ประคบร้อน ประคบเย็น ต่างกันอย่างไร

ประคบร้อนหรือเย็น แตกต่างกันอย่างไร? วิธีเลือกการประคบเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บอย่างถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 16 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประคบร้อน ประคบเย็น ต่างกันอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การประคบร้อนและประคบเย็น เป็นวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บ อาการปวด หรืออักเสบที่อาจเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวัน
  • การประคบร้อน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ลดอาการบาดเจ็บ ปวดเกร็งตามกล้ามเนื้อ และเพิ่มความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ
  • การประคบเย็น ช่วยให้เส้นเลือดหดตัวและเลือดออกน้อยลง ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดบวมจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด หรือเลือดกำเดาไหล
  • วิธีประคบร้อน ให้เริ่มใช้หลังจากอาการผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมง ประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 3 ครั้ง ส่วนวิธีประคบเย็น ให้ใช้เจลประคบเย็นสำเร็จรูป หรือถุงผ้าห่อน้ำแข็ง ประคบบริเวณที่มีอาการปวด บวม แดง
  • การประคบร้อนและประคบเย็น เป็นวิธีปฐมพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ หากเลือกใช้รักษาอาการอย่างถูกต้อง แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

การประคบร้อนและประคบเย็น เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บ อาการปวด หรืออักเสบที่อาจเกิดขึ้นได้จากกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวัน ไม่ว่าจะเป็น พิษไข้ หรือการบาดเจ็บในระหว่างที่เล่นกีฬา 

ผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจสงสัยว่า ระหว่างประคบร้อน และประคบเย็น จะสามารถตัดสินได้อย่างไรว่า ควรใช้วิธีไหน วันนี้ เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับการประคบทั้ง 2 วิธีมาฝากกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความแตกต่างระหว่างการประคบร้อนและประคบเย็น

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การประคบร้อนและประคบเย็นนั้น เป็นการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ในเบื้องต้น แต่คุณสมบัติในการช่วยเหลือของการประคบทั้ง 2 วิธีจะต่างกัน ดังนี้

  • การประคบร้อน จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น เพราะความร้อนทำให้หลอดเลือดขยายตัว ช่วยลดอาการบาดเจ็บ ปวดเกร็งตามกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลายได้ดีขึ้น เช่น ปวดตึงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า หลัง น่อง หรือปวดประจำเดือน

  • การประคบเย็น คือการบรรเทาอาการปวดบวมที่เกิดจากอาการบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ หรือเพิ่งมีอาการใหม่ๆ เพราะความเย็นจะช่วยให้เส้นเลือดหดตัว และเลือดออกน้อยลง

    หากมีอาการปวด หรือได้รับบาดเจ็บควรประคบด้วยน้ำแข็ง หรือน้ำเย็นทันที (ภายใน 24-48 ชั่วโมง) โดยให้ประคบนาน 20-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง

วิธีการเลือกระหว่างประคบร้อนและประคบเย็น

  • หากมีอาการปวด อักเสบบริเวณกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า และต้องไม่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรใช้วิธีประคบร้อน 
  • หากมีอาการบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน เช่น ข้อเท้าแพลง ซึ่งอาจมีอาการปวด และบวมแดง ให้ใช้วิธีประคบเย็น

วิธีประคบร้อนที่ถูกต้อง

การประคบร้อนจะเริ่มใช้หลังจากมีอาการผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมง ให้ประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง อย่าให้นานเกินกว่านั้น เพราะอาจทำให้ผิวหนังพองแดงจากความร้อน

อุปกรณ์ที่ใช้อาจเป็นกระเป๋าน้ำร้อน ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน ในอุณหภูมิไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส  และไม่ควรประคบด้วยความร้อนที่มากเกินไป หรือนานเกินไป 

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ต้องไม่ประคบในบริเวณที่มีบาดแผล หรือมีเลือดไหล และหากมีอาการบวมแดง ก็ไม่ควรประคบร้อนเช่นกัน โดยควรวางอุปกรณ์การประคบร้อนในบริเวณที่เกิดอาการบาดเจ็บ หรือปวดเมื่อย 

วิธีประคบเย็นที่ถูกต้อง

อุปกรณ์การประคบเย็น อาจจะใช้เจลประคบเย็นแบบสำเร็จรูป หรือใช้ถุงผ้าห่อน้ำแข็งก็ได้ โดยใช้ถุงพลาสติกห่อน้ำแข็ง และผสมน้ำเปล่าธรรมดาลงไปในถุงอย่างพอดี ให้รู้สึกว่า ไม่เย็นมากจนเกินไป ก่อนนำมาประคบตรงบริเวณที่มีอาการปวด บวม แดง

หากเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือบริเวณเท้า อาจใช้วิธีแช่อวัยวะดังกล่าวลงไปในถังน้ำเย็นแทน โดยจะใช้ระยะเวลาการแช่ประมาณ 15-20 นาที

การประคบร้อนและประคบเย็น เป็นวิธีปฐมพยาบาลที่มีประสิทธิภาพหากใช้ตรงกับอาการ ดังนั้น ก่อนเลือกวิธีการประคบ ให้ดูอาการบาดเจ็บของตนเองให้ดีเสียก่อน เพื่อจะได้บรรเทาอาการปวดบวมต่างๆ ได้เร็วขึ้น

แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกวิธี

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อ.ดร.ประเสริฐ สกุลศรีประเสริฐ ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล, ประคบร้อน ประคบเย็น อาการแบบไหนประคบแบบใด (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/old/index.php/knowforhealth-20140818-2/)
มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา. คู่มือตู้ยาโรงเรียนและแนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา; พ.ศ. 2553

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป