ฮอร์โมนลูทิไนซิงคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ฮอร์โมนลูทิไนซิงคืออะไร?

ฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing hormone: LH) เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ฮอร์โมนดังกล่าวอยู่ในกลุ่มของฮอร์โมนที่เรียกว่าโกนาโดโทรฟิน (Gonadotropin) โดยฮอร์โมนลูทิไนซิงจะทำหน้าที่กระตุ้นอัณฑะในเพศชายและรังไข่ในเพศหญิง หากไม่มีฮอร์โมนดังกล่าวมนุษย์คนนั้นๆ จะไม่สามารถสืบพันธ์ุได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ฮอร์โมนลูทิไนซิงในเพศหญิงจะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ ซึ่งจะมีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการผสมพันธุ์ ส่วนในเพศชายนั้น ฮอร์โมนลูทิไนซิงจะกระตุ้นให้อัณฑะสร้างฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)

การตรวจวัดระดับฮอร์โมนลูทิไนซิง

แพทย์อาจตรวจวัดระดับฮอร์โมนลูทิไนซิงจากการตรวจเลือดหรือจากการตรวจปัสสาวะ ซึ่งค่าผลลัพธ์ดังกล่าวจะช่วยให้เข้าใจถึงภาวะความผิดปกติได้ดังต่อไปนี้

  • ความสามารถในการผลิตอสุจิลดลง
  • การมีภาวะรอบเดือนมาผิดปกติ
  • บอกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการวางแผนตั้งครรภ์
  • การเกิดโรคถุงน้ำในรังไข่
  • ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง เช่น ภาวะ Prolactinoma

การรักษาภาวะที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนลูทิไนซิง

แพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดเพื่อแก้ปัญหาสภาวะที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนลูทิไนซิง ซึ่งหากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการมีบุตรเนื่องจากคู่ครองมีปัญหาเกี่ยวกับระดับของฮอร์โมนลูทิไนซิง แพทย์อาจทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก เช่น

  • ในผู้ชาย ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ ทดสอบทางพันธุกรรม ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนอื่นๆ
  • ในผู้หญิง ตรวจวัดระดับฮอร์โมนในเลือด วัดอุณหภูมิของร่างกาย การตรวจอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกาน การส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติที่มดลูก

หลังจากการทดสอบเพิ่มเติ่ม แพทย์อาจรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนเมโนโทรฟิน (Menotropin) ซึ่งเป็นส่วนผสมของฮอร์โมนลูทิไนซิงและฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมิวเลติง (Follicle-stimulating hormone: FSH) มักใช้ในการรักษาสภาวะมีบุตรยากในทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งจะช่วยให้ผู้หญิงมีการตกไข่และช่วยให้ผู้ชายมีการสร้างอสุจิมากขึ้น 


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Luteinizing Hormone - an overview. ScienceDirect. (https://www.sciencedirect.com/topics/neuroscience/luteinizing-hormone)
Luteinizing hormone (LH) test: Uses, ranges, and results. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324122)
Luteinizing Hormone (LH) Levels Test Lab Test Information. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/lab-tests/luteinizing-hormone-lh-levels-test/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)