กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Dyshidrotic Eczema (ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrotic eczema) มักพบมากในผู้หญิง และจัดเป็นผื่นผิวหนังอักเสบที่พบได้มากเป็นอันดับที่ 3
  • ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดนี้มักขึ้นบริเวณมือและเท้า โดยจะมีขนาดเล็กคล้ายเม็ดสาคู มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส และจะมีอาการคันมาก หากเป็นผื่นรุนแรงจะมีอาการปวด หรือเจ็บร่วมด้วย
  • สาเหตุของผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ เช่น ความเครียด โรคภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ หรือภูมิแพ้อื่นๆ การล้างมือบ่อยเกินไป หรือการสัมผัสโลหะบางชนิด
  • การดูแลผิวด้วยมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ และรับประทานยาแก้แพ้ จะช่วยบรรเทาอาการได้
  • หากโรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นชนิดนี้ คุณควรไปตรวจภูมิแพ้เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ และหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrotic eczema) มักพบมากในผู้หญิง โดยจะมีอาการมากที่บริเวณมือ เท้า โดยเฉพาะนิ้วมือ ฝ่ามือ หรือฝ่าเท้า ผื่นตุ่มน้ำชนิดนี้มักมีอาการคันมาก 

ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำจัดอยู่ในกลุ่มผื่นผิวหนังอักเสบที่พบได้มากเป็นอันดับ 3 ในโรคกลุ่มผื่นผิวหนังอักเสบทั้งหมด และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประมาณครึ่งหนึ่งของคนที่เป็นผื่นตุ่มน้ำนี้ มักจะมีอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) ร่วมด้วย และผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำนี้อาจจะเป็นผลข้างเคียงของการได้รับยาอิมมูโนโกลบูลิน (Intravenous immumoglobulin: IVIG) จากการรักษาโรคภูมิคุ้มกันบางชนิดได้

อาการผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ

ลักษณะเฉพาะของตุ่มน้ำโรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ มีดังนี้

  • ตุ่มเล็ก คล้ายเม็ดสาคู
  • มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส
  • ตุ่มมักอยู่รวมกันเป็นกระจุก ตามง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือบริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือฝ่าเท้า
  • มีอาการคันมาก หรือบางครั้งก็เจ็บ

ตุ่มน้ำมักจะแห้งและลอกออกในระยะเวลา 3 สัปดาห์ ทำให้ผิวด้านล่างอาจจะมีขุย แดง แตก หรือรู้สึกเจ็บได้

สาเหตุของผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ

สาเหตุนั้นของผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำนั้นไม่แน่ชัด แต่อาจมีหลายปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการได้ โดยพบว่า ภาวะนี้อาจเกิดร่วมกับผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ หรือภูมิแพ้จมูกอักเสบตามฤดูกาล (Hay fever) 

ซึ่งอาการอาจจะเปลี่ยนแปลงตามฤดู หรือชนิดโรคภูมิแพ้ของผู้ป่วย และประมาณ 40% ของคนที่มีผื่นชนิดนี้มักจะมีเหงื่อออกมากผิดปกติที่มือหรือเท้าร่วมด้วย

ปัจจัยต่อไปนี้อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำได้มากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ความเครียด
  • โรคภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (Atopic dermatitis)
  • โรคภูมิแพ้อื่นๆ เช่น โรคภูมิแพ้จมูก
  • การล้างมือบ่อย หรือมือสัมผัสน้ำบ่อย
  • การสัมผัสโลหะบางชนิด ได้แก่ โครเมียม โคบอลล์ หรือ นิกเกิล
  • การได้รับยาอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำเพื่อรักษาโรคบางชนิด

การวินิจฉัยผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ

แพทย์มักสามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการตรวจโดยการดูลักษณะผื่นเป็นหลัก และไม่จำเป็นต้องมีการตรวจตัดชิ้นเนื้อ ยกเว้นในกรณีที่ต้องการแยกโรคสะเก็ดเงิน หรือการติดเชื้อราออกไป นอกจากนี้อาจมีการตรวจหาภูมิแพ้สัมผัสหากสงสัยว่ามีการแพ้สารบางชนิด

การดูแลผิวเมื่อมีผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ

ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ใช้มอยซ์เจอร์ไรเซอร์ทาที่มือและเท้า เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยจะเป็นในรูปแบบของเนื้อโลชั่น ครีม หรือขี้ผึ้งก็ได้ แต่ควรเลือกชนิดที่ปลอดน้ำหอม สี หรือ แอลกอฮอล์ 
  • หากคุณมีภูมิแพ้ร่วมด้วย การใช้ยาแก้แพ้ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้
  • ทายาสเตียรอยด์อ่อนๆ ประคบเย็น หรือใช้สารสกัดจากต้นวิทช์ฮาเซล (Witch hazel) เพื่อช่วยลดอาการคัน

การรักษาผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ

หากลองดูแลตัวเองด้วยวิธีที่บอกข้างต้นแล้วอาการผื่นยังไม่ดีขึ้นมาก คุณควรไปพบแพทย์ โดยแพทย์อาจสั่งยาทา เช่น ทาโครลิมัส (Tacrolimus) หรือพิเมโครลิมัส (Pimecrolimus) ที่จะช่วยลดการทำงานของภูมิคุ้มกัน

ถ้าเป็นผื่นรุนแรง แพทย์อาจให้ใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน น้ำมันดิน (Coal tar) หรือการรักษาด้วยแสงก็ได้

ผลกระทบจากผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ

ผู้ป่วยมักคันและเกาบริเวณที่มีผื่นตุ่มน้ำขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นหนาหรือแข็งขึ้นและรักษาได้ยากขึ้น เพราะการเกาบ่อยๆ จะทำให้ผิวหนังชั้นบนหลุดออก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ 

ในกรณีที่เป็นรุนแรงและปวดมากอาจทำให้มือและเท้าขยับได้น้อยลง ทั้งนี้การรักษาผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำนี้มักจะไม่หายขาด อาจจะเป็นๆ หายๆ ต่อเนื่องนานเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้

ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งความเครียด โรคภูมิแพ้ชนิดต่างๆ การสัมผัสน้ำบ่อยเกินไป หรือการสัมผัสโลหะบางชนิด การรักษาสุขภาพผิวเป็นประจำด้วยการทามอยซ์เจอร์ไรเซอร์ และรับประทานยาแก้แพ้เมื่อเกิดอาการ จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำรุนแรง และปวดมาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, Pompholyx (dyshidrotic eczema) (https://www.nhs.uk/conditions/pompholyx/)
Rachel Nall, MSN, CRNA, What is dyshidrotic eczema? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320831.php), February 5, 2018
webmd.com, Dyshidrotic Eczema and Itchy Blisters (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/eczema/dyshidrotic-eczema#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อาการผิวหนังอักเสบ จนเป็นแผล เป็นอาการของโรคไตรึเปล่าครับ?
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ผิวอักเสบเรื้อรัง(เป็นมา7ปี)รักษาต่อเนื่องมัโอกาสหายใน1ปีมั่ย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการของผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบว่าต้องทำยังไงถึงจะหาย ขนาดกินยาแก้คันตัวสเตียรอยด์ ยังไม่หายคันเลยค่ะ คันจากใต้ผิวหนัง เกาจนเป็นรอยเล็บทั่วตัว แถมตื่นมาเกาคืนละชมสองชม อีก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นผื่นแดงตามผิดหนังอยากทราบว่าแพ้อะไรค่ะจะทำยังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ผิวบริเวณแขนมีผื่นขึ้นคะคันและเวลาจับไปแล้วจะสากๆ เป็นมาหลายอาทิตย์แล้วคะพยายามหาครีมมาทาแก้ผื่นแต่ก็ไม่หายคะ ไม่รู้ว่าแพ้อะไรมา จำเป็นต้องไปหาหมอไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)