กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

เกลื้อน (Tinea Vesicolor)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เกลื้อน (Tinea versicolor) เป็นโรคติดเชื้อราของผิวหนังชั้นตื้นที่พบได้บ่อย โดยปกติเราสามารถพบเชื้อราบนผิวหนังได้ แต่เมื่อไหร่ที่เชื้อราเจริญเติบโตมากผิดปกติ ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง หรือรักษาความสะอาดของร่างกายได้ไม่ดีพอ ก็จะทำให้เกิดโรคเกลื้อนได้นั่นเอง
  • เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเกลื้อนมีชื่อว่า มาลาสซีเซียเฟอร์เฟอร์ (Malassezia furfur) โดยสายพันธ์ุที่ทำให้เกิดโรคเกลื้อนมากที่สุดก็คือ M. Globosa
  • อาการของโรคเกลื้อนเริ่มจากการมีรอยโรคเป็นจุด อาจมีขุย หรือเห็นเป็นแผ่นราบ รอยโรคนั้นจะไม่เจ็บและไม่ติดต่อไปยังบุคคลอื่น แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองและมีอาการคันได้ ต่อมารอยโรคจะมีสีอ่อนลง หรือบางครั้งอาจมีสีเข้มขึ้นมากกว่าบริเวณผิวหนังโดยรอบ
  • การรักษาโรคเกลื้อนทำได้โดยการใช้ยา มีทั้งยารับประทานและยาทาสำหรับผู้ที่มีอาการมาก ซึ่งควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์
  • เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อรามาลาสซีเซียเฟอร์เฟอร์ซ้ำอีกครั้ง แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาทาหรือยารับประทานต่อเนื่องไปอีก 1 เดือน หรือมากกว่านั้น นอกจากนี้ คุณจะต้องให้ความสำคัญกับสุขอนามัย และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน หรือมีเหงื่อออกมาก
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

เกลื้อน (Pityriasis หรือ Tinea versicolor) เป็นโรคติดเชื้อราของผิวหนังชั้นตื้นที่พบได้บ่อย โดยปกติเราสามารถพบเชื้อราบนผิวหนังได้ แต่เมื่อไหร่ที่เชื้อราเจริญเติบโตมากผิดปกติ  ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง รักษาความสะอาดของร่างกายได้ไม่ดีพอ ก็จะทำให้เกิดโรคเกลื้อนได้  

อาการของโรคเกลื้อน

อาการของโรคเกลื้อนเริ่มจากการมีรอยโรคเป็นจุด อาจมีขุย หรือเห็นเป็นแผ่นราบ รอยโรคนั้นจะไม่เจ็บและไม่ติดต่อไปยังบุคคลอื่น แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองและมีอาการคันได้ ต่อมารอยโรคจะมีสีอ่อนลง หรือบางครั้งอาจมีสีเข้มขึ้นมากกว่าบริเวณผิวหนังโดยรอบ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีขอบเขตที่ชัดเจน และสีผื่นจะไม่เข้มขึ้นเมื่อโดนแสงแดด แต่หากโดนแดดมากๆ ก็จะทำให้ผื่นนั้นมองเห็นชัดมากขึ้น เนื่องจากผิวหนังโดยรอบทั้งหมดจะมีสีเข้มขึ้น ทำให้รอยโรคเด่นชัดขึ้นไปอีก 

รอยโรคของผื่นที่เกิดขึ้นสามารถเกิดขึ้นและหายไปได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของฤดูและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งผื่นดังกล่าวจะเด่นชัดเมื่อมีสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น และจะเด่นชัดน้อยลง หรือหายไปในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว

อาการอื่นๆ ของโรคเกลื้อนที่พบได้ เช่น

  • คัน
  • ผิวหนังเป็นขุย
  • เหงื่อออกมากขึ้น

เกลื้อนต่างกับกลากอย่างไร?

กลากจะมีลักษณะเป็นผื่นสีแดง มักมีรูปร่างเป็นวงกลมหรือรูปวงแหวน มีขอบเขตชัดเจน ขอบนอกมักมีสีเข้มกว่าผิวหนังด้านใน อาจมีขุย หรือสะเก็ดบางๆ ที่ขอบผื่นได้   

สาเหตุของโรคเกลื้อน

โรคเกลื้อนเกิดจากเชื้อราที่ชื่อว่า มาลาสซีเซียเฟอร์เฟอร์ (Malassezia furfur) โดยสายพันธ์ุที่ทำให้เกิดโรคเกลื้อนมากที่สุดก็คือ M. Globosa 

เชื้อราชนิดนี้จะสร้างสารเคมีบางชนิดที่ไปกดการทำงานของเม็ดสีที่ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังมีสีเปลี่ยนแปลงไป และกลายเป็นรอยโรค มีลักษณะเป็นขุยละเอียด แบนราบ เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ขนาด 1 มิลลิเมตรขึ้นไป รวมกันเป็นปื้นใหญ่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผื่น หรือปื้นนี้จะพบได้ในสีที่หลากหลาย เช่น สีขาว สีเทา สีชมพู หรือสีน้ำตาล โรคนี้พบได้บ่อยในบริเวณผิวหนังที่มีต่อมไขมันมากๆ เช่น ใบหน้า แผ่นหลัง หน้าอก 

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคเกลื้อน?

เชื้อรามาลาสซีเซียเฟอร์เฟอร์ มักจะเจริญบนผิวหนังได้ดีเมื่ออาศัยอยู่ในอากาศที่ร้อนชื้น เช่น โซนเขตร้อน โดยมากกว่า 50% ของผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศเขตร้อน มีรายงานการติดเชื้อผิวหนังชนิดนี้ แต่ประเทศที่มีอากาศเย็น เช่น สแกนดิเนเวีย ก็พบว่ามีการติดเชื้อ ประมาณ 1% เช่นกัน  

การติดเชื้อราชนิดนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ รวมทั้งเด็กและทารก แต่จะพบบ่อยในวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว เพราะเป็นวัยที่ต่อมไขมันทำงานมาก มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และพบว่าอัตราการติดเชื้อในผู้ชายเท่ากับผู้หญิง

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อนี้ง่ายขึ้น มีดังนี้

  • มีเหงื่อออกมาก
  • อยู่ในที่ที่ร้อนอบอ้าว 
  • ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง
  • ผิวมัน
  • ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี
  • รับประทานยาคุมกำเนิด
  • ตั้งครรภ์
  • เป็นเบาหวาน
  • ใช้ยาสเตียรอยด์
  • เครียด
  • ใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดกว้างเป็นเวลานาน
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม

การรักษาโรคเกลื้อน

การรักษาโรคเกลื้อนทำได้โดยการใช้ยา มีทั้งยารับประทานและยาทาสำหรับผู้ที่มีอาการมาก ซึ่งควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์  

 ตัวอย่างยารับประทานเพื่อรักษาเกลื้อน เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ยาเม็ดฟลูโคนาโซล (Fluconazole)
  • ยาเม็ดหรือแคปซูลไอทราโคนาโซล (Itraconazole)
  • ยาเม็ดคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ปัจจุบันไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากทำให้เกิดพิษต่อตับรุนแรง

บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้ใช้เพียงยาทา หรือยาที่หาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป เช่น 

  • ครีมโลชั่นโคลไตรมาโซล (Clotrimazole
  • ครีมไมโคนาโซล (Miconazole)
  • แชมพูซีลีเนียมซัลไฟด์ (Selenium sulfide) ความเข้มข้น 1% 
  • เจล หรือครีมทาเทอร์บินาฟีน (Terbinafine)

หากใช้ยาเหล่านี้แล้วไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยาสูตรอื่นที่มีความแรงเพิ่มขึ้น เช่น

  • เจล โลชั่น หรือครีม Ciclopirox (Loprox, Penlac),
  • โฟม ครีม เจล หรือ แชมพูคีโตโคนาโซล (Ketoconazole)
  • โลชั่น หรือแชมพูซีลีเนียมซัลไฟด์ ความเข้มข้น 2.5 % 

นอกจากนี้การรักษาโดยกระบวนการใช้แสงกระตุ้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แพทย์อาจใช้ช่วยรักษาโรคเกลื้อนหายได้เช่นกัน ทั้งนี้แม้ว่าการรักษาโรคเกลื้อนนั้นจะมีประสิทธิภาพที่ดี แต่การเปลี่ยนแปลงของสีผิวที่เกิดขึ้น หรือรอยโรคนั้นอาจคงอยู่นานหลายเดือนกว่าจะกลับมามีสีผิวปกติได้

ผู้ป่วยควรหมั่นรักษาความสะอาดของตนเองอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้เหงื่อไคลหมักหมม ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยๆ เพื่อป้องกันความอับชื้น และไม่ควรใช้ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หรือเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น  

วิธีบรรเทาอาการแบบพื้นบ้าน

ระหว่างอาบน้ำให้นำแชมพูต้านรังแคมาทาที่รอยโรค ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที อาจช่วยบรรเทาอาการได้ หรืออาจใช้ว่านหางจระเข้ น้ำมันทีทรี (Tea tree oil) น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล น้ำผึ้ง น้ำมันมะกอก และขี้ผึ้ง มาทาก็ได้ 

นอกจากนี้ในปี  2004 ได้มีการตีพิมพ์งานวิจัยที่ทดลองใช้น้ำผึ้ง น้ำมันมะกอก และขี้ผึ้ง ในการรักษาโรคเกลื้อน มาผสมในปริมาณเท่าๆ กันแล้วนำมาทาผิว 3 ครั้งต่อวัน นานประมาณ 1 เดือน ผลปรากฏว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ดีมาก 

อย่างไรก็ตาม ก่อนทดลองสูตรรักษาเกลื้อนใดๆ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังก่อนใช้ด้วย

การป้องกันการเกิดโรคเกลื้อน

ในการป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อรามาลาสซีเซียเฟอร์เฟอร์ซ้ำอีกครั้ง แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาทาหรือยารับประทานต่อเนื่องไปอีก 1 เดือนหรือมากกว่านั้น 

แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 1-2 ครั้งต่อเดือน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในสภาพอากาศร้อนหรือชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อรานั้นขึ้นอีกครั้ง 

นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน หรือทำให้มีเหงื่อออกมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tinea Versicolor. JAMA Network. (Available via: https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2705189)
Tinea Versicolor Treatment, Causes & Symptoms. MedicineNet. (Available via: https://www.medicinenet.com/tinea_versicolor/article.htm)
Tinea versicolor: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (Available via: https://www.medicalnewstoday.com/articles/315779)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)