การผ่าตัดคลอด (Cesarean section)

การผ่าตัดคลอดคืออะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การผ่าตัดคลอด (Cesarean section)

การผ่าตัดคลอด เป็นหัตถการระหว่างคลอดที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กไม่สามารถคลอดผ่านทางช่องคลอดของมารดาได้ จึงต้องทำการผ่าตัดเพื่อนำเด็กออกจากมดลูกของแม่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุที่พบบ่อยของการผ่าตัดคลอด 

  • การคลอดลูกแฝด
  • มารดามีความดันโลหิตสูง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับรกหรือสายสะดือ
  • ปากมดลูกไม่เปิดเพิ่ม
  • มีปัญหาเกี่ยวกับรูปร่างของมดลูก หรืออุ้งเชิงกราน
  • ทารกไม่กลับหัวหรืออยู่ในท่าอื่นๆ ที่อาจทำให้การคลอดเองไม่ปลอดภัย
  • ทารกมีอาการแสดงว่าอยู่ในสภาวะที่เครียด เช่น หัวใจเต้นเร็ว
  • ทารกมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้การคลอดทางช่องคลอดมีความเสี่ยง
  • มารดามีปัญหาทางสุขภาพ เช่น ติดเชื้อ HIV หรือเริม (Herpes) ที่สามารถส่งผลกระทบต่อทารกได้

เมื่อแพทย์ตัดสินใจว่าจะต้องมีการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการดมยาสลบทันที แต่หากมีการวางแผนการผ่าตัดไว้ก่อนแล้ว ผู้ป่วยมักจะได้รับการระงับความรู้สึกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น การระงับความรู้สึกที่ไขสันหลัง ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีอาการชาตั้งแต่หน้าอกลงไป จากนั้นแพทย์จะใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปในท่อปัสสาวะ 

ในการผ่าตัด จะมีการลงแผลผ่าตัด 2 แผล แผลแรกเป็นแผลผ่าตัดแบบขวางซึ่งมีขนาดประมาณ 6 นิ้วยาวตามท้อง ซึ่งจะตัดผ่านผิวหนัง ไชมันและกล้ามเนื้อ แผลผ่าตัดที่ 2 จะเป็นการเปิดมดลูกให้กว้างพอที่จะสามารถนำทารกออกมาได้ ทารกจะถูกนำออกจากมดลูกก่อนที่จะนำรกออก แล้วจึงทำการเย็บแผลที่มดลูก ภายหลังจากการผ่าตัด ทารกจะได้รับการดูดสารคัดหลั่งออกจากปากและจมูก ผู้ป่วยสามารถอุ้มทารกได้ทันทีหลังจากคลอด ก่อนที่จะถูกพาไปยังห้องพักฟื้นและจะถอดสายสวนปัสสาวะออกหลังจากนั้น

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 5 คืน ในช่วงแรก การขยับร่างกายส่วนต่างๆ อาจจะเจ็บหรือทำได้ยาก แพทย์จึงมักจะให้ยาแก้ปวดผ่านทางเส้นเลือดดำ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นยาแก้ปวดแบบรับประทาน และแพทย์อาจจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกายประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังจากการผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือแผลผ่าตัดฉีก

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดคลอด

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดคลอดสามารถพบได้น้อย แต่ถ้าหากเกิดขึ้น มักมีอาการต่อไปนี้

  • ปฏิกิริยาต่อยาสลบ
  • เลือดออก
  • ติดเชื้อ
  • ลิ่มเลือด
  • ลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus.gov, Cesarean Section (https://medlineplus.gov/cesareansection.html), 31 December 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)