กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Bipolar (โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์)

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

ภาวะนี้มีลักษณะคืออารมณ์ที่มีความสุขมากเกิน หรือโศกเศร้ามากเกินกว่าปกติ ซึ่งพบว่าพบโรคนี้ในชาวอเมริกันมากกว่าห้าแสนคน

โรคอารมณ์สองขั้วเป็นโรคสุขภาพทางใจอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้คน ๆ หนึ่งมีอารมณ์แปรปรวนไปมาอย่างสุดโต่ง ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วอาจมีช่วงที่รู้สึกมีความสุขอิ่มเอิบมากเกินปกติ (manic episodes หรือ mania) และช่วงที่เศร้าดำดิ่งมากที่สุดก็จะมีอาการคล้ายกับโรคซึมเศร้า การแปรปรวนของอารมณ์นี้รุนแรงกว่าการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ไปมาในผู้คนปกติ และการแปรปรวนของอารมณ์นี้ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงาน

ความชุกของโรคอารมณ์สองขั้ว

สถาบันส่งเสริมสุขภาพจิตแห่งชาติ (National Institute of Mental Health (NIMH)) ได้ประมาณไว้ว่าราว ๆ ร้อยละ 2.6 ของประชาชนชาวอเมริกา หรือประมาณ 600,000 คน จะมีโรคอารมณ์สองขั้วอยู่ และจากข้อมูลของ NIMH พบว่ามีมากกว่าร้อยละ 80 ที่ถูกจัดว่ามีอาการรุนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือเพียง จิตอารมณ์คลุ้มคลั่งและซึมเศร้า (Manic Depression) ?

คุณอาจเคยได้ยินชื่อ “จิตอารมณ์คลุ้มคลั่งและซึมเศร้า (Manic depression)” ที่ใช้อธิบายถึงโรคสุขภาพทางใจที่มีอาการคล้ายกับโรคอารมณ์สองขั้ว ความจริงแล้วโรคอารมณ์สองขั้วเคยถูกเรียกว่า จิตอารมณ์คลุ้มคลั่งและซึมเศร้า (Manic depression) จนกระทั่งช่วงปี คศ.1980 ในสมัยนั้นจิตแพทย์ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อของโรคนี้ในคู่มือการวินิจฉัย และสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) - แนวทางที่ช่วยจิตแพทย์ในการวินิจฉัยโรค เนื่องจากคำว่า “โรคอารมณ์สองขั้ว” ดูจะบรรยายถึงภาวะและอาการได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องที่ชื่อเก่านั้นเป็นการตราหน้าอย่างหนึ่ง และ ทั้งมาเนีย และ ซึมเศร้า ต่างเป็นคำที่ใช้บรรยายถึงความรู้สึกและอารมณ์ในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุนี้ โรคอารมณ์สองขั้วจึงเป็นชื่อที่ใช้เรียก และการวินิจฉัยสำหรับแพทย์ในปัจจุบัน

สาเหตุของโรคอารมณ์สองขั้ว

นักวิจัยยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของโรคอารมณ์สองขั้ว แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โครงสร้างของสมอง และการทำงานของสมอง จากงานวิจัยใหม่ ๆ ได้เสนอว่าโรคอารมณ์สองขั้วนั้นมีโอกาสจะส่งทอดในครอบครัวได้ และในคนที่มีการกลายพันธุ์ของยีน (Genes mutation) โดยเฉพาะยีน ODZ4, NCAN และ CACNA1C จะมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคอารมณ์สองขั้วได้มากขึ้น และยิ่งพบว่าปัจจัยทางพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมต่างเป็นสาเหตุของโรคอารมณ์สองขั้วได้
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในกลุ่มแฝดเหมือน พบว่าเป็นการยากที่แฝดทั้งสองคนจะเกิดโรคอารมณ์สองขั้วได้เหมือนกัน แม้ว่าจะมีการกลายพันธุ์ของยีนเหมือนกันก็ตาม อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยพบว่าหากคุณมีพ่อแม่ หรือพี่น้องเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว คุณก็มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคนี้ได้ในภายหลัง แต่การที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว ไม่ได้แปลว่าคุณจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว กลับพบว่าในชีวิตจริงแล้ว คนที่มีประวัติโรคอารมณ์สองขั้วในครอบครัว ส่วนใหญ่แล้วไม่พบว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว

มีการศึกษาที่ใช้อุปกรณ์แสกนภาพสมอง ได้แก่ การทำเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (functional magnetic resonance imaging (fMRI)) และ การตรวจเอกซ์เรย์ด้วยโพสิตรอน (positron emission tomography (PET)) ต่างถูกใช้เพื่อที่จะพยายามเปิดเผยถึงความแตกต่างของสมองในคนปกติ และคนที่ป่วยด้วยโรคอารมณ์สองขั้วนี้ หรือ โรคทางจิตเวชอื่น ๆ มีการศึกษา MRI ชิ้นหนึ่งพบว่า สมองของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว มีส่วนของสมองส่วนหน้าสุด (Prefrontal cortex) เล็กกว่า และไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าในของคนปกติที่ไม่ได้เป็นโรค ซึ่งสมองส่วนหน้าสุด (Prefrontal cortex) นี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านการจัดการ (Executive function) เช่น การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ

  • ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอารมณ์สองขั้วได้แก่
  • ระยะเวลาที่อยู่ภายใต้ความเครียดอย่างมาก
  • ยาเสพติด หรือการใช้แอลกอฮอล์
  • มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิต
  • เหตุการณ์ร้ายแรง

นอกจากนี้คนที่เคยมีประวัติโรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น วิตกกังวล สมาธิสั้น หรือ โรคเครียดจากเหตุกาาณ์ร้ายแรง มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอารมณ์สองขั้ว แต่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างโรคต่าง ๆ นี้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาอยู่

ชนิดของโรคอารมณ์สองขั้ว

โรคอารมณ์สองขั้วมีหลายชนิด ซึ่งแยกความแตกต่างกันที่อาการและความรุนแรง แพทย์จะให้การวินิจฉัยโรคขึ้นอยู่กับ ระยะเวลา ความถี่ และลักษณะของอาการมาเนียและ ซึมเศร้าของคุณ

ชนิดของโรคอารมณ์สองขั้วมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Bipolar I เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วชนิด Bipolar I จะมีอาการมาเนีย หรือ มีอาการทั้งมาเนียและซึมเศร้า อย่างน้อยหนึ่งครั้ง และ อาการของโรคซึมเศร้าอย่างน้อยหนึ่งครั้ง Episodes คือช่วงที่ผู้ป่วยมีการแสดงอาการทุกวันอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ ผู้ป่วยชนิด Bipolar I จะมีอาการมาเนียที่รุนแรงกว่ามาก

Bipolar II โรคอารมณ์สองขั้วชนิดนี้มักได้รับการวินิจฉัยหลังจากผู้ป่วยมีอาการของโรคซึมเศร้าแล้ว อย่างน้อยหนึ่งครั้ง ร่วมกับอาการของมาเนียอย่างอ่อน (hypomania - ความรุนแรงน้อยกว่า) อย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยมีช่วงที่อารมณ์ปกติคั่นอยู่ระหว่าง 2 episodes นี้ อารมณ์ครื้นเครงใน Bipolar II จะไม่มากเท่า Bipolar I และที่สำคัญที่ต้องแยกความแตกต่างคือภาวะนี้ไม่ใช่ Bipolar I ชนิดอ่อน อย่างไรก็ตาม Bipolar II มักได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดว่าเป็นโรคซึมเศร้าเนื่องจากอาการมาเนียอย่างอ่อนของผู้ป่วยได้ถูกมองข้ามไป Cyclothymia เป็นโรคอารมณ์สองขั้วชนิดอ่อน อีกชื่อคือ Cyclothymic disorder ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการมาเนียและซึมเศร้าที่รุนแรงน้อยกว่า

การคบกับผู้ที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (ไบโพลาร์)

ฉันกำลังออกเดทกับคนที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (ไบโพลาร์) อยู่ในปัจจุบัน เขาเป็นคนซื่อสัตย์มาตั้งแต่แรกเกี่ยวกับทุกเรื่อง และนี่มีความหมายกับฉันมาก แต่ฉันกำลังนึกว่าฉันจะยอมรับเขาได้อย่างไรและยอมรับเรื่องโรคของเขา ที่ฉันควรสนับสนุนเขาและแคร์เขา มีใครพอมีเคล็ดลับบ้างไหมคะ - คำถามจากทางบ้าน

คำแนะนำจากผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์คล้ายๆกัน

  • ตอบตัวเองก่อนว่าคุณรักเขาหรือไม่ ถ้าใช่ - นั่นคือทุกอย่าง ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องทำรักที่เขาเป็นโรคไบโพลาร์ได้ อาจจะมีหลายๆ ครั้งที่คุณเกลียดมัน แต่เขาก็คือเขา เพราะเขาเป็นไบโพลาร์ นั่นคือเหตุผลที่เขาเป็นคนแบบนี้
  • เรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ต่อไปเรื่อยๆ และคอยเป็นแรงสนับสนุน
  • ถ้าคุณต้องการเห็นเขามีความสุขและความสัมพันธ์ระหว่างคุณสองคนพัฒนาขึ้น คุณต้องพยายามทำให้เขาได้เข้าใจว่า คุณตั้งใจเลือกที่จะอยู่กับเขาด้วยสติที่ครบถ้วนและเข้าใจถึงความทุกข์ของเขา และสิ่งดี ๆ ที่เขามอบให้แก่ชีวิตคุณนั้น เยอะกว่าอาการป่วยของเขา ตอนที่ภรรยาผมทำแบบนี้กับผม มันได้เปลี่ยนทุกอย่าง
  • เมื่อคุณเห็นความก้าวหน้า ชื่นชมเขา พอเขามีชัยชนะ ฉลองไปกับเขา ภาพลักษณ์ส่วนตัวเป็นเรื่องที่ใหญ่สำหรับผู้ป่วยไบโพลาร์ มากกว่าที่เราจะสามารถยอมรับได้แบบคนปกติ และคนที่รักการอยู่ร่วมกับคนอื่นจะทำให้พวกเขารู้สึกดี
  • นั่งลงและพูดคุยกับเขาในเวลาที่เขาดูปกติที่สุด และสร้างคำหรือวลีไว้เตือนเขา ความจำเป็นหนึ่งอย่างสำหรับอาการคลุ้มคลั่งและอีกอย่างสำหรับภาวะซึมเศร้า คนรักของพวกเราสามารถเห็นคำเตือนเหล่านี้ก่อนที่เราจะเห็น ในทางนี้ถ้าเขาเกิดคุ้มคลั่ง คุณสามารถเอ่ยคำหรือวลีที่ได้ตกลงกันกับเขาในอารมณ์ที่เปี่ยมรัก และนี่จะมีโอกาสมาก ๆ ที่จะตกอยู่ในภาวะมองไม่เห็นชั่วคราวเหมือนอยู่ในหมอก ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในทันที หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมประจำวัน ฯลฯ ถ้ามันไม่ได้รุนแรงมาก หรือพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถเป็นวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นวิธีที่เป็นรูปธรรมที่คุณสามารถทำเพื่อให้ดูมีคุณค่ากับเขาในการจัดการภาวะทางอารมณ์ของเขา และมันจะช่วยทำให้คุณรู้สึกมีพลังต่อโรคนี้

35 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bipolar disorder: Causes, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/37010)
What's Bipolar Disorder? How Do I Know If I Have It?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/bipolar-disorder)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)