กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Rheumatic Diseases (โรครูห์มาติก)

เผยแพร่ครั้งแรก 16 เม.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

โรครูห์มาติกเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อข้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โรคในกลุ่มนี้มีมากกว่า 100 ชนิด อย่างเช่น โรคข้ออักเสบ โรคเกาต์ และโรคข้อสันหลังอักเสบชนิดยึดติด

โรครูห์มาติกคืออะไร?

คำว่ารูห์มาติกนั้นมาจากรากศัพท์ภาษากรีก แปลว่า การเคลื่อนไหว และมีความหมายว่าเกี่ยวข้องกับข้อ มีโรคมากกว่า 100 โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรครูห์มาติก ซึ่งรวมถึงโรคข้ออักเสบหลายชนิดที่มักมีอาการข้อบวมแดง และกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น กระดูกอ่อน เยื่อบุภายในข้อ และเส้นเอ็น โรครูห์มาติกบางชนิด โรคเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการทำลายเนื้อเยื่อของตนเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ Kevin Deane ประจำสาขาวิชาโรคข้อ University of Colorado Health Sciecnes Center in Denver ได้กล่าวว่า โรครูห์มาติกเป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับข้อ มีหลากหลายชนิด โดยอาจเป็นเพียงโรคข้ออักเสบจากการบาดเจ็บซ้ำ ๆ ของข้อ มีการประมาณตัวเลขผู้ป่วยโรครูห์มาติกในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 46 ล้านคน ซึ่งถือเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหาการเคลื่อนไหวได้น้อยลง ปัญหาของข้อที่เกิดจากการติดเชื้อ ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หรือโรคที่เกิดจากผลึกของสาร เช่น โรคเกาต์ 

ภาพรวมเกี่ยวกับโรครูห์มาติก

โรคดังต่อไปนี้คือโรครูห์มาติกที่พบได้บ่อย

  • โรคข้อสันหลังอักเสบชนิดยึดติด (Ankylosing spondylitis) เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มโรครูห์มาติกที่เกิดขึ้นที่กระดูกสันหลัง โรคนี้พบมากในกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้น และยังทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นในข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อไหล่ ทำให้เกิดอาการปวดและข้อติด
  • Fibromyalgia มีผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้หลายล้านคน โรคนี้เป็นโรครูห์มาติกที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและปวดเรื้อรังที่กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของข้อ ทำให้ข้อติดและปวด ซึ่งอาจส่งผลรบกวนการนอนได้ โรคนี้สามารถพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 9 เท่า
  • โรคเกาต์ มีผู้ใหญ่ประมาณ 2.1 ล้านคนที่เป็นโรคนี้ โดยโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกในข้อ มักพบได้บ่อยที่นิ้วหัวแม่เท้า ทำให้เกิดอาการปวดและบวมเป็น ๆ หาย ๆ โรคนี้พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • โรคข้ออักเสบติดเชื้อ เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไม่ว่าจะจากไวรัสหรือแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น โรค Lyme ซึ่งเกิดจากการถูกตัวเห็บซึ่งมีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่กัด ทำให้เกิดข้ออักเสบ ปวด และข้อติดได้ โรคอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ เช่น โรคข้ออักเสบจากเชื้อ Parvovirus และ Gonococcus หรือหนองในเทียม การที่สามารถระบุเชื้อก่อโรคเหล่านี้ได้ตั้งแต่ระยะแรกจะทำให้สามารถเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาเพื่อป้องกันข้อถูกทำลายได้
  • โรค Juvenile idiopathic arthritis เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก ทำให้เกิดอาการปวด บวม เสียการทำงานของข้อ และอาจมีไข้และผื่นร่วมด้วยได้
  • Lupus หรือชื่อเต็มคือ Systemic lupus erythematosus (SLE) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อโรคพุ่มพวง เป็นโรคในกลุ่มแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง มีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 150,000 คน โดยระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยโรคนี้จะทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อที่ปกติของร่างกาย ทำให้มีการทำลายข้อและอวัยวะทั่วร่างกาย ผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 90% เป็นผู้หญิง
  • โรคข้อเสื่อม เป็นรูปแบบโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุด โดยมีผู้ใหญ่ประมาณ 27 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาที่เป็นโรคนี้ โรคนี้จะมีการทำลายกระดูกอ่อนและกระดูก ทำให้ข้อเกิดความไม่มั่นคงและมีอาการปวด
  • Polymyalgia rheumatic เป็นโรครูห์มาติกที่ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเป็นโรคหลอดเลือดแดงอักเสบ (โรค Giant cell arteritis) และสามารถทำให้เกิดอาการปวดหัว มีการอักเสบ น้ำหนักลด และมีไข้ได้ ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการข้อติดตอนเช้า ปวดหลังส่วนล่าง คอ สะโพก และไหล่ ซึ่งเกิดจากการทำลายเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ เอ็นยึดข้อ และเนื้อเยื่อในข้อได้
  • Psoriatic arthritis เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน ทำให้มีอาการปวดข้อนิ้วมือและนิ้วเท้า ทำให้เล็บมือและเล็บเท้ามีการเปลี่ยนรูป
  • Reactive arthritis หรือกลุ่มอาการ Reiter’s syndrome เป็นโรคข้ออักเสบที่กระดูกสันหลังอีกชนิดหนึ่ง มักมีอาการหลังจากการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะหรืออวัยวะอื่น ๆ ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจเกิดผื่นขึ้นที่ผิวหนัง เกิดแผลในปาก และปัญหาทางตาได้
  • โรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์ มีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 1.3 ล้านคน  โดยโรคนี้จะทำลายเยื่อบุภายในข้อ ทำให้เกิดข้อบวม ปวด และข้อติดทั่วร่างกาย โรคนี้แตกต่างจากโรครูห์มาติกอื่น ๆ เพราะเป็นโรคที่มีอาการแบบสมดุล กล่าวคือ หากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อบริเวณมือขวา มักจะมีอาการปวดที่ข้อเดียวกันของมือซ้ายด้วย โรคนี้สามารถพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า
  • โรคหนังแข็ง (Sclerodoma) เป็นโรครูห์มาติกที่ร่างกายมีการสร้างสารคอลลาเจนซึ่งเป็นพังผืดที่ทำหน้าที่เป็นเสริมโครงสร้างของผิวหนังและอวัยวะอื่น ๆ ออกมามากเกินไป โรคนี้สามารถส่งผลต่อหลอดเลือดและข้อได้ด้วย

ถึงแม้ว่าโรคในกลุ่มรูห์มาติกจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นก็คือหากสามารถตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกแล้วนั้น จะทำให้มีทางเลือกในการรักษาที่จะช่วยคงความสามารถในการเคลื่อนไหวและลดอาการปวดได้ ดังนั้นหากสงสัยว่าตัวคุณเป็นโรครูห์มาติก ควรปรึกษาแพทย์


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Brenda B. Spriggs, MD, MPH, FACP, What Are the Different Types of Rheumatic Diseases? (https://www.healthline.com/health/rheumatic-diseases), October 15, 2019
thaipediatrics, แนวทางการปฏิบัติมาตรฐานเพื่อ การวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกในประเทศไทย (http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20161208145841.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)