โครเมียม (Chromium) คือ แร่ธาตุที่พบได้น้อยแต่จำเป็นต่อสุขภาพ มีอยู่ 2 รูปแบบคือ
- ไตรวาเลนต์โครเมียม (Trivalent chromium) พบได้ในอาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือที่เรียกกันว่า "อาหารเสริม" มีความปลอดภัยต่อร่างกายมนุษย์
- เฮกซ์ซาวาเลนต์โครเมียม (Hexavalent chromium) เป็นชนิดแร่ธาตุที่เป็นพิษที่ทำให้เกิดปัญหาผิวหนัง และก่อให้เกิดมะเร็งปอด
การรับประทานโครเมียมใช้เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยก่อนเบาหวานประเภทที่ 1 และ 2 กับผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากการรักษาการติดเชื้อเอชไอวีและการใช้ยาสเตียรอยด์
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
นอกจากนี้โครเมียมยังใช้รักษาโรค และภาวะอื่นๆ ได้อีก เช่น
- ภาวะซึมเศร้า (Depression)
- โรคเทอร์เนอร์ (Turner's syndrome)
- โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome (PCOS))
- ลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี
- เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ดีในผู้ที่กำลังใช้ยารักษาหัวใจ (Beta blockers)
- โรคอ้วน
- โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)
- โรคหัวใจวาย
- โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder)
- โรคกินไม่หยุด (Binge eating disorder)
- ภาวะน้ำตาลต่ำหลังรับประทานอาหาร (Reactive hypoglycemia)
นักกีฬา หรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักบางคนยังรับประทานโครเมียมเพื่อการลดน้ำหนัก เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และลดไขมันในร่างกายด้วย อีกทั้งสามารถใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเล่นกีฬา เพิ่มระดับพลังงาน และป้องกันการเสื่อมสภาพในการทำงานของจิตเนื่องจากอายุได้อีกด้วย
นอกจากนี้มีการรับทางกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นอาหารเสริมระหว่างการหยดสารอาหารทางเส้นเลือด
ประโยชน์ของโครเมียม
โครเมียมจะช่วยคงสภาพระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติด้วยการปรับวิธีที่ร่างกายใช้อินซูลิน
ภาวะที่อาจใช้โครเมียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. โรคเบาหวาน (Diabetes)
การรับประทาน "โครเมียมไพโคลิเนต (Chromium picolinate)" หรือสารประกอบเคมีที่มีโครเมียม ทั้งแบบเดี่ยว หรือร่วมกับไบโอติน (Biotin) สามารถลดน้ำตาลในเลือด ลดระดับอินซูลิน และช่วยการทำงานของอินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
อีกทั้งโครเมียมไพโคลิเนตอาจลดการสะสมไขมัน และน้ำหนักของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวที่กำลังใช้ยาต้านโรคเบาหวานกลุ่มที่เรียกว่า "ซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas)" ด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
2. ระดับคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูง
การรับประทาน 15-200 ไมโครกรัม ทุกวันเป็นเวลา 6-12 สัปดาห์จะช่วยลดไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือเรียกว่า "ไขมันเลว" และระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมที่สูงกว่าปกติเล็กน้อยได้
ผลข้างเคียงของโครเมียม และหลักการใช้โครเมียมให้ปลอดภัย
สำหรับผู้ใหญ่ส่วนมากสามารถใช้โครเมียมได้อย่างปลอดภัย หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมและระยะสั้นๆ โดยคุณสามารถรับประทานโครเมียมได้ 1,000 ไมโครกรัม/วัน นานถึง 6 เดือน แต่การได้รับโครเมียมในขนาดที่มากกว่า 1,200-2,400 ไมโครกรัม/วัน อาจส่งผลต่อไตได้
การรับประทานโครเมียมระยะยาวกว่านั้นนับว่าอาจจะปลอดภัย โดยมีข้อมูลถึงการใช้โครเมียม 200-1,000 ไมโครกรัม ทุกวัน นาน 2 ปี
มีผู้ใช้บางรายที่ประสบผลข้างเคียง เช่น ระคายเคืองผิวหนัง ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อารมณ์เปลี่ยนแปลง และวิธีการคิด การตัดสินใจ และการประสานงานของอวัยวะลดลง
ส่วนการใช้โครเมียมในปริมาณมากอาจส่งผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างภาวะผิดปกติของเลือด ความเสียหายที่ตับหรือไต และปัญหาอื่นๆ แต่ยังไม่ชัดเจนว่า ผลข้างเคียงเหล่านี้เป็นสาเหตุมาจากโครเมียมจริงหรือไม่
คำเตือน และข้อควรระวังเป็นพิเศษ
1. เด็ก
เด็กสามารถรับประทานโครเมียมได้อย่างปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และไม่เกินปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งได้แก่
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- สำหรับทารกอายุ 0-6 เดือน = 0.2 ไมโครกรัม
- สำหรับอายุ 7-12 เดือน = 5.5 ไมโครกรัม
- สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี = 11 ไมโครกรัม
- สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี = 15 ไมโครกรัม
- สำหรับเด็กผู้ชายอายุ 9-13 ปี = 25 ไมโครกรัม
- สำหรับเด็กผู้ชายอายุ 14-18 ปี = 35 ไมโครกรัม
- สำหรับเด็กผู้หญิงอายุ 9-13 ปี = 21 ไมโครกรัม
- สำหรับเด็กอายุ 14-18 ปี = 24 ไมโครกรัม
2. สตรีมีครรภ์
คนกลุ่มนี้สามารถใช้โครเมียมได้อย่างค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่ไม่เกินกว่าปริมาณที่แนะนำต่อเดือน
- สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 14-18 ปี คือ 29 ไมโครกรัมต่อวัน
- สำหรับหญิงตั้งครรภ์อายุ 19-50 ปี คือ 30 ไมโครกรัมต่อวัน
การรับประทานโครเมียมระหว่างการตั้งครรภ์มากเกินกว่าระดับที่แนะนำยังคงนับว่าอาจจะปลอดภัยอยู่ อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ทุกคนไม่ควรรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้ระหว่างตั้งครรภ์โดยไม่มีแพทย์ให้คำแนะนำ
3. แม่ที่ต้องให้นมบุตร
คนกลุ่มนี้สามารถรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้ได้อย่างค่อนข้างปลอดภัยเมื่อบริโภคในปริมาณที่เท่ากับ หรือน้อยกว่าปริมาณสารอาหารที่พอเพียงในแต่ละวัน
- สำหรับผู้หญิงอายุ 14-18 ปีที่ต้องให้นมบุตร คือ 44 ไมโครกรัม/วัน
- สำหรับผู้หญิงอายุ 19-50 ปีที่ต้องให้นมบุตร คือ 45 ไมโครกรัม/วัน
ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยเมื่อบริโภคเกินกว่าปริมาณที่กำหนดของคนกลุ่มนี้ ดังนั้นจึงควรเลี่ยงการบริโภคเกินปริมาณหรือเลี่ยงการรับประทานโครเมียมไปจะดีที่สุด
4. ผู้เข้ารับการผ่าตัด
การใช้ยา 5-HTP ส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน โดยยาบางตัวที่ใช้ระหว่างการผ่าตัดก็ส่งผลต่อสารเซโรโทนินเช่นกัน
ดังนั้นการใช้ยา 5-HTP ก่อนการผ่าตัดอาจทำให้สมองมีเซโรโทนินมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลข้างเคียงอย่างปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หนาวสั่น และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นควรแจ้งคนไข้ให้หยุดการใช้ยา 5-HTP เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
5. ผู้มีภาวะทางจิตหรือพฤติกรรมอย่างภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล หรือจิตเภท
อาหารเสริมชนิดนี้อาจส่งผลต่อสารเคมีในสมอง และอาจทำให้อาการทางจิตทรุดลงได้ หากคุณป่วยด้วยภาวะเหล่านี้ควรใช้ด้วยความระมัดระวั งและสังเกตความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ตนเองรู้สึก
6. ผู้เป็นภูมิแพ้
โครเมียมอาจส่งผลต่อสารเคมีในสมอง และอาจทำให้เกิดการแพ้ รวมถึงผู้ที่แพ้สารโครเมท ซึ่งเป็นที่ใช้ฟอกหนัง โดยอาการของภาวะแพ้ประเภทนี้ คือ ผิวแดง บวม และหลุดลอก
7. ผู้เป็นเบาหวาน
โครเมียมอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดลงจนต่ำเกินไปได้ หากรับประทานร่วมกับยารักษาเบาหวาน ควรใช้อาหารเสริมชนิดนี้ด้วยความระมัดระวัง และสังเกตระดับกลูโคสในเลือดอย่างใกล้ชิด และอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนขนาดยาเบาหวานตามความจำเป็น
8. ผู้เป็นโรคไต
มีรายงานอย่างน้อย 3 ชิ้นที่กล่าวว่าคนไข้มีความเสียหายที่ไตจากการใช้โครเมียมไพลิโคเนต ดังนั้นหากคุณป่วยเป็นโรคไตไม่ควรรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้
9. ผู้เป็นโรคตับ
มีรายงานอย่างน้อย 3 ชิ้นที่กล่าวว่าคนไข้มีความเสียหายที่ตับจากการใช้โครเมียมไพลิโคเนต ดังนั้นหากคุณป่วยเป็นโรคตับไม่ควรรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้
การใช้โครเมียมร่วมกับยาชนิดอื่น
ควรใช้โครเมียมร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
- อินซูลิน (Insulin)
โครเมียมอาจลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนอินซูลินเองก็ใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดเช่นกัน ดังนั้นการใช้ทั้งอินซูลินและโครเมียมอาจทำให้น้ำตาลในเลือดของคุณตกลงจนต่ำเกินไป
หากจำเป็นต้องใช้ทั้ง 2 ตัวนี้ ควรสังเกตระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองอย่างใกล้ชิด และต้องปรับเปลี่ยนปริมาณอินซูลินที่ใช้ตามความจำเป็น - ยาเลโวไทรอกซีน (Levothyroxine (Synthroid))
การรับประทานโครเมียมร่วมกับยาเลโวไทรอกซีนอาจลดปริมาณยาเลโวไทรอกซีนที่ร่างกายควรดูดซึมเข้าไป ซึ่งจะทำให้ยามีฤทธิ์อ่อนลง เพื่อเลี่ยงการตีกันของยาเช่นนี้ ควรรับประทานยาเลโวไทรอกซีนก่อน หรือหลังจากรับประทานโครเมียม 3-4 ชั่วโมง - ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
ยาต้านอักเสบกลุ่ม NSAID ใช้เพื่อลดอาการบวมและเจ็บปวด โดย NSAID อาจเพิ่มระดับโครเมียมในร่างกายขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงอื่นๆ ที่จะตามมา ควรเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริมโครเมียมกับ NSAID พร้อมกัน
โดยตัวอย่างยา NSAID คือ Ibuprofen (Advil, Motrin, Nuprin, others), Indomethacin (Indocin), Naproxen (Aleve, Anaprox, Naprelan, Naprosyn), Piroxicam (Feldene), Aspirin
ปริมาณการใช้โครเมียมที่เหมาะสม
สำหรับคนวัยต่างๆ หรือมีโรคประจำตัว ควรรับโครเมียมในปริมาณต่อไปนี้
ผู้ใหญ่
1. กลุ่มคนทั่วไป
ความปลอดภัย และระดับปริมาณอาหารสูงสุดของโครเมียมยังคงไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม มีการระบุระดับปริมาณบริโภคในแต่ละวันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่
- ผู้ชายอายุ 14-50 ปี อยู่ที่ 35 ไมโครกรัม
- ผู้ชายอายุ 51 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 30 ไมโครกรัม
- ผู้หญิงอายุ 19-50 ปี อยู่ที่ 25 ไมโครกรัม
- ผู้หญิงอายุ 51 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 20 ไมโครกรัม
- สตรีที่อายุ 14-18 ปีและตั้งครรภ์ อยู่ที่ 29 ไมโครกรัม
- สตรีที่อายุ 19-50 ปีและตั้งครรภ์ อยู่ที่ 30 ไมโครกรัม
- ผู้หญิงอายุ 14-18 ปีที่ต้องให้นมบุตร อยู่ที่ 44 ไมโครกรัม
- ผู้หญิงอายุ 19-50 ปีที่ต้องให้นมบุตร อยู่ที่ 45 ไมโครกรัม
2. เบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรรับประทานโครเมียมต่อวันทั้งแบบเดี่ยว หรือแบ่งโดสให้เป็น 200-1,000 ไมโครกรัม อีกทั้งบางผลิตภัณฑ์อาจมีการรวมโครเมียม 600 ไมโครกรัม กับไบโอติน 2 มิลลิกรัม (Diachrome by Nutrition 21) เป็นเวลา 3 เดือน
นอกจากนั้นยังมีบางตัวที่รวมโครเมียม 1,000 ไมโครกรัม (ด้วยยีสตร์โครเมียม) เข้ากับวิตามินซีและวิตามินอี ที่ 1,000 มิลลิกรัม และ 800 IU นาน 6 เดือน ผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes) ก็แนะนำให้มีการใช้โครเมียมไพโคลิเนต 4-8 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ทุกวัน
ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ควรให้โครเมียม 400 ไมโครกรัม 1 ครั้ง/วัน หรือ 200 ไมโครกรัม 3 ครั้ง/วัน
3. ผู้ใหญ่ที่มีคอเลสเตอรอลสูง
สามารถบริโภคโครเมียมคลอไรด์ หรือโครเมียมไพโคลิเนต 50-250 ไมโครกรัม หรือ Brewer's yeast ที่ประกอบด้วยโครเมียม 15-48 ไมโครกรัม ใช้เป็นเวลา 5-7 วัน/สัปดาห์ นาน 16 เดือน
ส่วนโครเมียมโพลิโคทิเนต 100 ไมโครกรัม ให้รับประทานร่วมกับสารสกัดจากเมล็ดองุ่นสามารถใช้ได้ 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลานาน 2 เดือน
หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ประกอบด้วยไคโตซาน (Chitosan) 240 มิลลิกรัม หรือสารสกัดจากส้มแขก (Garcinia cambogia) 55 มิลลิกรัม และโครเมียมอีก 19 มิลลิกรัม ที่จัดให้รับประทานทุกวันนาน 4 สัปดาห์
4. เด็ก
- ทั่วไป ความปลอดภัย และระดับปริมาณอาหารสูงสุดของโครเมียมยังคงไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม มีการระบุระดับปริมาณบริโภคในแต่ละวันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- ทารกอายุ 0-6 เดือน ให้รับประทาน 0.2 ไมโครกรัม
- ทารก 7-12 เดือน ให้รับประทาน 5.5 ไมโครกรัม
- เด็กอายุ 1-3 ปี ให้รับประทาน 11 ไมโครกรัม
- เด็กอายุ 4-8 ปี อยู่ที่ 15 ไมโครกรัม
- เด็กชายอายุ 9-13 ปี อยู่ที่ 25 ไมโครกรัม
- เด็กชาย อายุ 14-18 ปี อยู่ที่ 35 ไมโครกรัม
- เด็กหญิงอายุ 9-13 ปี อยู่ที่ 21 ไมโครกรัม
- เด็กหญิงอายุ 14-18 ปี อยู่ที่ 24 ไมโครกรัม
- เด็กที่มีคอเลสเตอรอลสูง สามารถบริโภคโครเมียมโพลิโคเนตกับกลูโคแมนแนน (Glucomannan) ที่ 400-600 ไมโครกรัม กับ 1,000-1,500 มิลลิกรัม ตามลำดับ ควรใช้ 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลานาน 8 สัปดาห์
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android