การขาดประจำเดือน (Amenorrhea) คือการหายไปของประจำเดือนในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
1. การขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ (primary amenorrhea) คือการที่เด็กหญิงอายุมากกว่า 15 ปียังไม่มีประจำเดือน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
2. การขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ (secondary amenorrhea) คือการที่ผู้หญิงซึ่งเคยมีประจำเดือนสม่ำเสมอมาก่อนมีการขาดประจำเดือนมากกว่า 6 เดือน
สาเหตุของการขาดประจำเดือน
ความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติดของร่างกายสามารถทำให้ขาดประจำเดือนได้ ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงจะเข้าสู่ช่วงชาดประจำเดือนระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร นอกจากยี้ยังมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงอีกหลายอย่างที่ทำให้เกิดการขาดประจำเดือน หรือบางครั้งอาจเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการขาดประจำเดือนประกอบด้วย
- ภาวะอ้วน
- มีไขมันในร่างกายต่ำมาก (น้อยกว่า 15-17% ของไขมันร่างกาย)
- ขาดฮอร์โมน leptin ซึ่งควบคุมความอยากอาหาร
- กลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic oovarian syndrome – PCOS)
- ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ
- มีความเครียดอย่างรุนแรง
- ออกกำลังกายอย่างหนัก
- ใช้วิธีคุมกำเนิดบางวิธี (อาจใช้เวลาหลายเดือนก่อนที่จะเริ่มกลับมามีประจำเดือนอีกครั้งหลังจากหยุดคุมกำเนิด)
- ยาบางชนิด (ยาโรคซึมเศร้าและยาโรคความดันโลหิตบางชนิดสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ยับยั้งการตกไข่ได้)
- การรับยาเคมีบำบัดและการฉายรังสีสำหรับรักษาโรคมะเร็ง
- เนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
- รอยแผลเป็นในมดลูก (พังผืดในมดลูก การผ่าตัดคลอด หรือการทำแท้งสามารถทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้)
สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาทางฮอร์โมนซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดประจำเดือน ประกอบด้วย
- ความเจ็บป่วยเรื้อรังเช่นโรคหัวใจ หรือ cystic fibrosis
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม
- ปัญหาเกี่ยวกับรังไข่
อาการของการขาดประจำเดือน
อาการหลักของภาวะนี้คือ การขาดประจำเดือน ซึ่งคุณอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดประจำเดือน
สำหรับอาการอื่น ๆ อาจประกอบด้วย น้ำหนักตัวเพิ่มหรือน้ำหนักลด มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้านมหรือมีน้ำนมไหลจากเต้านม สิวขึ้น ผมร่วง มีขนขึ้นบนหน้า ปวดหัวหรือมีการมองเห็นที่เปลี่ยนไปและอาการปวดท้องน้อย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การวินิจฉัยการขาดประจำเดือน
การวินิจฉัยมีหลายขั้นตอนที่แพทย์จะใช้เพื่อให้ได้การวินิจฉัยว่าคุณมีการขาดประจำเดือนหรือไม่ ขั้นแรก แพทย์จะทำการซักประวัติเกี่ยวกับอาการเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น จากนั้นแพทย์อาจทำการตรวจภายในและทำการตรวจการตั้งครรภ์เพื่อตัดสาเหตุเรื่องการตั้งครรภ์ออกไป
การทดสอบสำหรับการขาดประจำเดือนอาจประกอบด้วย
- การตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน
- การตรวจสารพันธุธรรม
- การ ultrasound บริเวณท้องน้อย
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
- การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การรักษาการขาดประจำเดือน
การรักษาที่แพทย์จะแนะนำนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดประจำเดือน การรักษาอาจประกอบด้วยการใช้ยา การผ่าตัด การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต หรือทั้ง 3 วิธีร่วมกัน
การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต เช่น
- ค่อย ๆ ทำให้ร่างกายมีน้ำหนักที่เหมาะสม และคงระดับน้ำหนักนั้นไว้ (หากมีน้ำหนักน้อยหรือมากเกินไป)
- ลดความเครียด
- หากเป็นนักกีฬาอาจใช้การปรับการฝึกฝนร่างกายหรือการกิน
การรักษาโดยการใช้ยาสำหรับการขาดประจำเดือนประกอบด้วย
- ยาฮอร์โมนเช่นยาคุมกำเนิด
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน
- ยาสำหรับรักษาโรค PCOS
การผ่าตัดสำหรับการขาดประจำเดือนอาจประกอบด้วย
- การตัดแผลเป็นภายในมดลูกออก
- การตัดเนื้องอกของต่อมใต้สมองออก
การฝั่งเข็มคุมกำเนิด เเล้วทำให้ประจำเดือนไม่มา จะส่งผลกับร่างกายเราทางด้านใดบ้างมากน้อย เพียงใด ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการฝั่งเข็ม ควรเเก้ไขอย่างไร