กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Multiple Sclerosis (โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 เม.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 11 นาที

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคของระบบประสาทส่วนกลางซึ่งประกอบไปด้วยเครือข่ายเส้นใยประสาทที่พบได้ทั่วสมอง ไขสันหลัง และตลอดร่างกาย ระบบประสาทประกอบจากเส้นใยประสาทที่มีหน้าที่ส่งผ่านกระแสไฟฟ้า โดยเส้นใยเหล่านี้จะถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อไขมันเรียกว่า ไมอีลิน (Myelin) ที่มีหน้าที่ช่วยในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า 

ในโรคปลอกประสาทแข็ง ปลอกไมอีลินที่หุ้มเส้นประสาทจะเกิดการอักเสบและค่อยๆ ถูกทำลายลง เหลือทิ้งไว้เพียงเนื้อเยื่อคล้ายแผลเป็นที่ขัดขวางการส่งกระแสประสาทระหว่างสมองและส่วนอื่นๆของร่างกาย นอกจากนี้ เส้นประสาทที่อยู่ภายในก็อาจถูกทำลายไปด้วย ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ ของโรคปลอกประสาทแข็ง ได้แก่ อาการชาหรือเสียวซ่าน ปัญหาการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก และสายตาพร่ามัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แม้โรคนี้จะพบได้ในทุกเพศทุกวัน แต่ผู้ป่วยด้วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะมีลักษณะบางประการที่คล้ายกัน ได้แก่

  • อายุ ส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการครั้งแรกตอนช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี
  • ชนชาติ ชาวคอเคเชี่ยนมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าชนชาติอื่นถึง 2 เท่า
  • เพศ ผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 2-3 เท่า
  • ภูมิอากาศ ประเทศในเขตอบอุ่น เช่น อเมริกาตอนเหนือ แคนาดา และยุโรป มีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าประเทศเขตร้อนถึง 5 เท่า
  • พันธุกรรม ผู้ที่มีญาติสายตรงที่เป็นโรคนี้จะมีโอกาสเกิดโรคได้มากกว่าปกติ 

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีรูปแบบต่างๆ ได้แก่

  • Relapsing-remitting MS (RRMS) ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นชุดเป็นช่วงๆ เรียกว่า Attack Flare หรือ Relapse โดยช่วงอาการ Attack จะตามมาด้วยช่วง Remission ที่มีอาการไม่รุนแรงเท่า อาการนี้อาจเกิดขึ้นยาวนานเป็นเดือน หรือเป็นปีก่อนจะเกิด Relapse ขึ้น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งประเภทนี้เป็นประเภทที่พบได้มากที่สุด ประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยจะพัฒนาต่อไปเป็นประเภท Secondary-progressive MS
  • Secondary-progressive MS (SPMS) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งรูปแบบนี้มักเกิดขึ้นหลังช่วง Relapse-remitting โดยอาการจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากอาการ Attack เฉียบพลัน ผู้ป่วยมากกว่าครื่งที่เริ่มจากอาการ RRMS จะพัฒนาเป็น SPMS ใน 10 ปี และเพิ่มสูงถึง 90% ใน 25 ปี
  • Primary-progressive MS (PPMS) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งรูปแบบนี้มีลักษณะเด่นที่อาการจะค่อยๆ ทรุดลง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการรุนแรงเฉียบพลัน พบได้ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทแข็งประมาณ 10-15%
  • Progressive-relapsing MS (PRMS) อาการของผู้ป่วยจะค่อยๆ ทรุดลง พร้อมทั้งมีอาการรุนแรงเฉียบพลันเป็นครั้งๆ เป็นรูปแบบที่พบได้ค่อนข้างยากกว่ารูปแบบอื่น พบได้น้อยกว่า 10% ของผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาการแสดงของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมักจะเริ่มจากปัญหาของการมองเห็น

ในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคเอ็มเอส ระบบภูมิคุ้มกันของคุณจะโจมตีปลอกประสาทซึ่งเป็นเยื่อหุ้มไขมันอยู่รอบใยประสาทและปกป้องใยประสาท จึงทำให้แผลเป็นที่เนื้อเยื่อ (sclerosis และมีชื่อเรียกว่า พล๊าก หรือรอยโรค) นั้นเกิดขึ้นบนใยประสาทและทำให้เสียกระบวนการไหลเวียนสิ่งเร้าที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าทั่วทั้งระบบประสาท

การที่ประสาทที่ถูกทำลายสามารถก่อให้เกิดอาการแสดงต่าง ๆ ของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาการไข้ การแช่น้ำร้อน การถูกแดด และความเครียด อาจกระตุ้นหรือทำให้อาการแสดงแย่ลงชั่วคราว

อาการแสดงระยะแรกของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาการแสดงของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งแตกต่างอย่างมากในแต่ละคน และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดต่าง ๆ มีอาการแสดงที่แตกต่างกันออกไปในบางครั้ง ดังนั้น มันเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดเดาว่าโรคจะพัฒนาในแต่ละคนอย่างไร

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมันจะประสบกับปัญหาทางสายตาก่อนเป็นอันดับแรก รวมถึงอาการมองไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน การบิดเบือนของสี และสภาวะที่เรียกว่าเส้นประสาทตาอักเสบ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดตาและสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการแสดงระยะแรกสามารถมีได้ดังนี้

  • กล้ามเนื้อที่อ่อนแอ ติดขัด และส่วนใหญ่มักจะมีอาการเจ็บปวด
  • อาการเหน็บ ปวดแปลบเหมือนโดนเข็มตำ หรืออาการชา (เหมือนมีปิ่นและเข็มแหลมมาคอยทิ่มแทงอยู่ตลอดเวลา) บริเวณแขน ขา ลำตัว และใบหน้า ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Paresthesia หรือความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน
  • ปัญหาการทรงตัวและความซุ่มซ่าม
  • ปัญหาในการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ หรือภาวะที่ต้องปัสสาวะทันที
  • อาการเวียนศีรษะเป็นระยะเวลานาน

อาการแสดงอื่น ๆ ของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาการอ่อนเพลีย คือหนึ่งในอาการแสดงที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนประมาณ 80% ที่เป็นโรคนี้ คุณอาจประสบกับอาการเหนื่อยทั้งวันหรือรู้สึกอ่อนเพลียง่ายจากการออกแรงทางร่างกายหรือจิตใจ

อาการทั่วไปอื่น ๆ ของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีดังนี้

  • อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน
  • ความผิดปกติทางเพศ เช่น โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ภาวะช่องคลอดแห้ง และการไม่ถึงจุดสุดยอดทางเพศ
  • ความยากลำบากในการเดินจากการที่กล้ามเนื้ออ่อนแอ มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ การสูญเสียการทรงตัว สูญเสียการรับรู้ความรู้สึกที่ผิวหนัง และอาการอ่อนเพลีย
  • อาการท้องผูก และภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง ที่ส่งผลกระทบต่อการให้ความสนใจ การใส่ใจ ความจำ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
  • ภาวะซึมเศร้าทางคลินิก
  • การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ชนิดอื่น ๆ เช่น อารมณ์แกว่ง ฉุนเฉี่ยวง่าย การหัวเราะและร้องไห้ที่ไม่สามารถควบคุมได้

อาการแสดงที่พบได้น้อยของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีดังนี้

  • อาการพูดไม่ชัด ลิ้นแข็งหรือ difficult-to-understand speech รวมถึงการขาดความสามารถที่จะออกเสียง  (โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง)
  • อาการสั่น ที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • อัมพาต
  • ปัญหาในเรื่องระบบทางเดินหายใจ
  • ความยากลำบากในการเคี้ยวและกลืน
  • อาการชัก
  • อาการคันผิวหนัง (pruritus)
  • ปัญหาการได้ยิน
  • อาการปวดหัว โดยเฉพาะ ไมเกรน

อาการปวดของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาการปวดโดยทั่วไปมีปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และปวดหลังเรื้อรังหรือปวดกล้ามเนื้อและกระดูกเรื้อรัง และโรคปวดเฉพาะที่ซึ่งเป็นอาการแสดงทั่วไปของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ความจริงแล้วมีประมาณ 93% ของผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งนั้นมีอาการปวด จากรายงานในวารสารวิชาการ Pain ของปี 2013 รายงานการศึกษานี้พบว่าอาการปวดหัวและ อาการปวดเหตุประสาท ในระดับที่รุนแรงที่สุดเป็นชนิดของการปวดที่พบบ่อยที่สุดที่ผู้ป่วยประสบได้ส่งผลกระทบต่อ 43% และ 26% ในผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งตามลำดับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประเภทการปวดของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่พบได้น้อยที่สุดนั้น พบได้บนใบหน้า มีชื่อว่า Trigeminal neuralgia จากรายงานการศึกษา

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าจะปวดเหมือนถูกเข็มแทงแบบเสียวแปล๊บบนใบหน้าที่เกิดจากการที่เส้นประสาทใบหน้าซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของใบหน้า และการรับรู้ความรู้สึกนั้นถูกทำลาย บางครั้งโรคนี้มีการสับสนกับอาการปวดฟัน

อีกหนึ่งประเภททั่วไปของอาการปวดจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคือ Lhermitte’s sign ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อทดสอบว่ามีการระคายเคืองต่อเยื่อหุ้มไขสันหลังหรือไม่ และตรวจโดยมีความรู้สึกเสียวแปล๊บคล้ายไฟฟ้าช๊อตวิ่งลงไปจากข้างหลังศีรษะลงไปตามแนวกระดูกสันหลังหรือลงไปตามแขนหรือขา ผู้ป่วยมักจะรู้สึกถึงอาการ Lhermitte’s sign เมื่อพวกเขาก้มคอไปข้างหน้า

การวินิจฉัยของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอาจยากต่อการวินิจฉัย นอกจากข้อเท็จจริงที่ว่าไม่มีการทดสอบชนิดเดียวที่สามารถตรวจหาโรคนี้ได้ อาการแสดงของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งสามารถเลียนแบบภาวะความเจ็บป่วยอื่น ๆ อีกมากมายและสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเวลาผ่านไป อาการแสดงอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล และสามารถเปลี่ยนได้ในแต่ละวันของบุคคลเดิม ในการวินิจฉัยโรค บุคลากรทางแพทย์ต่างใช้อุปกรณ์และการตรวจสอบมากมายเพื่อช่วยหาสาเหตุความเป็นไปได้อื่น ๆ

ประวัติทางการแพทย์: แพทย์จะถามหารายละเอียดเกี่ยวกับประวัติสุขภาพทั้งของส่วนตัวและครอบครัวและถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการแสดง ระยะเวลาของโรค และการเริ่มต้นของโรคอย่างระมัดระวัง

การตรวจร่างกาย: การตรวจร่างกายส่วนมากจะรวมถึงการตรวจเพื่อพิจารณาสุขภาพของประสาทและกล้ามเนื้อ แพทย์อาจมองหาจุดอ่อนในจุดเฉพาะของร่างกาย การเคลื่อนไหวของดวงตาที่ไม่ประสานกัน และปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว การมองเห็น และการพูด

การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI): ถ้าแพทย์สงสัยว่าคุณเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหลังการตรวจ พวกเขาจะให้คุณทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมซึ่งเริ่มต้นด้วยการตรวจ MRI สำหรับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง แพทย์จะใช้การสแกนสมองหรือไขสันหลังซึ่งขึ้นอยู่กับอาการแสดงและการตรวจร่างกาย ภาพผลลัพธ์สามารถแสดงรอยหรือแผลในระบบประสาทส่วนกลางที่ปลอกประสาทถูกทำลาย

เนื่องจากความผิดปกติอื่น ๆ สามารถทำให้เกิดพล๊ากเหล่านี้ การสแกน MRI ไม่สามารถให้หลักฐานที่แน่ชัดของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้ แต่แพทย์พึ่งการสแกน MRI เป็นหลักเพื่อหาหลักฐานของโรคนี้ การสแกน MRI ยังสำคัญในการติดตามการเจริญเติบโตของโรค และแพทย์อาจสั่งให้ทำการตรวจรอบใหม่ ๆ เป็นครั้งคราวเพื่อดูแลสภาวะของผู้ป่วย

การเก็บน้ำในสมองและในไขสันหลัง (CSF collection): ถ้าการวินิจฉัยนั้นยังไม่ชัดเจน แพทย์อาจนำตัวอย่างของน้ำไขสันหลัง แพทย์พิจารณาตัวอย่างเพื่อหาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มสูงขึ้นและระดับแอนตีบอดีที่สูงขึ้นซึ่งเรียกว่า immunoglobulin G

Evoked response tests (ERTs): การตรวจด้วยวิธีอิเล็คทรอนิกส์เหล่านี้บางครั้งมีชื่อเรียกว่า evoked potential tests ซึ่งใช้วัดความเร็วของการเชื่อมโยงของสมอง การตรวจ ERTs ที่พบบ่อยที่สุดคือ visual evoked response test (VER), brain stem auditory evoked response test (BAER), และ sensory evoked response test (SER)

ในแต่ละการตรวจ แพทย์จะแปะสายไฟลงบนหนังศีรษะของผู้ป่วย หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทของการตรวจ แพทย์จะให้การกระตุ้นทางสายตา การได้ยิน หรือการสัมผัส ตัวกระตุ้นเหล่านี้เป็นรูปแบบกระดานหมากรุกที่ผู้ป่วยเห็นบนจอมอนิเตอร์ กลุ่มของเสียงคลิ๊กที่พวกเขาได้ยินจากหูฟัง หรือสิ่งเร้าที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าสั้น ๆ ที่พวกเขารู้สึกบนแขนหรือขา

การตรวจเหล่านี้จะวัดความเร็วของวิถีของการมองเห็น การได้ยิน และการรับรู้ และสามารถดักจับจุดในสมองที่อาจถูกทำลายจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ยารักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

มียารักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหลายตัวที่ได้รับการรับรองในการช่วยชลอการเติบโตของโรคและช่วยผู้ป่วยควบคุมอาการแสดงของโรค ยารักษา โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS) ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นมีหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ ยาที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินของโรค สามารถช่วยชลอการเติบโตของโรคได้ ยาเหล่านี้ยังสามารถช่วยลดความถี่ รวมถึงความรุนแรงของการโจมตีของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอย่างเฉียบพลัน หรือ อาการกำเริบของโรค (การที่มีอาการแสดงใหม่ๆเกิดขึ้นหรืออาการแสดงที่เป็นอยู่นั้นแย่ลง)

ยารักษาอื่นๆ เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ ถูกใช้เพื่อควบคุมการโจมตีของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่รุนแรง ซึ่งเรียกกันว่าอาการกำเริบซ้ำ (flare-ups) หรือ อาการเป็นๆหายๆของโรค (การกำเริบ) นอกจากนี้ ยังมีการรักษาอีกมากมายเพื่อควบคุมอาการแสดงของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะและสำไส้ ความอ่อนเพลีย อาการเจ็บปวด ปัญหาทางเพศสัมพันธ์ และ ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง

การแก้ปัญหาสำหรับทุกวัน

เกร็ดความรู้ที่ปฏิบัติได้จริงสำหรับอาการขี้ลืมและปัญหาด้านการรับรู้อื่นๆ

เรียนรู้เพิ่มเติม

ยาที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินของโรคสำหรับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีอยู่ 4 ประเภทหลัก: โรคเอ็มเอสชนิดเป็นๆหายๆ (RRMS) โรคเอ็มเอสแบบการดำเนินโรคค่อยๆ รุดหน้าในภายระยะที่สอง   (SPMS) โรคเอ็มเอสแบบการดำเนินโรครุดหน้าตั้งแต่ระยะแรก (PPMS) และโรคเอ็มเอสชนิดที่มีทั้งการดำเนินโรครุดหน้าและมีลักษณะของการกลับเป็นซ้ำ (PRMS)

ยาที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินของโรคสามารถช่วยรักษาอาการเป็นๆหายๆของโรคนี้ได้เมื่อผู้ป่วยประสบกับการโจมตีของโรคอย่างเฉียบพลันและตามด้วยช่วงระยะที่อาการแสดงจะค่อนข้างเงียบและไม่รุนแรงเท่าช่วงก่อน  นอกจากนี้ ตัวยาเหล่านี้ยังช่วงลดรอยโรคที่พบได้บ่อยในการสแกนMRI แต่ทว่ายาเหล่านี้ไม่สามารถช่วยผู้ป่วยที่เป็นโรคเอ็มเอสแบบการดำเนินโรครุดหน้าตั้งแต่ระยะที่หนึ่ง โดยผู้ป่วยจะค่อยๆ มีอาการแสดงที่แย่ลงแทนที่จะมีการโจมตีของโรคอย่างเฉียบพลัน

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองยาเหล่านี้เพื่อรักษาอาการกำเริบของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง:

  • Aubagio (teriflunomide) ยาแคปซูลที่รับประทานวันละครั้งซึ่งปิดกั้นการผลิตเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  
  • Avonex และ Rebif (interferon beta-1a) และ Betaseron และ Extavia (interferon beta-1b) ที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ(intramuscular) หรือใต้ผิวหนัง (subcutaneous) มีความเชื่อกันว่ายาเหล่านี้ทำงานโดยการควบคุมการอักเสบของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)
  • Copaxone (glatiramer acetate) ยาฉีดใต้ผิวหนังที่โจมตี T cells ซึ่งจะโจมตีเยื่อไมอิลิน
  • Gilenya (fingolimod) ยาเม็ดที่รับประทานวันละครั้งซึ่งป้องกันT cells ไม่ให้ออกจากต่อมน้ำเหลืองและไหลเข้าสู่กระแสเลือด
  • Novantrone (mitoxantrone) ยากดภูมิคุ้มกันที่ใช้โดยฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ และเป็นยาตัวเดียวที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา(FDA) สำหรับโรคเอ็มเอสแบบการดำเนินโรคค่อยๆ รุดหน้าในภายหลัง
  • Plegridy (peginterferon beta-1a) ยากลุ่ม interferon ที่ออกฤทธิ์ยาว
  • Tecfidera (dimethyl fumarate) ยาแคปซูลที่รับประทานวันละ 2 ครั้งซึ่งลดการอักเสบของระบบประสาทส่วนกลางและความสามารถของเซลล์ภูมิคุ้มกันที่จะเข้าไปในระบบประสาทส่วนกลาง
  • Tysabri (natalizumab) ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้าๆที่ทำงานด้วยการรวมตัวกับเซลล์เม็ดเลือดขาวและโจมตีการเคลื่อนไหวของเซลล์เหล่านี้จากกระแสเลือดเข้าไปในระบบประสาทส่วนกลาง  
  • Zinbryta (daclizumab) ยาฉีดใต้ผิวหนังที่ใช้เดือนละซึ่งออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกันเพื่อลดอาการอักเสบของอาการที่เกี่ยวกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง มีการแนะนำให้ใช้ยาตัวนี้กับผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อยารักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งตัวอื่นๆมากกว่า 1-2 ตัว

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยังได้รับรองยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้าๆ  Lemtrada (alemtuzumab) สำหรับผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งประเภทที่มีอาการกำเริบและไม่ตอบสนองต่อยาที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินของโรค 1-2 ตัวได้ดีพอ

Alemtuzumab ออกฤทธิ์อย่างรวดเร็วโดยการลดจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกาย (T cell และ B cell) ที่หยุดส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันเพียงชั่วคราวภายในระบบประสาทส่วนกลางของคุณและทำให้ร่างกายคุณสามารถสร่างเซลล์ใหม่ที่อาจไม่จู่โจมเยื่อไมอิลีนได้  

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) แนะนำให้ใช้ยาตัวนี้เป็นยารองเท่านั้น (ใช้หลังจากที่ยาตัวอื่นๆไม่ตอบสนอง) เพราะยาตัวนี้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการติดเชื้อที่รุนแรง การเจริญเติบโตของโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองใหม่ๆ และสภาวะร้ายแรงอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้

การรักษาสำหรับการโจมตีอย่างเฉียบพลัน

สำหรับการโจมตีอย่างเฉียบพลันของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งโดยเฉพาะในกรณีที่รุนแรงมากๆซึ่งส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว ความปลอดภัย หรือความสามารถในการทำงานของผู้ป่วย แพทย์อาจจ่ายยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาเหล่านี้จะช่วยรักษาการโจมตีของโรคด้วยการลดการอักเสบของร่างกาย

ตัวอย่างยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ มีดังนี้:

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถต้านทานยากลุ่มสเตียรอยด์ได้ การรักษาที่เรียกกันว่า plasmapheresis (การฟอกเลือดชนิดหนึ่ง) เป็นอีกหนทางที่มีไว้สำหรับผู้ป่วย พลาสมาเป็นของเหลวในเลือดของคุณซึ่งมี autoantibodies โปรตีนประเภทหนึ่งที่ระบบภูมิคุ้มกันผลิตขึ้นเพื่อโจมตีเซลล์และเนื้อเยื่อภายในร่างกาย การทำ Plasmapheresis จะทำการแยกพลาสมาออกจากเซลล์เม็ดเลือดแดงของคุณแล้วนำเซลล์เม็ดเลือดแดงของคุณพร้อมกับพลาสมาที่สดใหม่หรือพลาสมาทดแทนกลับไปในร่างกายของคุณ ในระหว่างและหลังจากช่วงการโจมตีที่เฉียบพลัน แพทย์อาจแนะนำการรักษาที่หลากหลายเพื่อบรรเทาอาการ เช่น i:

  • กายภาพบำบัด
  • การใช้ม้าเพื่อช่วยในการเดิน
  • การฟื้นฟูระบบประสาทและสมอง (การบำบัดด้วยการพูด จิตบำบัด และวิชาชีพกิจกรรมบำบัด) เพื่อช่วยผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งในเรื่องปัญหาด้านการรับรู้ อารมณ์และระบบประสาทและสมอง

การควบคุมอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาการแสดงของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งนั้นมีหลากหลาย แพทย์จึงมักจ่ายยาหลายประเภทเพื่อบรรเทาอาการแสดงต่างๆของผู้ป่วย

ยาเหล่านี้อาจรวมถึง:

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทแข็งมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายมากกว่า 80% บางคนอาจมีปัญหาเรื่องการอั้นปัสสาวะ ในขณะที่บางคนอาจปัสสาวะได้ไม่สุด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่ไตตามมา หากเชื้อโรคดังกล่าวเข้าไปตามกระแสเลือด ก็จะเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย และทำให้อวัยวะอื่นๆ วายได้ ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ถือเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

สาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่นเดียวกับ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน และโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเดิมจากที่ระบบภูมิคุ้มกันจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ก็จะเปลี่ยนมาโจมตีปลอกไมอีลินในระบบประสาทส่วนกลางแทน นักวิทยาศาสตร์บางคนก็สงสัยว่าการโจมตีเหล่านี้อาจถูกกระตุ้นด้วยการติดเชื้อไวรัสบางชนิด และนักวิทยาศาสตร์บางคนก็พบว่ามีคนบางกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคได้ จึงคิดว่ามีองค์ประกอบของกรรมพันธ์ุเข้ามาเกี่ยวข้อง


71 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Multiple Sclerosis (MS): What Is It, Symptoms, Causes, & Much More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/multiple-sclerosis)
Multiple sclerosis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/multiple-sclerosis/)
Multiple Sclerosis (MS) Center: Symptoms, Treatments, Diagnosis, Stages, and Causes. WebMD. (https://www.webmd.com/multiple-sclerosis/default.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ถ้าเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมจริง สามารถหายได้ไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
โรคปลอกประสาทอักเสบ อยากรู้ว่าต้องรักษาแบบไหนทำยังไงถึงจะหายค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หมอบอกว่าเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อม แข็งแรก อาการของโรค ได้แก่ ตามัว มองภาพเห็นไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน สะอึกไม่หยุด แขนขาอ่อนแรง อาจอ่อนแรง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)