กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Hip Pain (ปวดข้อสะโพก)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการเจ็บสะโพกมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และหลายครั้งผู้ป่วยมีอาการเจ็บบริเวณอื่น แต่เข้าใจผิดว่า เจ็บสะโพก เช่น เจ็บต้นขาด้านบน ปวดหลัง
  • อาการเจ็บสะโพกยังอาจเกิดมาจากการใช้งานกล้ามเนื้อสะโพก ขา เข่า ข้อยึดมากเกินไปจนเนื้อเยื่อข้างในบาดเจ็บ และอักเสบ หรืออาจเกิดจากความระคายเคืองของเยื่อบุข้อ
  • ภาวะกระดูกพรุนในหญิงสูงวัย หรือน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ก็ทำให้เกิดอาการเจ็บสะโพกได้
  • อาการไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ก็สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บสะโพกได้
  • การรักษาอาการเจ็บสะโพกจะรักษาไปตามคำวินิจฉัยของแพทย์ หรืออาจรักษาได้ด้วยตนเองกรณีบาดเจ็บไม่ร้ายแรงจากการเล่นกีฬา เช่น ประคบร้อน รับประทานยาแก้อักเสบ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อ

อาการปวดสะโพก เป็นอาการที่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยอาการนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ 

การวินิจฉัยอาการเจ็บสะโพก

อย่างแรกที่แพทย์จะทำ คือ ยืนยันตำแหน่งว่า เป็นอาการเจ็บที่สะโพกอยู่บริเวณใด แล้วเจ็บที่สะโพกจริงหรือไม่ หรือผู้ป่วยอาจเจ็บที่บริเวณใกล้เคียงแต่เข้าใจผิดว่าเป็นสะโพก เพราะความเป็นจริงแล้ว อาการเจ็บสะโพกอาจเป็นอาการเจ็บต้นขาด้านบน หรือด้านบนของก้น หรือปวดหลังก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของการเจ็บสะโพกในผู้หญิง

เมื่อมีผู้ป่วยหญิงมาพบแพทย์ด้วยเรื่องอาการเจ็บสะโพก แพทย์จะเริ่มประเมินจากอายุผู้ป่วย รูปร่าง และระดับกิจวัตรประจำวัน เพราะเงื่อนไขเหล่านี้ย่อมทำให้อาการเจ็บสะโพกเกิดขึ้นได้ต่างสาเหตุกันไป ซึ่งสาเหตุที่มักพบได้บ่อยของการเจ็บข้อสะโพกในผู้หญิง ประกอบด้วย

1. ข้ออักเสบ 

เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการเจ็บสะโพกเรื้อรัง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นข้ออักเสบจากข้อเสื่อมซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น อาการปวดของข้ออักเสบนี้มักจะรู้สึกที่บริเวณต้นขาด้านหน้า หรือบริเวณขาหนีบจากการที่มีข้อยึด หรือข้อบวม

2. กระดูกข้อสะโพกหัก 

กระดูกข้อสะโพกหักถือเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้หญิงสูงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภาวะกระดูกพรุน (ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง) 

อาการของกระดูกข้อสะโพกหักประกอบด้วยอาการปวดเมื่อเหยียด ยก หรือยืนบนขาข้างนั้น นิ้วโป้งของเท้าข้างที่มีการหักอาจชี้ออกไปด้านนอก 

3. เอ็นอักเสบและเยื่อบุข้ออักเสบ 

ภายในสะโพกมีเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อ และข้อไว้มากมาย ซึ่งเส้นเอ็นเหล่านี้อาจเกิดการอักเสบได้ หากมีการใช้งานมากเกินไป หรือใช้ในกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก 

สาเหตุที่พบบ่อยของอาการเอ็นอักเสบที่ข้อสะโพกโดยเฉพาะในนักวิ่ง คือ กลุ่มอาการเอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบ (iliotibial band syndrome: it Band) ซึ่งเป็นเนื่อเยื่อที่เชื่อมระหว่างขอบนอกของกระดูกเชิงกรานมายังด้านนอกของเข่า 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บสะโพกในผู้หญิงได้บ่อย คือ การอักเสบของเยื่อบุข้อ โดยเยื่อบุข้อมีลักษณะเป็นถุงรองรับกระดูกของสะโพกที่ติดกับผิวข้อ ซึ่งถุงนี้สามารถเกิดการอักเสบจากการระคายเคือง หรือหากถูกใช้งานมาก ก็ทำให้เกิดอาการเจ็บเวลาขยับข้อสะโพกได้

4. ไส้เลื่อน 

บริเวณขาหนีบเป็นบริเวณที่สามารถพบไส้เลื่อนชนิดต่ำกว่าขาหนีบ (femoral hernia) หรือ ชนิดบริเวณขาหนีบ (inguinal hernia) ได้จนทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณสะโพกด้านหน้าในผู้หญิง 

นอกจากนี้ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจมีภาวะไส้เลื่อนชนิดบริเวณขาหนีบได้เช่นกัน เนื่องจากมีความดันในผนังช่องท้องสูง

5. โรคทางนรีเวช หรือปัญหาจากหลัง 

อาการเจ็บสะโพกอาจเป็นผลมาจากโรคทางนรีเวชได้ ดังนั้นจึงไม่ควรคิดถึงสาเหตุของอาการเจ็บสะโพกว่า เกิดจากข้ออักเสบเยื่อหุ้มข้ออักเสบ หรือเอ็นอักเสบแต่เพียงอย่างเดียว ควรคิดถึงสาเหตุจากระบบที่อื่นๆ ตามข้อมูลด้านอายุ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) สามารถทำให้มีอาการปวดในอุ้งเชิงกราน ซึ่งผู้หญิงบางคนอาจอธิบายด้วยคำว่า เจ็บสะโพกได้ อาการปวดจากหลัง และกระดูกสันหลังก็อาจมีการร้าว และทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณก้น และสะโพกได้ 

นอกจากนี้ การปวดร้าวของเส้นประสาทที่เรียกว่า "ไซอาติก้า (Sciatica)" ยังสามารถทำให้เกิดอาการปวดบริเวณด้านหลังของข้อสะโพกได้ โดยเริ่มจากหลังส่วนล่างก่อนจะร้าวมาตามก้น และขา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรักษา และป้องกันอาการเจ็บสะโพก

การรักษาอาการเจ็บสะโพกขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย แต่อาการปวดที่เกิดจากการใช้งานมาก หรือการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬามักสามารถรักษาได้ด้วยการประคบร้อน พักร่างกายให้กล้ามเนื้อได้ฟื้นฟูประมาณ 3-7 วัน รับประทานยาแก้อักเสบทั่วไป 

เราสามารถป้องกันการบาดเจ็บสะโพกซ้ำอีกได้ โดยการยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย และสวมใส่เสื้อผ้าโดยเฉพาะรองเท้าที่เหมาะสมในการวิ่ง

หากการทำกิจกรรมหรือการใช้งานมากเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บ ควรหยุดกิจกรรมดังกล่าว และปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้ การมีน้ำหนักเกินถือเป็นการเพิ่มน้ำหนักลงบนข้อสะโพก ดังนั้นการลดน้ำหนักสามารถช่วยลดอาการปวด และลดปัญหาที่อาจเกิดตามมาได้ 

ส่วนสาเหตุบางอย่างของการเจ็บสะโพก เช่น กระดูกหัก หรือไส้เลื่อน คุณอาจต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด หากยังคงมีอาการเจ็บอยู่เรื้อรัง ก็ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ และแนวทางการรักษาต่อไป

อาการเจ็บสะโพกอาจเป็นสัญญาณอันตรายของอาการบาดเจ็บ หรืออาการเจ็บป่วยภายในร่างกายบางอย่างที่คุณไม่รู้ ดังนั้นหากลองรักษาเบื้องต้นด้วยตนเองแล้วไม่หาย คุณควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการบาดเจ็บนี้อีกครั้ง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hip pain - Causes, exercises, treatments. Versus Arthritis. (Available via: https://www.versusarthritis.org/about-arthritis/conditions/hip-pain/)
Hip Pain: Causes, Treatment, and When to See a Doctor. Verywell Health. (Available via: https://www.verywellhealth.com/common-causes-of-hip-pain-2696406)
Think that hip pain is bursitis? Think again. Harvard Health. (Available via: https://www.health.harvard.edu/pain/think-that-hip-pain-is-bursitis-think-again)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
คุณหมอคะ ทำไมถึงปวดในเส้นเดือดที่หลังมือคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนบ่อยๆทำอย่างไรดี
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากรู้คะว่าอาการปวดเอวจะหายได้บ้างไหมคะ เพราะว่ามันจะปวดตลอดเวลาคะ หลังจากี่ผ่าตัดคลอดลูกมาแล้ว2คนคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าคนที่เรารักมากเคยเป็นมะเร็งต่อมนำ้เหลืองมาก่อนแล้วเกือบ12ปีแล้วตอนนี้มาปวดท้องบ่อยกินยาแล้วเดียวก็หาย1-2วันเดียวก็มาปวดอีกเราควรจะทำยังไงดีค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดท้องตอนมาประจำเดือนตลอด บางครั้ง3เดือนมาประจำเดือนครั้งหนึ่ง. ต้องรัษายังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหลังเป็นประจำจะเป็นโรคอะไรไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ