โรคไลเคนพลานัส (Lichen Planus) คือ โรคที่ก่อให้เกิดผื่นคันที่ไม่ใช่การติดเชื้อที่สามารถเกิดกับส่วนใดของร่างกายก็ได้ เช่น แขน ขา ต้นขา ปาก (รอยไลเคนพลานัสในช่องปาก) เล็บ หนังศีรษะ อวัยวะเพศภายนอก และภายในของสตรี และองคชาต
สาเหตุของโรคไลเคนพลานัส
สาเหตุการเกิดโรคไลเคนพลานัสนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่คาดกันว่า เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหรือความผิดปกติของการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อยาบางประเภท โรคไลเคนพลานัสไม่ใช่โรคติดเชื้อ ไม่ส่งต่อทางพันธุกรรม และไม่แพร่ไปยังผู้อื่น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คาดกันว่าโรคไลเคนพลานัสเกิดกับผู้คนทั่วโลกประมาณ 1-2% และพบได้มากในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยโรคไลเคนพลานัสที่ผิวหนังจะพบได้ในผู้ชายและผู้หญิงพอๆ กัน
แต่สำหรับโรคไลเคนพลานัสในช่องปากนั้นพบได้ในผู้หญิงมากที่สุด ส่วนการเกิดโรคขึ้นที่ปากจะเกิดขึ้นประมาณ 50% ของผู้ป่วยโรคไลเคนพลานัส
อาการของโรคไลเคนพลานัส
อาการของไลเคนพลานัสจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นอยู่กับบริเวณของร่างกายที่ติดโรค โดยพื้นที่ร่างกายที่มักได้รับผลกระทบจากไลเคนพลานัสมากที่สุด คือ ผิวหนัง ช่องปาก องคชาต อวัยวะเพศหญิงภายนอก และช่องคลอด
1. โรคไลเคนพลานัสบนผิวหนัง
- เกิดผื่นนูนสีแดงแกมม่วงปูดออกมาและมีส่วนบนแบน โดยปุ่มที่เกิดขึ้นมักมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และอาจมีร่างแหสีขาว (Wickham's striae) พาดอยู่ด้วย
- มีปื้นสะเก็ดที่มักเกิดขึ้นรอบข้อเท้า
- คันที่ผิวหนัง
- หลังจากที่ผื่นนูนหายไปแล้ว ผิวหนังที่เคยติดโรคอาจเกิดการเปลี่ยนสีได้
โรคไลเคนพลานัสที่ผิวหนังมักจะเกิดขึ้นรอบข้อเท้า ข้อมือ และแผ่นหลังส่วนล่าง แต่ในความเป็นจริงแล้วภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นตำแหน่งใดของร่างกายก็ได้
ส่วนโรคไลเคนพลานัสชนิดหนา (Hypertrophic) จะเกิดขึ้นบริเวณหน้าแข้ง และโรคไลเคนพลานัสรูปร่างคล้ายวงแหวนมักจะเกิดขึ้นบนรอยย่นของผิวหนัง เช่น บนรักแร้
2. โรคไลเคนพลานัสในช่องปาก
- มีลายสีขาวบนลิ้น และกระพุ้งแก้ม
- มีปื้นสีขาวและแดงในช่องปาก
- มีอาการแสบร้อนหรือไม่สบายในช่องปากขณะดื่มหรือรับประทานอาหาร
- เหงือกแดงและเจ็บปวด
กรณีที่มีไลเคนพลานัสในช่องปากไม่รุนแรงอาจไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายหรือเจ็บปวดใดๆ ก็ได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
3. โรคไลเคนพลานัสที่องคชาติ
- มีปื้นสีขาวหรือสีม่วงรูปวงแหวนบนปลายองคชาต
- มีผื่นนูนสีสดที่ยอดแบนเกิดขึ้น
- มีผื่นที่ไม่ก่อให้เกิดอาการคัน
4. โรคไลเคนพลานัสที่อวัยวะเพศภายนอก และช่องคลอดของผู้หญิง
- ปวดเมื่อย แสบร้อนรอบอวัยวะเพศ ภายนอกปกคลุมด้วยลายสีขาวที่อาจเป็นสีขาวซีด แดง หรือชมพู
- หากช่องคลอดติดโรคจะทำให้รู้สึกปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่
- หากชั้นผิวหนังภายนอกเสียหายหรือชื้นจะทำให้เกิดปื้นสีแดงขึ้น
- อาจเกิดรอยแผลเป็นจนทำให้รูปร่างของช่องคลอดเปลี่ยนไป มีของเสียเหนียวสีเขียวหรือเหลืองออกมา ซึ่งอาจมีเลือดปนด้วย และช่องเปิดของช่องคลอดตีบลง
5. โรคไลเคนพลานัสที่บริเวณอื่น
โรคไลเคนพลานัสสามารถเกิดกับบริเวณอื่นนอกเหนือจากข้างต้นได้ด้วย เช่น
- เล็บบาง หนาขึ้น ร่น หรือมีสีเข้มขึ้น บางทีอาจทำให้เล็บลอกหรือหยุดงอกได้
- เกิดปื้นสีแดงรอบกระจุกผม ในบางกรณีอาจทำให้เกิดภาวะผมร่วงถาวรได้
โรคไลเคนพลานัสชนิดกัดกร่อน
ไลเคนพลานัสชนิดกัดกร่อนเป็นไลเคนพลานัสชนิดที่หายาก และจะแสดงอาการนาน ภาวะเช่นนี้จะก่อให้เกิดแผลในช่องปาก และบริเวณอวัยวะเพศที่เจ็บปวด และสามารถเกิดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
ในบางกรณีไลเคนพลานัสชนิดกัดกร่อนที่เกิดขึ้นระยะยาวจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย
การวินิจฉัยโรคไลเคนพลานัส
แพทย์ หรือทันตแพทย์สามารถวินิจฉัยพบโรคไลเคนพลานัสได้จากการตรวจร่างกายบริเวณที่มีอาการของโรค และสอบถามอาการของคุณ สำหรับไลเคนพลานัสในช่องปากนั้นมักจะวินิจฉัยพบโดยทันตแพทย์ในระหว่างการตรวจฟัน
การรักษาโรคไลเคนพลานัส
ยังไม่มีวิธีรักษาโรคไลเคนพลานัสให้หายขาด มีเพียงการรักษาจัดการกับอาการของโรค และเพื่อทำให้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นเท่านั้น เช่น การใช้ครีม หรือขี้ผึ้งสเตียรอยด์ในการควบคุมอาการคัน และผื่น
ไลเคนพลานัสบนผิวหนังส่วนมากจะหายไปเองภายในเวลา 6-9 เดือน โดยผื่นมักจะอยู่ไม่นานไปกว่า 18 เดือน แต่สำหรับไลเคนพลานัสช่องปากกับไลเคนพลานัสที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศนั้นอาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปฏิกิริยาที่มีต่อยา
ปฏิกิริยาที่ร่างกายตอบสนองต่อยาบางประเภทอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไลเคนพลานัสขึ้นก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น
- การฉีดยา เป็นการใช้ยาปรับเปลี่ยนโรครูมาตอยด์ (DMARD) ที่เป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ เพื่อลดอาการอักเสบและบรรเทาความเจ็บปวดที่ข้อต่อ
- ยาต้านมาลาเรียชนิดเม็ด ยาที่ใช้ป้องกันโรคมาลาเรีย (โรคเขตร้อนที่มียุงเป็นพาหะนำโรค)
โรคไลเคนพลานัสที่ผิวหนัง
แพทย์จะวินิจฉัยโรคไลเคนพลานัสบนผิวหนังได้จากการสังเกตลักษณะของผื่น แต่กระนั้นภาวะไลเคนพลานัสก็อาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาวะผิวหนังอื่นๆ แทนได้ เช่นโรคผิวหนังอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะที่ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง แห้ง แตก และคัน
หากแพทย์ไม่มั่นใจกับการวินิจฉัยผิวหนัง อาจมีการเจาะตัวอย่างผิวหนังไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ด้วย โดยหากจำต้องมีการเก็บตัวอย่างผิวหนังไปตรวจ คุณจะได้รับยาชาเฉพาะที่ก่อนเพื่อทำให้คุณไม่รู้สึกเจ็บปวด ณ บริเวณที่ถูกดำเนินการ
โรคไลเคนพลานัสในช่องปาก
แพทย์หรือทันตแพทย์จะวินิจฉัยไลเคนพลานัสในช่องปากได้จากการสังเกตอาการภายในช่องปากของคุณ
นอกจากนี้ อาจมีการเจาะตรวจชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยก็ได้ ซึ่งจะเป็นการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อภายในปาก และส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เช่นเดียวกับกระบวนการตรวจไลเคนพลานัสบนผิวหนัง อีกทั้งต้องมีการใช้ยาชาเฉพาะที่เช่นเดียวกัน
การรักษาโรคไลเคนพลานัส
ยังไม่มีวิธีรักษาโรคไลเคนพลานัส มีเพียงการรักษาบรรเทาอาการต่าง ๆ และกำจัดผื่นเท่านั้น สำหรับไลเคนพลานัสที่ไม่รุนแรงก็ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาก็ได้
หลักการดูแลตนเอง
หลักปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยภาวะไลเคนพลานัส เพื่อบรรเทาและป้องกันการทรุดของโรค มีดังต่อไปนี้
1.โรคไลเคนพลานัสที่ผิวหนัง
- เลี่ยงการชำระล้างร่างกายด้วยสบู่หรือฟองอาบน้ำ แต่ให้ใช้น้ำอุ่นธรรมดาอาบแทน
- ป้องกันอย่าให้แชมพูสระผมโดนผิวหนังที่เป็นโรค
- ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง
2. โรคไลเคนพลานัสในช่องปาก
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเผ็ด หรือที่เป็นกรดสูงอย่าง เช่น น้ำผลไม้บางประเภท เนื่องจากกรดจะไปทำให้บริเวณที่เป็นโรคในช่องปากระคายเคืองขึ้นมา
- เลี่ยงการทานอาหารที่มีความคม อย่างเช่นขนมปังกรอบ
- เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- หากมีความเจ็บปวดในช่องปากจากภาวะไลเคนพลานัส พยายามทานอาหารเหลวหรืออ่อนอย่างเช่นมันฝรั่งบดหรือข้าวต้มแทน
- หากเป็นไปได้ให้ใช้ยาสีฟันที่คุณใช้เป็นประจำต่อไป
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม เพราะอาจจะแรงเกินไปสำหรับปากของคุณได้
- พยายามรักษาความสะอาดในช่องปากให้ดี
- ให้เข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพของฟันและเหงือก
3. โรคไลเคนพลานัสที่อวัยวะเพศ
- หลีกเลี่ยงการชำระล้างร่างกายด้วยสบู่ หรือฟองอาบน้ำให้ใช้น้ำอุ่นธรรมดา หรือสารที่ใช้แทนสบู่แทน
- ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นกับบริเวณอวัยวะเพศก่อน และหลังขับถ่าย
- ประคบเย็น ณ บริเวณที่เป็นโรคเพื่อลดอาการคันและบวม (ห้ามประคบน้ำแข็งกับผิวหนังโดยตรง ให้พันน้ำแข็งด้วยผ้าเช็ดตัวหรือถุงชาก่อน)
- สำหรับผู้หญิงไม่ควรสวมกางเกงที่คับแน่นเกินไป
4. โรคไลเคนพลานัสที่เล็บ ผม และผิวหนัง
มีการใช้ยา และการรักษามากมายที่แนะนำสำหรับจัดการกับโรคไลเคนพลานัสบนผิวหนัง เล็บ และผม ดังนี้:
ครีมและขีผึ้งคอร์ติโคสเตียรอยด์
ครีม และขี้ผึ้งคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นยาทาที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตียรอยด์ (ฮอร์โมนเทียม) และถูกใช้เพื่อการรักษาการอักเสบของภาวะผิวหนัง ซึ่งยาประเภทนี้มักจะถูกเรียกว่ายาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่จะช่วยลดการอักเสบ และอาการแดงของผิวหนังที่เกิดจากโรคไลเคนพลานัส ตัวอย่างยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่ชนิดแรงเช่น โคลเบทาโซล โพรพิโอเนต ซึ่งมีฤทธิ์บรรเทาอาการคันได้ดีมาก
การรักษาปุ่มแดง หรือม่วงควรจะหยุดทันทีที่ผื่นเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลหรือเทา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อการอักเสบลดน้อยลงมาก หากยังคงใช้ยาทาไปเรื่อย ๆ หลังจากนี้จะทำให้ผิวหนังบางลง
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์มีอยู่มากมาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยได้แก่ ประเภทและความรุนแรงของการรักษาที่ใช้ ระยะเวลาที่ดำเนินการรักษา ธรรมชาติของภาวะที่กำลังทำการรักษาอยู่
ผลข้างเคียงของคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่มีดังนี้
- ผิวหนังแดงหรือแสบร้อน
- ผื่นผิวหนัง
- ผิวหนังบาง
- ผิวแตกลาย
- โรคผื่นอักเสบสัมผัส:
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดเม็ด
ในบางกรณีแพทย์จะทำการจ่ายยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดเม็ดในการรักษาโรคไลเคนพลานัสรุนแรง หรือเมื่ออาการของโรคไม่ตอบสนองต่อครีมหรือขี้ผึ้งเท่าไรนัก
ผลข้างเคียงของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดเม็ดที่ใช้ในระยะสั้นมีดังนี้: ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น นอนไม่หลับ คั่งน้ำ (ไม่สามารถขับปัสสาวะได้ตามปกติ) อารมณ์เปลี่ยนแปลง อย่างเช่นรู้สึกฉุนเฉียวหรือวิตกกังวล
การรักษาวิธีอื่น
การรักษาโรคไลเคนพลานัสบนผิวหนังอื่น ๆ มีดังนี้:
- การใช้ยาต้านฮิสตามีน มักใช้รักษาอาการของภูมิแพ้ อย่างเช่นคันผิวหนัง ในกรณีที่คุณเป็นภาวะไลเคนพลานัสที่ผิวหนังที่ก่อให้เกิดอาการคัน ยาตัวนี้สามารถใช้เพื่อลดอาการดังกล่าวได้
- การรักษาด้วยแสง มีการรักษาด้วยแสงสองวิธีคือการใช้แสงอัลตราไวโอเล็ต B (UVB) และ Psoralen Plus Ultraviolet A (PUVA)
UVB มักจะเป็นวิธีรักษาด้วยแสงที่ใช้กันมากที่สุด แต่ PUVA จะนำมาใช้กับกรณีผู้ป่วยไลเคนพลานัสที่เป็นรุนแรง หรือลุกลามมากจนไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ - การใช้ยาอาซิเทรติน ยาตัวนี้จะจ่ายโดยผู้เชี่ยวชาญ และจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยไลเคนพลานัสที่เป็นรุนแรงเท่านั้น ยาเม็ดตัวนี้จะมีผลข้างเคียงหลายอย่างและอาจไม่เข้ากับยาตัวอื่น
5. โรคไลเคนพลานัสในช่องปาก
กรณีผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปากที่เป็นไม่รุนแรงก็ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงนั้นจะมีการรักษาดังนี้
- การใช้ยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาระงับประสาทเพื่อทำให้ช่องปากชาชั่วคราวจนทำให้รับประทานอาหารได้สะดวกขึ้น
- สเปรย์ น้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟัน หรือยาอมคอร์ติโคสเตียรอยด์
- เจล หรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อเพื่อช่วยป้องกันการสะสมของคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก
- ในกรณีผู้ป่วยไลเคนพลานัสรุนแรง อาจมีการใช้ยาเม็ดคอร์ติโคสเตียรอยด์ในระยะสั้น
6. การรักษาวิธีอื่น
หากการรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ไม่สามารถควบคุมอาการของคุณ แพทย์อาจทำการจ่ายยากดภูมิคุ้มกันแก่คุณเพื่อจำกัดปฏิกิริยาคุ้มกันอัตโนมัติของร่างกายที่คาดว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะไลเคนพลานัสแทน
การรักษาประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของร่างกายได้ได้รับผลกระทบจากโรคไลเคนพลานัส
การใช้ยาภายนอก (ยาที่ใช้รักษาไลเคนพลานัสที่ผิวหนัง): เช่นการใช้ขี้ผึ้งทาโครลิมัสและครีมพิเมโครลิมัสกับผิวหนังโดยตรง
การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน (ใช้รักษาไลเคนพลานัสในช่องปาก): ยาที่ใช้มักอยู่ในรูปของยาเม็ดหรือแคปซูล และสามารถใช้เพื่อรักษาไลเคนพลานัสในช่องปากที่เป็นรุนแรงได้
การรักษาเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงหลายอย่าง ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ชี้แจงคุณอีกที
คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจเลือดเป็นประจำหากต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในช่วงแรกของการรักษา
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไลเคนพลานัส
ภาวะไลเคนพลานัสก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่าง เช่น ผิวหนังเปลี่ยนสี และในบางกรณี การเป็นไลเคนพลานัสแบบกัดกร่อนก็อาจเปลี่ยนไปเป็นมะเร็งบางประเภทอีกด้วย
การเกิดสีคล้ำตามผิวหนัง
หลังจากที่คุณหายจากผื่นของภาวะไลเคนพลานัส ผิวหนังที่ติดโรคอาจมีสีที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งอาจเป็นสีน้ำตาลหรือเทาที่คงอยู่นานหลายเดือน ภาวะเช่นนี้เรียกว่า การเกิดจุดด่างดำหลังการอักเสบ และมักจะมองเห็นได้ชัดในผู้ที่มีสีผิวเข้มอยู่แล้ว
โรคไลเคนพลานัสชนิดกัดกร่อน ภาวะไลเคนพลานัสแบบกัดกร่อน คือ ภาวะไลเคนพลานัสประเภทหนึ่งที่มีอาการเรื้อรังระยะยาวและทำให้มีแผลเจ็บปวดขึ้น และก่อให้เกิดอาการแสบร้อน และไม่สบายบริเวณอวัยวะเพศ
บางกรณีหรือผู้ป่วยไลเคนพลานัสแบบกัดกร่อนประมาณ 2% จะประสบกับภาวะมะเร็งบางประเภท เช่น มะเร็งช่องปาก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งองคชาต
ซึ่งการตรวจร่างกายด้วยตัวเอง และการสังเกตหาความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะช่วยให้คุณสามารถพบปัญหาต่างๆ ได้เร็ว โดยการมองหาตำแหน่งที่เป็นแผลในช่องปาก หรือบนอวัยวะเพศที่เป็นมานาน หรือไม่ยอมหายเอง ซึ่งหากพบคุณต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
คุณควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่าฟัน และเหงือกของคุณมีสุขภาพดี และคอยสังเกตปื้นหรือแผลในช่องปาก หรือบนอวัยวะเพศตลอดเวลาและรีบทำการรักษาความผิดปรกติที่พบทันที สำหรับผู้ใหญ่ทั่วไปนั้น ควรเข้ารับการตรวจฟันทก ๆ 3-24 เดือนตามกรณีบุคคล
วิธีป้องกันโรคไลเคนพลานัส
การป้องกันโรคไลเคนพลานัสทำได้ยากมาก แต่ก็สามารถช่วยคงสภาพเยื่อบุช่องปากให้มีสุขภาพดีด้วยการปฏิบัติตนดังนี้
- เลิกสูบบุหรี่
- เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
- รับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และดีต่อสุขภาพ
- ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีอยู่เสมอ ด้วยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง
- ตรวจสภาพช่องปากกับทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อจัดการกับปัญหาฟันหรือปากให้เร็วที่สุด
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ีเป็นแผลคีลอยด์ที่ใบหน้าถ้าไปตัดออกแล้วยังจะมีโอกาศเป็นอีกไหมค่ะ