ไบโอติน (Biotin) คือวิตามินที่ละลายในน้ำ พบในอาหารมากมาย เช่น ไข่ นม หรือกล้วยในปริมาณน้อย โดยมากแล้วมีการใช้ไบโอตินจัดการกับผมร่วง เล็บเปราะ ความเสียหายที่เส้นประสาท และภาวะอื่น ๆ
ไบโอตินออกฤทธิ์อย่างไร?
ไบโอตินเป็นองค์ประกอบสำคัญของเอนไซม์ในร่างกายที่ใช้ย่อยสลายสารบางประเภท เช่น ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และอื่นๆ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีทดลองในการตรวจวัดหาภาวะระดับไบโอตินต่ำที่มีประสิทธิภาพ แต่สามารถสังเกตภาวะนี้ได้จากอาการบางอย่าง เช่น
- ผมบาง (ผมร่วงมาก)
- ผิวหนังอักเสบ
- เกิดผื่นแดงรอบดวงตา จมูก และปาก
- อาการอื่นๆ มีทั้งซึมเศร้า เหน็ดเหนื่อย เห็นภาพหลอน และแขนขาชา
- มีหลักฐานชี้ว่า เบาหวานส่งผลต่อระดับที่ลดลงของไบโอติน
วิธีใช้และประสิทธิภาพของไบโอติน
วิธีใช้และประสิทธิภาพของไบโอตินในบทความนี้ จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ภาวะที่สามารถใช้ไบโอตินรักษาได้ ภาวะที่ไม่สามารถใช้ไบโอตินรักษาได้ และภาวะที่ยังขาดหลักฐานว่าสามารถใช้ไบโอตินรักษาได้ ดังนี้
1. ภาวะที่อาจใช้ไบโอตินได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ภาวะขาดไบโอติน (Biotin deficiency)
การรับประทานไบโอตินสามารถรักษาระดับไบโอตินในเลือดต่ำได้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้ระดับไบโอตินในเลือดตกลงมากเกินไปได้อีกด้วย
การที่ร่างกายมีระดับไบโอตินต่ำจะทำให้ผมบาง ผิวหนังอักเสบ และผื่นขึ้นรอบดวงตา จมูก และปาก
อาการอื่นๆ ของภาวะขาดไบโอติน คือ ซึมเศร้า หมดความสนใจโลก เห็นภาพหลอน และแขนขาชา
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โดยผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ที่ต้องได้รับอาหารทางสายส่ง ผู้ที่ขาดสารอาหาร ผู้ที่มีน้ำหลักลดลงรวดเร็ว หรือผู้ที่มีภาวะสืบทอดทางพันธุกรรมสามารถประสบกับภาวะนี้ได้ อีกทั้งการสูบบุหรี่ยังส่งผลให้ระดับไบโอตินในเลือดตกลงได้ด้วย
2. ภาวะที่ไบโอตินอาจไม่สามารถรักษาได้ คือ ผื่นบนผิวหนังของทารก (Seborrheic dermatitis)
การรับประทานทานไบโอตินไม่ได้ช่วยให้ทารกหายจากผื่นผิวหนัง
3. ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ไบโอตินรักษาได้หรือไม่
- ผมร่วง การรับประทานไบโอตินและสังกะสี (Zinc) ร่วมกับการทาครีมสเตียรอยด์ที่ผิวหนังอาจสามารถช่วยลดผมร่วงได้
- ภาวะทางพันธุกรรมที่เรียกว่า Biotin-thiamine-responsive basal ganglia disease ผู้ป่วยภาวะนี้จะประสบกับปัญหากล้ามเนื้อและอารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง โดยงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่า การรับประทานไบโอตินกับ thiamine ไม่ได้ช่วยป้องกันอาการเหล่านี้ แต่การรับประทานไบโอตินร่วมกับยาจะช่วยลดระยะเวลาสงบของอาการแทน
- เล็บมือเล็บเท้าเปราะ การรับประทานไบโอตินเป็นเวลานานหนึ่งปีอาจช่วยเพิ่มความหนาของเล็บมือและเล็บเท้าของผู้ที่มีปัญหาเล็บเปราะได้
- เบาหวาน งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานไอโบติกรวมกับโครเมียม (Chromium) อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ แต่การรับประทานเพียงไบโอตินเพียงอย่างเดียวจะไม่ได้ผลแต่อย่างใด
- อาการเจ็บปลายประสาทจากเบาหวาน (Diabetic nerve pain) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทาน หรือฉีดไบโอตินอาจช่วยลดอาการปวดประสาทขาของผู้ป่วยเบาหวานได้
- ตะคริวที่เกี่ยวกับการฟอกเลือด (Dialysis) ผู้ที่ต้องเข้ารับการฟอกเลือดมักจะมีอาการตะคริวง่ายกว่าปรกติ โดยงานวิจัยพบว่า การรับประทานไบโอตินจะช่วยลดอาการตะคริวในกลุ่มคนเหล่านี้ได้
- โรคปลอกประสาทแข็ง (Multiple sclerosis) งานวิจัยพบว่า การรับประทานไบโอตินปริมาณสูงอาจช่วยด้านการมองเห็นและลดอาการอัมพฤกษ์บางส่วนของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทแข็งได้
ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของไบโอติน
ไบโอตินถูกจัดว่า ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมาก เมื่อรับประทาน หรือทาบนผิวหนังอย่างเหมาะสม
โดยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประกอบด้วยไบโอติน 0.0001% ถึง 0.6% จะถูกนับว่าปลอดภัย อีกทั้งหากเป็นการฉีดเข้าร่างกาย ไบโอตินก็ถูกจัดว่าปลอดภัยเช่นกัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ
- สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร ไบโอตินสามารถใช้ได้ในปริมาณที่พอเหมาะระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- เด็ก สามารถทานไบโอตินตามความจำเป็นได้อย่างปลอดภัย
- ภาวะทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถจัดการกับไบโอตินได้ (biotinidase deficiency) ผู้ที่ป่วยเป็นภาวะดังกล่าวควรต้องได้รับไบโอตินเสริม
- ผู้ที่ต้องเข้ารับการฟอกไต อาจจำต้องได้รับไบโอตินเสริมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผู้ดูแล
- ผู้สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่อาจจะมีระดับไบโอตินในร่างกายต่ำ และอาจต้องได้อาหารเสริมไบโอติน
- การทดสอบทางปฏิบัติการณ์ การรับประทานอาหารเสริมไบโอตินอาจรบกวนผลการทดสอบเลือดได้ ซึ่งอาจทำให้ผลการตรวจมีค่าต่ำหรือสูงจากความเป็นจริงซึ่งจะทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคพลาดได้
ดังนั้นจึงควรแจ้งแพทย์หากคุณกำลังรับประทานอาหารเสริมไบโอตินอยู่ หากเป็นอาหารเสริมวิตามินรวมส่วนมากจะมีไบโอตินอยู่ปริมาณน้อย ซึ่งแม้จะค่อยส่งผลต่อผลการตรวจเลือดของคุณ แต่ก็ควรแจ้งแพทย์ก่อนเพื่อความมั่นใจ
การใช้ไบโอตินร่วมกับยาชนิดอื่น
ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ที่ไบโอตินมีต่อยาตัวอื่น
ปริมาณไบโอตินที่ควรรับประทานในกลุ่มคนต่างๆ
ปริมาณ หรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ผู้ใหญ่
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลสารอาหารที่แนะนำไว้ในแต่ละวัน (Recommended dietary allowance: RDA) ของไบโอติน
ส่วนปริมาณของไบโอตินที่เพียงพอในแต่ละวัน สำหรับผู้ใหญ่อายุมากกว่า 18 ปี กับสตรีมีครรภ์ คือ 30 mcg และ 35 mcg สำหรับสตรีที่ต้องให้นมบุตรคือ 35 mcg
แต่หากเป็นผู้ป่วยภาวะขาดไบโอติน ควรได้รับไบโอติน 10 mg ทุกวัน
เด็ก
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลสารอาหารที่แนะนำไว้ในแต่ละวันของไบโอติน
ส่วนปริมาณของไบโอตินที่เพียงพอในแต่ละวัน สำหรับทารกอายุ 0-12 เดือนคือ 7 mcg สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปีคือ 12 mcg สำหรับเด็กอายุ 9-13 ปีคือ 20 mcg, และสำหรับวัยเจริญพันธุ์อายุ 14-18 ปีคือ 25 mcg
หากทารกเป็นภาวะขาดไบโอติน ควรได้รับไบโอติน 10 mg ทุกวัน
ในปัจจุบันยังไม่มีการวิจัยที่สามารถยืนยันได้ว่า ไบโอตินสามารถรักษาอาการผมร่วง เล็บเปราะ หรือเบาหวานได้ หากคุณต้องการรับประทานไบโอติน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนว่า จำเป็นต้องรับประทานจริงๆ หรือไม่ รวมถึงสอบถามเกี่ยวกับปริมาณในการรับประทานที่เหมาะสม
ดูแพ็กเกจตรวจระดับวิตามินในร่างกาย เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android