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้และการระบาดของอาหารเป็นพิษ

การติดเชื้ออีโคไลในเด็ก

เช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ การติดเชื้อพาโธเจนิก อีโคไล (Pathogenic E. coli) ในเด็กเป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษและการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Institutes of Health) ระบุว่าเด็กประมาณ 3% มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและต้องไปพบกุมารแพทย์ปีละประมาณ 1 ล้านคน และเนื่องจากลักษณะทางกายภาพ ทำให้เด็กผู้หญิงเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะมากกว่าเด็กผู้ชาย 4 เท่า ส่วนเด็กผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 6 ปีและไม่ได้ขลิบปลายอวัยวะเพศก็มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะมากกกว่าเด็กผู้ชายในวัยเดียวกัน 

ตามข้อมูลของมูลนิธิวิจัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบระบุว่าเชื้อเอชเชอริเชีย โคไล ยังเป็นสาเหตุประมาณ 20% ของเยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารก ซึ่งเป็นการติดเชื้อของเยื่อที่หุ้มสมองและไขสันหลังของทารก 

เด็กก่อนวัยเรียนจะแพร่เชื้อแบคทีเรียไปยังเพื่อนที่เล่นด้วยกัน และผู้ใหญ่ก็แพร่เชื้อไปยังเด็กคนอื่นได้หากไม่ล้างมือหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อม นอกจากนี้ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค เด็กยังสามารถแพร่เชื้อต่อได้อีก 2 สัปดาห์หลังจากหายป่วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของการติดเชื้ออีโคไลอาจแตกต่างออกไปในเด็ก

เชื้ออีโคไลเป็นที่รู้จักกันอย่างดีว่าเป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคลำไส้ติดเชื้อจากอาหาร(เช่น อาหารเป็นพิษ) แต่เชื้อพาโธเจนิก อีโคไล(pathogenic E. coli )ยังทำให้เกิดโรคอื่นๆได้ด้วย โดยธรรมชาติแล้ว อาการขึ้นอยู่กับการติดเชื้ออีโคไลเป็นชนิดใด

การติดเชื้ออีโคไลนอกลำไส้

เชื้ออีโคไลเป็นสาเหตุกว่า 85% ของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะตามรายงานในปี 2012 ของวารสารโรคระบาดติดเชื้อ(journal Emerging Infectious Diseases ) การติดเชื้อเกิดขึ้นเมื่อเชื้ออีโคไลซึ่งปกติอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่เข้าสู่ทางเดินปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะไม่จำเป็นต้องมีอาการเสมอไปแต่คนส่วนใหญ่มักมีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้

ตามรายงานของมูลนิธิวิจัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบระบุว่า เชื้ออีโคไลสายพันธุ์เควัน(K1)เป็นสาเหตุของเยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารกประมาณ 20% โดยทารกจะติดเชื้ออีโคไลสายพันธุ์เควันได้ขณะเกิดหรือติดได้จากในบ้านหรือโรงพยาบาล ถ้าทารกเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการต่อไปนี้

ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค(Centers for Disease Control and Prevention)หรือซีดีซี(CDC)ระบุว่า เชื้อเสตรปโตค็อกคัส นิวโมนิเอ(Streptococcus pneumoniae) เป็นสาเหตุบ่อยที่สุดของปอดอักเสบ แต่เชื้ออีโคไลก็สามารถทำให้เกิดปอดอักเสบได้ ซึ่งอาการส่วนใหญ่ของปอดอักเสบได้แก่

การติดเชื้ออีโคไลในลำไส้

มีเชื้ออีโคไลหลายสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษตามรายงานของสำนักจุลชีววิทยาของอเมริกา(American Academy of Microbiology) โดยเชื้อเอนเทอโรท็อกซิเจนิก อีโคไล(Enterotoxigenic E. coli) จะใช้รยางค์ที่ลักษณะคล้ายเส้นผมเกาะติดกับลำไส้และโจมตีร่างกายด้วยสารพิษซึ่งทำให้ถ่ายเหลวแต่ไม่มีไข้ เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ยังทำให้เกิดโรคอุจจาร่วงจากการเดินทาง(traveller's diarrhea)อีกด้วย ส่วนเชื้อเอนเทอโรอินเวซีฟ อีโคไล(Enteroinvasive E. coli) จะจู่โจมเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่ทำให้ถ่ายเหลวและมีไข้ ส่วนเชื้อเอนเทอโรพาโธเจนิก อีโคไล(Enteropathogenic E. coli,) เป็นสาเหตุของท้องเสียในเด็กทารกในประเทศกำลังพัฒนาทำให้ถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือมีเลือดปนหลังจากเชื้อยึดเกาะกับเซลล์ลำไส้ด้วยโปรตีนชนิดพิเศษ และเชื้อเอนเทอโรแอกกรีเกทีฟ อีโคไล(enteroaggregative E. coli ) จะกระจุกตัวอยู่บนเซลล์เยื่อบุลำไส้และใช้พิษทำให้เกิดท้องเสียเป็นเวลานานโดยเฉพาะในเด็ก ส่วนเชื้ออีโคไลที่สร้างพิษชิก้า(Shiga toxin-producing E. coli ) หรือเอสเทค(STEC) เป็นชนิดที่ได้ยินบ่อยที่สุดในข่าวเนื่องจากมีการระบาด การติดเชื้อเอสเทคในลำไส้ซึ่งเกิดจากเชื้อที่ปกติอยู่ในปศุสัตว์เข้าสู่คนผ่านทางการปนเปื้อนอุจจาระสัตว์ในอาหารที่คนกินทำให้เกิดอาการ

คนส่วนใหญ่มักหายจากเชื้อเอสเทคประมาณหนึ่งสัปดาห์ แต่บางคนโดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตก-ยูรีเมีย(hemolytic uremic syndrome) หรือย่อว่าเอชยูเอส(HUS) ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตจากไตวาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • อาการแรกๆของเอชยูเอสได้แก่
  • อุจจาระมีเลือดปน (มักมีอาการท้องเสีย)
  • อาเจียน
  • ไม่มีแรง และ เซื่องซึม
  • กระสับกระส่าย
  • ไข้

มีเป็นมากขึ้นจะมีอาการ

  • จ้ำเลือด และมีจุดเลือดออกที่ผิว
  • ปัสสาวะออกน้อย
  • ผิวซีด
  • ดีซ่าน
  • ชัก (พบได้น้อย)

อาหารเป็นพิษจากเชื้ออีโคไล

สาเหตุหลักของอาหารเป็นพิษในสหรัฐอเมริกาคือ โนโรไวรัส (Norovirus) ซึ่งทำให้มีผู้ป่วยอาหารเป็นพิษประมาณ 5.5 ล้านคนต่อปี รองลงมาคือเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา (Salmonella) เชื้อคลอสทริเดียม เพอร์ฟรินเจนส์ (Clostridium perfringens) เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) และเชื้อสแตฟไฟโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) แต่เชื้อเอชเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) ก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้เช่นกัน

เชื้ออีโคไลสายพันธุ์ที่สร้างพิษชิก้า (Shiga toxin-producing E. coli) หรือที่ย่อว่าเอสเทค (STEC) เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยจากอาหารในผู้ป่วยประมาณ 176,000 คนต่อปี และประมาณ 36% ของผู้ป่วยเหล่านี้เกิดจากสายพันธุ์เฉพาะที่เรียกว่า โอ157:เอช7 (O157:H7) หรือย่อว่าโอ157 (O157) นอกจากนี้เชื้ออีโคไลสายพันธุ์โอ157 เป็นสาเหตุของการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยอาหารเป็นพิษประมาณ 4% และปศุสัตว์เป็นแหล่งสะสมของเชื้ออีโคไลที่ใหญ่ที่สุดที่แพร่เชื้อสู่คนผ่านการกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของสัตว์ที่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ โดยแหล่งของการปนเปื้อนที่พบได้ เช่น

  • เนื้อบด
  • ผลิตภัณฑ์จากนม หรือน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์
  • พืชผักที่ใช้น้ำจากฟาร์มปศุสัตว์
  • บ่อน้ำหรือแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำ ที่มีสัตว์ใช้บ่อยๆ

นอกจากนี้คนก็สามารถแพร่เชื้ออีโคไลได้หากสัมผัสอาหารโดยไม่ล้างมือแล้วรับประทานเข้าไป รวมถึงในกรณีที่ว่ายน้ำแล้วดื่มน้ำในสระว่ายน้ำ แม่น้ำ หรือทะเลสาบที่ปนเปื้อน โดยจะเริ่มมีอาการจากการติดเชื้ออีโคไลในลำไส้หลังจากได้รับเชื้อไป 2-5 วัน 

อาการของการติดเชื้ออีโคไลในลำไส้ที่สังเกตได้ มีดังนี้

อาการอื่นๆ ที่พบได้ แต่ไม่บ่อย ได้แก่ อาเจียน และมีไข้ต่ำ ในผู้ใหญ่ที่แข็งแรงจะหายจากการติดเชื้อได้ภายในประมาณ 1 สัปดาห์โดยไม่ได้รักษา

เชื้ออีโคไลและกลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตก-ยูรีเมีย(Hemolytic Uremic Syndrome)

เชื้ออีโคไลสายพันธุ์เอสเทคประมาณ 5-15% สามารถทำให้เกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิต คือ กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตก-ยูรีเมีย (Hemolytic uremic syndrome) หรือเอชยูเอส (HUS) ซึ่งเกิดจากสารพิษของแบคทีเรียทำให้เม็ดเลือดแดงแตก 

ตามรายงานในปี 2012 ของวารสารด้านสารพิษระบุว่า เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อเอสเทค และเสี่ยงเกิดกลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตก-ยูรีเมียมากขึ้น คนที่ใช้ยาปฏิชีวนะรักษาการติดเชื้ออีโคไลก็มีความเสี่ยงเกิดเอชยูเอสเพิ่มขึ้นเช่นกัน 

อาการแรกเริ่มของเอชยุเอสส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับการติดเชื้ออีโคไลในลำไส้ปกติ แต่ในระยะท้ายๆ ของการติดเชื้อ จะทำให้ผิวซีด มีอาการดีซ่าน และผิวมีจ้ำเลือด หากไม่รักษาจะเกิดไตได้รับความเสียหายถาวรและไตวายได้

ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้ออีโคไลในลำไส้

ผู้ใหญ่ที่แข็งแรงจะหายจากการติดเชื้ออีโคไลได้ใน 1 สัปดาห์ หากพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ แต่ถ้าไม่ดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไปจากอาการท้องเสียและอาเจียนจะเสี่ยงทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ โดยในตอนแรกภาวะขาดน้ำจะทำให้มีอาการเล็กน้อย เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตามภาวะขาดน้ำรุนแรงจะมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น เวียนศีรษะ สับสน (เพ้อ) ชีพจรเต้นเร็ว หัวใจและไตมีปัญหา และยังสามารถทำให้มีอาการชัก สมองได้รับความเสียหายถาวร และเสียชีวิต

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

แพทย์จะรักษาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วยยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้หากการติดเชื้อไม่ได้ตรวจพบแต่เนิ่นๆ หรือยาปฏิชีวนะทำงานได้ไม่ดี (เชื้ออีโคไลบางสายพันธุ์ดื้อต่อยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่) 

ถ้าเชื้อแบคทีเรียกระจายทั่วทางเดินปัสสาวะจะก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ไต และอาจทำให้ไตได้รับความเสียหายถาวรเกิดเป็นแผลเป็นที่ไต การทำงานของไตลดลง ความดันโลหิตสูง และหากการติดเชื้อรุนแรงจะทำให้การทำงานของไตลดลงจนเกิดภาวะไตวายได้ และในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจะทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ซึ่งจะส่งผลให้มีความดันโลหิตต่ำ การไหลของเลือดในร่างกายลดลงจนทำให้ระบบอวัยวะและร่างกายหยุดทำงาน หากไม่รักษาจะเสียชีวิตในที่สุด

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออีโคไล

วิธีที่ดีที่สุดที่ป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออีโคไลสู่คนอื่นคือรักษาความสะอาด ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำเปล่าหลังจาก

  • เข้าห้องน้ำ
  • เปลี่ยนผ้าอ้อม
  • สัมผัสกับสัตว์โดยตรง หรือสิ่งแวดล้อมรอบๆสัตว์ เช่น กรงขัง หรือคอกสัตว์

นอกจากนี้ควรล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสปากผู้อื่นหรือสิ่งที่ต้องนำเข้าปากผู้อื่นเช่น อาหาร จุกนม และหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำขณะป่วย ควรระมัดระวังในลักษณะเดียวกันนี้เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผู้อื่น และหากมีการติดเชื้ออีโคไลจะมีอาการดังนี้

  • ถ่ายเหลวปริมาณมากหรือมีเลือดปน
  • คลื่นไส้ โดยมีอาเจียนร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
  • อ่อนเพลีย
  • ไข้ต่ำๆ (พบได้น้อย)

อย่างไรก็ตามควรระลึกว่าอาจมีเชื้ออีโคไลที่ก่อโรคอยู่ในร่างกายก็ได้แม้จะไม่มีอาการใดเลย โดยตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคพบว่าความจริงแล้วคนเราจะปล่อยแบคทีเรียออกมานานหลายเดือนหลังจากหายป่วยแล้ว ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ถ้าในร้านอาหารมีวิธีไม่มากนักที่จะป้องกันอาหารเป็นพิษจากเชื้ออีโคไลนอกจากให้นำเนื้อสัตว์ที่ไม่สุกดีกลับไปทำใหม่ เช่น เนื้อแฮมเบอเกอร์ที่สีชมพู แต่มีขั้นตอนหลายอย่างที่สามารถทำที่บ้านได้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้ออีโคไล

อย่างแรก ต้องแน่ใจว่าปรุงเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และไข่สุดทั่วทุกส่วนก่อนรับประทาน โดยเฉพาะเนื้อวัวบดเนื่องจากผิวของเนื้อวัวเกือบทุกชนิดสามารถปนเปื้อนเชื้ออีโคไลได้แต่การบดจะเป็นการผสมเชื้อเข้าไปในก้อนเนื้อ ดังนั้นเนื้อวัวบดควรปรุงจนส่วนที่หนาที่สุดมีความร้อน 160 องศาฟาเรนไฮต์(71 องศาเซลเซียส)ตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ส่วนผักและผลไม้ควรล้างจนสิ่งสกปรกหรือฝุ่นหมดไปและควรเก็บแยกกันกับเนื้อสด นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการปนเปื้อนระหว่างอาหารได้โดยล้างมือ ภาชนะ เคาท์เตอร์ ถาดเสิร์ฟอาหาร และเขียงหลังจากสัมผัสเนื้อสดหรือสัตว์ปีก ไม่วางเนื้อสัตว์ที่สุกแล้วในจานเดียวกับเนื้อสัตว์ดิบ สุดท้ายคือไม่ทิ้งอาหารที่เหลือไว้ยอกตู้เย็นเกินสี่ชั่วโมง

เคล็ดลับอื่นๆเพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้ออีโคไล

หมั่นรักษาความสะอาดภายนอกห้องครัวสามารถลดความเสี่ยงตอดเชื้ออีโคไลได้และป้องกันการแพร่กระจายไปยังคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำเปล่าอย่างสม่ำเสมอ

  • หลังเข้าห้องน้ำ
  • หลังเปลี่ยนผ้าอ้อม
  • ก่อนสัมผัสปากของทารกหรือสิ่งที่ทารกจะเอาเข้าปาก เช่น จุกนม ขวดนม หรือของเล่น
  • ก่อนเตรียมหรือทำอาหาร
  • หลังสัมผัสสัตว์และสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวสัตว์ เช่น ลูบคลำสัตว์ในสวนสัตว์ หรืองานแสดงต่างๆ

นอกจากนี้ หลีกเลี่ยงการกลืนน้ำสระว่ายน้ำหรือเล่นในทะเลวาบ สระน้ำ แม่น้ำ สวนน้ำ หรือแอ่งน้ำในสวนหลังบ้าน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus, E. Coli Infections (https://medlineplus.gov/ecoliinfections.html),
cdc, E. coli (Escherichia coli) (https://www.cdc.gov/ecoli/index.html),

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)