โรคไลม์ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่แพร่กระจายจากการโดนเห็บชนิด Blacklegged หรือ Deer tick กัด ชื่อของโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับประวัติในการค้นพบตัวโรคของพื้นที่ซึ่งมีชื่อว่า Lyme ในรัฐ Connecticut ในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษ 1970
เริ่มจากมีการพบการติดเชื้อที่คล้ายกับอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งพบได้ในเด็ก นักวิจัยตรวจสอบหาต้นเหตุที่อาจเป็นไปได้และวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่ก็พบว่าไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1981 เมื่อนักวิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างเห็บชนิด Deer tick และโรคไลม์ พร้อมกับค้นพบเชื้อแบคทีเรียที่เป็นทรงเกลียวหรือ Spirochetes ที่เป็นสาเหตุของโรคนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สาเหตุเกิดของโรคไลม์
โรคไลม์เกิดจากแบคทีเรีย Borrelia burgdorferi ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งโดยนักแบคทีเรียวิทยา Wilhelm Burgdorfer ผู้ค้นพบแบคทีเรียตัวนี้ เชื้อแบคทีเรีย B. burgdorferi แพร่เชื้อต่อสัตว์หลายประเภททั้งสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สัตว์ฟันแทะ เป็นต้น
แบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างของเห็บชนิด Blacklegged หรือ Deer tick เห็บชนิด Lxodes scapularis และเห็บชนิด Western blacklegged I. pacificus เมื่อเห็บอาศัยกินเลือดอยู่บนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มันเกาะ พวกมันจะแปลงสภาพเป็นเห็บที่ไม่สามารถเป็นตัวแก่ที่จะเติบโตสมบูรณ์ได้
เห็บชนิด Blacklegged ไม่กระโดดหรือบิน พวกมันมักจะไต่บนหญ้าหรือพุ่มไม้แล้วพยายามกางขาด้านบนออกและเกาะบนตัวมนุษย์หรือสัตว์ที่มันเจอ เห็บเหล่านี้สามารถดูดเลือดและเกาะบริเวณทุกส่วนของร่างกายได้ แต่เรามักพบพวกมันในจุดที่ไม่เป็นที่สะดุดตา เช่น รักแร้ ขาหนีบ และหนังศีรษะ เห็บสามารถส่งผ่านเชื้อแบคทีเรีย B. burgdorferi ไปที่มนุษย์หลังจากเกาะอยู่ที่ตัวมนุษย์เป็นเวลา 36-48 ชั่วโมง ผู้คนมันจะติดเชื้อจากโรคลายม์จากการโดนเห็บชนิด Blacklegged หรือชนิด Nymphs กัด แต่เพราะว่าแมลงเหล่านี้มีขนาดเล็กจึงมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเห็นรอยตั้งแต่เนิ่นๆ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคไลม์
คุณจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเป็นโรคไลม์หากคุณ
- ไม่กำจัดเห็บออกในทันทีที่เห็บมาเกาะ
- ทำกิจกรรมนอกบ้าน ทั้งทำสวน ล่าสัตว์ และเดินป่า โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มักเกิดการระบาดของโรคลายม์
- เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่อาจนำเห็บเข้ามาในบ้าน
- เดินผ่านพื้นที่ซึ่งมีหญ้าสูงและมีการแพร่ระบาดของโรคไลม์
การป้องกันโรคไลม์
ในการลดโอกาสของการติดโรคไลม์ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเห็บด้วยการตัดหญ้าหรือพุ่มไม้ ไม่ให้กองเรี่ยราด และถ้าคุณเดินหรือเดินป่าในพื้นที่เหล่านี้ ควรระมัดระวังตามคำแนะนำต่อไปนี้
- พยายามเดินตรงกลางของทางเดิน
- สวมใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่คลุมถุงเท้า
- สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อนเพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็นเห็บเมื่อเกาะอยู่บนตัว
- พ่นสเปรย์ยากันเห็บที่มีส่วนผสมของ DEET (N, N-diethyl-meta-toluamide) 20-30% บริเวณผิวหนังและเสื้อผ้า หรือป้ายเสื้อผ้าและอุปกรณ์ของคุณ รวมถึงทั้งรองเท้าบูทและเต้นท์ ด้วยผลิตภัณฑ์ทีมีส่วนผสมของ Permethrin 0.5 %
หลังจากที่ออกจากพื้นที่เหล่านี้แล้ว ควรตรวจสอบทั่วร่างกายของคุณ เสื้อผ้า อุปกรณ์ต่างๆ และสัตว์เลี้ยง ว่ามีเห็บติดอยู่หรือไม่ แล้วอย่าลืมอาบน้ำเพื่อชำระล้างเห็บที่มองไม่เห็น และฆ่าเห็บที่ติดอยู่บนเสื้อโดยการอบแห้งในเครื่องอบด้วยความร้อนสูงประมาณหนึ่งชั่วโมง หากพบเห็บให้ใช้แหนบคีบที่หัวหรือปากของเห็บเพื่อกำจัดออก อย่าใช้มือเปล่าจับเห็บทั้งตัวและห้ามพยายามบีบเห็บ
เกิดอาการคันที่ผิวหนังพอคันเสร็จสักพักผิวหนังจะพองมีน้ำใสข้างในถ้าเป็นมากถึงกับอักเสบและเป็นหนองอยากทราบว่าเกิดจากอะไรค่ะ