การขาดวิตามิน B12 เกิดจากอะไร รักษาได้ไหม?

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามิน B12 เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง และอาการผิดปกติเมื่อขาดวิตามินชนิดนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การขาดวิตามิน B12 เกิดจากอะไร รักษาได้ไหม?

วิตามิน B12 เป็นวิตามินที่มีประโยชน์ในแง่ของการเสริมสร้างการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบประสาท และส่งเสริมการสร้างเม็ดเลือดแดง การเกิดภาวะขาดวิตามินชนิดนี้ อาจทำให้เด็กเล็กมีปัญหาเรื่องของระบบประสาทได้เลยทีเดียว ส่วนในผู้ใหญ่ก็อาจนำไปสู่ความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ระบบประสาทเสื่อมโทรม โลหิตจาง มีปัญหาเรื่องความจำและการคิดเชิงตรรกะ โรคหัวใจ เป็นต้น

สาเหตุของการขาดวิตามิน B12

โดยทั่วไปกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหารจะช่วยในการย่อยโปรตีน ก่อนจะแยกวิตามิน B12 ออกจากโปรตีน และดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นการขาดวิตามิน B12 จึงอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • มีปัญหาเกี่ยวกับโรคในช่องท้อง ลำไส้อักเสบ หรือการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร ซึ่งส่งผลต่อปริมาณการหลั่งกรดไฮโดรคลอริกที่ช่วยในการย่อยโปรตีน ทำให้ไม่ได้รับวิตามิน B12
  • มีอายุมากกว่า 50 ปี ประสิทธิภาพการทำงานของกระเพาะอาหารจึงลดลง และมีการหลั่งกรดไฮโดรคลอริกลดลง ทำให้ดูดซึมวิตามินชนิดนี้ได้น้อยลงไปด้วย
  • รับประทานวิตามิน B12 ในปริมาณที่น้อยกว่าร่างกายต้องการ เช่น ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ หรือไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เพราะวิตามินชนิดนี้สามารถพบได้ในเนื้อสัตว์จำพวก ตับ ไต หัวใจ ปลา และนม ส่วนผักผลไม้จะไม่มีวิตามิน B12

อาการของผู้ที่มีภาวะขาดวิตามิน B12

ผู้ที่ขาดวิตามิน B12 อาจมีอาการแตกต่างกันไป โดยอาการที่สามารถสังเกตได้มีดังนี้

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • รู้สึกอ่อนล้า
  • ท้องผูก
  • น้ำหนักลด
  • มึนงง ปวดศีรษะ ความจำไม่ดี
  • ชาแปลบๆ บริเวณมือและเท้า
  • เจ็บข้อต่อต่างๆ
  • หายใจสั้นๆ
  • ไม่มีสมาธิในการเรียน การทำงาน หรือการทำสิ่งต่างๆ
  • ซึมเศร้าและวิตกกังวล

ความต้องการต่อวันของวิตามิน B12

ปริมาณวิตามิน B12 ที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่โดยเฉลี่ย คือ 2 ไมโครกรัม แต่หากแยกตามอายุสามารถดูปริมาณที่ควรได้รับต่อวันได้จากตารางด้านล่าง

อายุ ปริมาณที่ควรได้รับ (ไมโครกรัมต่อวัน)
0-6 เดือน 0.4
7-12 เดือน 0.5
1-3 ปี 0.9
4-8 ปี 1.2
เด็กอายุ 9-13 ปี 1.8
อายุมากกว่า 14 ปีขึ้นไป 2.4
หญิงตั้งครรภ์ 2.6
หญิงให้นมบุตร2.8

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามิน B12

  • ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ มีโอกาสที่จะเกิดภาวะขาดวิตามิน B12 สูงกว่าคนทั่วไป เนื่องจากวิตามินชนิดนี้ส่วนมากจะอยู่ในเนื้อสัตว์ ส่วนในสาหร่ายทะเลซึ่งเป็นอาหารที่ชาวมังสวิรัติรับประทานได้ เช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ร่างกายของคนเราไม่สามารถดูดซึมวิตามิน B12 จากอาหารชนิดนี้ได้ทั้งหมด ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะขาดวิตามิน B12 ชาวมังสวิรัติจึงควรรับประทานวิตามินเสริมชนิดนี้ในทุกวัน
  • ผู้ที่รับประทานยาบางประเภท เช่น ยาที่เกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการหลั่งของกรดไฮโดรคลอริก หรือการรับประทานยาปฏิชีวะติดต่อกันในระยะยาว ก็สามารถลดความสามารถของกระเพาะอาหารในการดูดซึมและนำวิตามิน B12 ไปใช้ได้เช่นกัน ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะขาดวิตามิน และอาการอีกหลายๆ อย่าง เช่น เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากร่างกายจำเป็นต้องใช้วิตามินชนิดนี้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เนื่องจากแอลกอฮอล์และนิโคตินจะเป็นตัวขัดขวางการดูดซึมวิตามิน B12
  • ผู้ที่รับประทานอาหารเสริมประเภทโพแทสเซียม ก็มีโอกาสเกิดภาวะขาดวิตามิน B12 ได้เช่นกัน

การรักษาอาการขาดวิตามิน B12

การขาดขาดวิตามิน B12 เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ และบางครั้งอาการที่เกิดขึ้นก็มาจากสาเหตุอื่นได้ อันดับแรกแพทย์จึงจะวินิจฉัยสาเหตุโดยการเจาะเลือด และนำเลือดไปตรวจ จากนั้นจึงนำผลเลือดมาอ่านและวิเคราะห์

ส่วนการรักษาจะเน้นที่การเพิ่มระดับวิตามิน B12 และขึ้นอยู่กับสาเหตุของการขาดวิตามินด้วย โดยการรักษาภาวะการขาดวิตามิน B12 มีทั้งการใช้ยาวิตามิน B12 แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบรับประทานเป็นอาหารเสริมในรูปแบบของยาเม็ดหรือยาพ่นจมูก โดยขนาดการใช้ยา ระยะเวลาในการรักษา และวิธีการบริหารยานั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรง สาเหตุของการขาดวิตามิน และโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุให้เกิดการขาดวิตามิน B12 ด้วย 


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
รายการอาหารที่เปี่ยมไปด้วยวิตามิน B12
รายการอาหารที่เปี่ยมไปด้วยวิตามิน B12

ประโยชน์ของวิตามินบี 12 ที่จำเป็นต่อร่างกาย และอาหารที่เป็นแหล่งรวมของวิตามินบี 12

อ่านเพิ่ม