ภาวะผิดปกติของช่องไขสันหลังนี้ ส่วนมากมักมีอาการปวดหลัง แต่บางครั้งอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย ช่องไขสันหลังตีบ (spinal stenosis) หรือบางครั้งเรียกว่ากระดูกสันหลังตีบ (vertebral stenosis) เป็นภาวะที่ช่องไขสันหลังของคุณแคบลง ส่งผลให้กระดูก หรือส่วนอื่น ๆ ของสันหลังกดทับเส้นประสาทไขสันหลังและเส้นประสาทอื่นๆ
โรคนี้มักแสดงอาการบริเวณแขน ขา และหลัง ซึ่งอาการอาจมีดังต่อไปนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ปวด
- ชา
- อ่อนแรง
- เป็นเหน็บ
ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่คนอายุน้อยก็อาจเป็นได้ หากมีโรคบางอย่าง เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณหลัง หรือมีช่องไขสันหลังแคบกว่าปกติแต่กำเนิด
ตำแหน่งของช่องไขสันหลังตีบ
ช่องไขสันหลังตีบสามารถเกิดขึ้นที่กระดูกสันหลังระดับใดก็ได้ ซึ่งในแต่ละระดับจะแสดงอาการต่างกัน
ตำแหน่งที่เกิดได้บ่อย และอาการที่พบ :
- การตีบแคบบริเวณส่วนกลางของประสาทไขสันหลัง ทำให้มีอาการชา ปวด หรืออ่อนแรง บริเวณแขนและขา
- การตีบแคบบริเวณฐานของกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง ทำให้มีอาการปวดหลังร้าวลงขา (sciatica)
- การตีบแคบบริเวณช่องระหว่างกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจกดทับเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย อาจทำให้เกิดอาการชา อ่อนแรง และปวดหลังร้าวลงขา
ช่องไขสันหลังตีบ มักเกิดบริเวณเส้นประสาทไขสันหลังส่วนคอ ใกล้กับศีรษะและลำคอ หรือบริเวณบั้นเอวและหลังช่วงล่าง
อุบัติการณ์
ช่องไขสันหลังตีบเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก ข้อมูลจากวารสาร Spine Journal ในปี 2009 พบว่า โดยการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography (CT)) พบว่า 1 ใน 3 ของผู้เข้าร่วมการวิจัย มีภาวะไขสันหลังระดับบั้นเอวตีบไม่มากก็น้อย ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่มีอายุ 60-69 ปีจะนวน 2 ใน 3 มีภาวะช่องไขสันหลังตีบ ในขณะที่กลุ่มอายุน้อยกว่า 40 ปีพบภาวะนี้ได้น้อยกว่า 1 ใน 4 ผู้เข้าร่วมวิจัยส่วนมากมีภาวะช่องไขสันหลังตีบเบื้องต้น และอาจไม่มีอาการใด ๆ เช่น ปวดหลัง
สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของภาวะช่องไขสันหลังตีบ
อายุที่มากขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิดช่องไขสันหลังตีบ กระดูก และพังผืดที่มีอายุมาก จะค่อย ๆ หนาตัวขึ้น และยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้ช่องว่างระหว่างมันแคบลง อาจมีกระดูกงอกมากดเส้นประสาทไขสันหลังและเส้นประสาท โรคบางชนิดอาจทำให้เกิดการตีบของช่องไขสันหลังได้ เช่น โรคกระดูกและข้ออักเสบ (osteoarthritis) เป็นภาวะที่กระดูกอ่อนในข้อสลายไป ทำให้มีกระดูกงอกและกดทับช่องไขสันหลัง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) เป็นโรคที่เกิดการอักเสบและบวมของเนื้อเยื่ออ่อนภายในข้อ ซึ่งทำให้ช่องไขสันหลังตีบแคบลงได้เช่นกัน โรคพาเจ็ท (Paget’s disease) ซึ่งทำให้กระดูกเจริญผิดปกติ รวมถึงกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดช่องไขสันหลังตีบได้ เนื้องอกไขสันหลัง อาจกดทับประสาทไขสันหลัง หรือเส้นประสาทแขนง ทำให้มีอาการเหมือนภาวะช่องไขสันหลังตีบได้ การบาดเจ็บต่าง ๆ เช่น หมอนรองกระดูกปลิ้น ก็ทำให้เกิดภาวะช่องไขสันหลังตีบได้เช่นกัน หรือการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือการบาดเจ็บจากสาเหตุอื่น อาจทำให้แนวกระดูกสันหลังผิดปกติ ทำให้ช่องว่างสำหรับเส้นประสาทแคบลงได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของภาวะช่องไขสันหลังตีบ
บางครั้ง คุณอาจไม่มีอาการอะไรเลย อาการทั่วไปของช่องไขสันหลังตีบ ได้แก่ อาการปวด ชา อ่อนแรง หรือเป็นเหน็บ
อาการเหล่านี้พบได้บ่อยบริเวณแขนขา แต่ก็อาจเกิดที่หลังได้เช่นกัน
กลุ่มอาการคอดา อีไควนา (Cauda equina syndrome)
กลุ่มอาการนี้พบได้น้อยมาก และถือเป็นภาวะช่องไขสันหลังตีบที่รุนแรง คอดา อีไควนา (cauda equine) เป็นกลุ่มของเส้นประสาทบริเวณช่วงล่างของไขสันหลัง การตีบของช่องไขสันหลังบริเวณนี้ ทำให้เกิดอาการกลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ มีปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์ และสูญเสียความรู้สึกบริเวณขา
การรักษาภาวะช่องไขสันหลังตีบ
ผู้ที่มีภาวะช่องไขสันหลังตีบ ควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวบางท่า ซึ่งอาจทำให้อาการแย่ลงในทางกลับกัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพ แนะนำให้ออกกำลังกายโดยการยืดเหยียด งอ และเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังอาจเป็นประโยชน์
ยาที่ใช้บ่อย ได้แก่
- ไอบิวโพรเฟน (ibuprofen – Advil, Motrin) และยาแก้ป่วดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
- ไซโคลเบนซาพรีน (cyclobenzaprine – Flexeril) และยาคลายกล้ามเนื้ออื่น ๆ
- อะมิทริปทิลีน (amitriptyline – Elavil) และยาลดอาการซึมเศร้ากลุ่มไทรไซคลิก แอนติดีเพรสแซนท์ (tricyclic antidepressants)
- กาบาเพนทิน (gabapentin – Neurontin) และยากันชักอื่น ๆ
- ออกซีโคโดน (oxycodone – Percocet) และยากลุ่มที่เป็นอนุพันธ์ของมอร์ฟีน
ในบางราย อุปกรณ์ทางภาพบำบัด เช่น เกราะหลัง สายรัดหลัง ไม้เท้า ที่ช่วยเดิน อาจช่วยลดอาการลงได้ จากบางการศึกษาวิจัย การฝังเข็มซึ่งเป็นการใช้เข็มขนาดเล็กฝังลงไปเพื่อกระตุ้นในบริเวณจำเพาะของร่างกาย อาจช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ การประคบร้อนหรือประคบเย็นบริเวณคอ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดในผู้มีภาวะช่องไขสันหลังส่วนคอตีบได้ การลดน้ำหนักอาจช่วยลดอาการปวดบริเวณบั้นเอวและหลังส่วนล่างได้ เนื่องจากเป็นการลดภาระการรับน้ำหนักของหลัง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
การผ่าตัดอาจจำเป็นในกรณีที่อาการชา หรืออ่อนแรงทำให้เกิดปัญหาในการเดิน หรือมีอาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีอาการเหล่านี้ แต่ควรเริ่มรักษาโดยไม่ใช้การผ่าตัดก่อน ซึ่งส่วนมากมักช่วยบรรเทาอาการได้ การผ่าตัดมักช่วยลดอาการของช่องไขสันหลังตีบได้ แต่อาจกลับมีอาการได้อีกแม้หลังผ่าตัดไปแล้ว การผ่าตัดโดยทั่วไป มี 3 แบบ ได้แก่
Laminectomy (ลามิเน็คโทมี่) เป็นการตัดส่วนหลัง ของกระดูกสันหลังออก เพื่อให้มีช่องว่างสำหรับเส้นประสาทมากขึ้น การผ่าตัดนี้ อาจต้องมีการเชื่อมกระดูกสันหลัง หรือใส่อุปกรณ์เพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูกสันหลัง
Laminotomy (ลามิโนโทมี) กรณีนี้ ศัลยแพทย์กระดูกจะตัดชิ้นของกระดูกสันหลังขนาดเล็กกว่าวิธีแรก วิธีการนี้ คาดว่าจะส่งผลข้างเคียงน้อยกว่า เนื่องจากกระดูกสันหลังถูกตัดออกเพียงเล็กน้อย จึงไม่ส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูกสันหลัง
Laminoplasty (ลามิโนพลาสที) วิธีการนี้ เป็นการใส่ชิ้นโลหะเข้าไปเพื่อจัดและเสริมความแข็งแรงของแนวกระดูกสันหลัง
ดิฉันเคยผ่านการเจาะไขสันหลังมาคะ มักจะมีอาการปวดเอวอยู่บ่อยๆคะ ไม่ทราบว่ามันเดี่ยวข้องกันหรือป่าวคะ