ภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรังกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือคำเรียกรวมของกลุ่มอาการหายใจลำบากเรื้อรัง โดยโรคนี้สามารถแบ่งได้ 2 ชนิดคือโรคหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพองโดยพบโรคหลอดลมอักเสบได้บ่อยกว่า ศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรค (CDC) กล่าวว่าระหว่างปี 2011-2012 มีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 8.7 ล้านคน ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 60% เป็นผู้หญิง และมากกว่า 40% ของกลุ่มนี้มีอายุระหว่าง 45-64 ปี

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังคืออะไร?

หลอดลมอักเสบคือการอักเสบของหลอดลมซึ่งทำหน้าที่นำอากาศเข้าสู่ปอด เมื่อหลอดลมมีการอักเสบจะทำให้ผนังเยื่อบุของหลอดลมมีอาการบวม และหนาตัวขึ้น และทำให้เกิดการหลั่งมูกออกมามากขึ้น ซึ่งมูกเหล่านี้จะทำให้หลอดลมตีบแคบและอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการไอมีเสมหะ หลอดลมอักเสบสามารถเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน มักเกิดจากการติดเชื้อชั่วคราว หรือการระคายเคืองในปอด และมักเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันส่วนใหญ่มักสามารถหายได้ภายในเวลาไม่กี่วันแต่อาจจะมีไอมีเสมหะคงอยู่ได้หลายสัปดาห์ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรังนั้นหลอดลมจะยังคงมีการระคายเคือง และอักเสบต่อเนื่อง ในผู้ที่เป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (มากกว่าเฉียบพลัน) อาการไอมีเสมหะสามารถอยู่ได้นนกว่า 3 เดือนใน 1 ปี หรือ 2 ปีติดกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของการเกิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

การสูบบุหรี่เป็นเวลานานเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งรวมถึงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 6 ที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนแล้วเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจาก

สาเหตุสำคัญอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังประกอบด้วย

  • มลพิษภายในอาคารจากฝุ่นในอุตสาหกรรม และควันในสถานที่ทำงาน มลพิษในอากาศ หรือควันบุหรี่
  • โรคหอบหืดที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้เป็นเวลานาน
  • การมีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจบ่อยในช่วงเด็ก

หลอดลมอักเสบเรื้อรังนี้จะไม่สามารถเกิดได้จากความผิดปกติทางพันธุกรรมของการขาดโปรตีน A1AT เหมือนในโรคถุงลมโป่งพอง

อาการของโรคถุงลมโป่งพอง

นอกเหนือจากอาการไอมีเสมหะแล้วนั้น ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • หายใจสั้นขึ้นโดยเฉพาะขณะออกกำลังกาย
  • หายใจมีเสียงวี๊ด
  • อ่อนเพลีย
  • แน่นหน้าอก
  • มีการติดเชื้อทางระบบหายใจบ่อย ซึ่งจะทำให้อาการแสดงอื่นๆ แย่ลง

อาการเหล่านี้มักแย่ลงเมื่อมีมลพิษในอากาศมากขึ้น

การวินิจฉัย และการรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

การวินิจฉัยโรคจะเริ่มจากการซักประวัติ โดยเฉพาะเกี่ยวกับระยะเวลาที่มีอาการไอมีเสมหะ รวมถึงโรคอื่นๆ ทางการแพทย์ที่จะต้องตัดออก การวินิจฉัยโรคปอดให้ชัดเจนนั้นมักจะต้องมีการส่งตรวจเพิ่มเติม เช่นตรวจการทำงานของปอด ตรวจเลือด และใช้ภาพวินิจฉัย หลอดลมอักเสบเรื้อรังถือเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นการรักษาจึงเน้นที่การลดอาการและชะลอการดำเนินโรค ตัวเลือกในการรักษามักเป็นการใช้ยา (ยาขยายหลอดลมสเตียรอยด์ยาปฏิชีวนะ) การให้ออกซิเจน และการทำกายภาพให้กับปอด


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)