กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ยาคลายกล้ามเนื้อจำเป็นหรือไม่?

รู้จักตัวยาและผลข้างเคียงก่อนตัดสินใจใช้ เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของตัวคุณเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที
ยาคลายกล้ามเนื้อจำเป็นหรือไม่?

อาการปวดคอ หรือหลัง หรืออาการกล้ามเนื้อหดเกร็งจากภาวะอื่นๆ  หากใช้ ยาคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อส่วนหนึ่ง หรือหลายส่วนหยุดเกร็ง หรือกระตุก ซึ่งอาการเหล่านี้อยู่นอกเหนือการควบคุม เกิดได้จากหลายสาเหตุและบางครั้งก็สร้างความเจ็บปวดร่วมด้วย

ในปัจจุบันการรักษาอาการทางกล้ามเนื้อมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์รวมถึงข้อบ่งชี้ของอาการด้วยว่า เหมาะกับการรักษาวิธีใด ทั้งนี้ยาคลายกล้ามเนื้อเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาอาการทางกล้ามเนื้อได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณต้องได้รับยาคลายกล้ามเนื้อเมื่อไร?

แพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น อิบูโพรเฟน ไทลีนอล เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อก่อน แต่หากใช้ยาเหล่านี้ไม่ได้ผล หรือคุณอยู่ในกลุ่มที่ไม่สามารถใช้ยาเหล่านี้ได้ เนื่องจากมีปัญหาโรคตับ หรือมีแผลในกระเพาะอาหาร คุณอาจต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อแทน นอกจากนี้หากคุณมีอาการเจ็บปวดที่รบกวนการนอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้ออาจเป็นตัวเลือกการรักษาสำหรับคุณ เนื่องจากยาคลายกล้ามเนื้อมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนได้

ผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อ

ไม่ว่าคุณจะใช้ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดใดก็ตาม ย่อมมีผลข้างเคียงจากยาอย่างน้อยหนึ่งอย่างแน่นอน แต่ยาคลายกล้ามเนื้อบางตัวก็อาจมีผลข้างเคียงรุนแรงกว่าตัวอื่น เช่น ก่อความเสียหายต่อตับ ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการใช้ยาเพื่อหาว่า ยาตัวไหนเหมาะสมกับคุณที่สุด

ผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อยที่สุด ดังนี้

ข้อควรระวังในการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ

  • ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ขณะที่รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ เนื่องจากจะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งการรับประทานยาร่วมกับแอลกอฮอล์จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากขึ้นได้
  • ไม่ควรขับรถ หรือใช้งานเครื่องจักรหนักใดๆ หากต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ เนื่องจากยาบางตัวจะออกฤทธิ์หลังจากรับประทานเข้าไปแล้ว 30 นาที และอาจออกฤทธิ์ได้นาน 4 ถึง 6 ชั่วโมง

การเสพติดและการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อผิดวิธี

ผู้ใช้ยาคลายกล้ามเนื้ออาจเกิดเสพติดยาได้หากใช้ยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หรือใช้ยาเกินขนาดที่แพทย์แนะนำไว้  ตัวอย่างยาคลายกล้ามเนื้อในกลุ่มนี้ เช่น ยาคาริโซโพรดอล (carisoprodol) เป็นยาที่อยู่ในสูตรผสมของยาแก้ปวดซึ่งจัดเป็นยาควบคุมในประเภทที่ 4 (schedule IV controlled substance)   ยาไซโคลเบนซาพริน (เฟลซิริน)  เป็นต้น

การติดยาคลายกล้ามเนื้ออาจหมายถึง ร่างกายของคุณจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามปกติ หากสังเกตถึงการเสพติดนี้ หรือสังเกตเห็นอาการนอนไม่หลับ อาเจียน หรือวิตกกังวลเมื่อหยุดยา แสดงว่า คุณกำลังอยู่ในระยะถอนยาซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก ดังนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้ลดปริมาณยาที่ได้รับไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ เพื่อเลี่ยงอาการถอนยาที่รุนแรงเกินไป

ไซโครเบนซาพรีน (Flexeril, Amrix) คืออะไร

(ยานี้ยกเลิกทะเบียนแล้ว และไม่มีขายในประเทศไทย - ณ เดือน ก.ค. 2561)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ไซโครเบนซาพรีนเป็นชื่อสามัญของยายี่ห้อ Flexeril  Amrix   Fexmid และ FusePaqTabradol เป็นยาคลายกล้ามเนื้อที่ช่วยลดอาการปวดและความไม่สบายตัวที่มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อตึง เคล็ดขัดยอก และอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ

ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้ มักใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษาเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และยังรวมไปถึงการใช้เพื่อการพักกล้ามเนื้อและการกายภาพบำบัด ไซโครเบนซาพรีนยังมีไว้เพื่อรักษาอาการโรคเรื้อรังที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก ความอ่อนล้า และความไวต่อความเจ็บปวดในบริเวณที่มีอาการ (fibromyalgia)

ไซโครเบนซาพรีนจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งจะปิดกันการกระตุ้นของเส้นประสาท (หรืออาการปวด) ที่ถูกส่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อ ไซโครเบนซาพรีนเป็นตัวยาทางเคมีที่ออกฤทธิ์แบบเดียวกับกลุ่มของยารักษาอาการซึมเศร้า (antidepressants) หรือที่เรียกว่า tricyclic antidepressants

ไซโครเบนซาพรีนได้รับการอนุญาตให้ใช้ครั้งแรกโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ในปี 1997 ภายใต้ยี่ห้อ Flexeril ซึ่งปัจจุบันผลิตโดยบริษัท PD-RX Pharmaceuticals

ข้อควรระวังในการใช้ยาไซโครเบนซาพรีน

ห้ามใช้ยานี้หากคุณได้รับยา a monoamine oxidase inhibitor (MAOIs) เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งยา MAOIs ที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้าและโรคพาร์กินสันที่ว่านี้ ได้แก่

  • Isocarboxazid (Marplan)
  • Linezolid (Zyvox)
  • Phenelzine (Nardil)
  • Rasagiline (Azilect)
  • Selegiline (Emsam)
  • Tranylcypromine (Parnate)

การใช้ยา MAOI กับ cyclobenzaprine ทั้งสองอย่างร่วมกัน อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต ห้ามรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้หากมีประวัติเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคหัวใจวาย หรือการเต้นของหัวใจผิดปกติ การอุดตันในเส้นเลือดของหัวใจ หรือภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย ผู้ที่มีอายุ 65 ปีหรือมากกว่า 65 ปีไม่ควรใช้ยานี้เนื่องจากจะเกิดผลข้างเคียงมาก มียาที่สามารถใช้รักษาอาการเหล่านี้ได้ปลอดภัยกว่าและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าสำหรับผู้ป่วยในกลุ่มอายุดังกล่าว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ (ตับวาย) มักไวต่อฤทธิ์ยาและยาคลายกล้ามเนื้อตัวนี้อาจทำให้เกิดอาการหอบหืดได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน ถ้าหากคุณอยู่ในระหว่างใช้ยารักษาภาวะซึมเศร้า อาการชัก อาการภูมิแพ้ ไอหรือหวัด หรือถ้าคุณใช้ยานอนหลับ ยาระงับประสาท หรือวิตามิน ก่อนที่จะให้ยาเพื่อการรักษา แพทย์ หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพของคุณควรทราบก่อนว่า คุณเคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีไทรอยด์ (overactive thyroidต้อหิน หรือเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะติดขัดหรือไม่ 

คุณควรแจ้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติของใบสั่งยาทั้งหมด หรือยาที่ไม่มีใบสั่งยา (non-prescription) ยาตามร้านทั่วไป (over-the-counter) ยาเสพติดและยาที่ใช้เพื่อผ่อนคลาย ยาสมุนไพร อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และยาอื่นๆ ที่เคยใช้

การใช้ไซโครเบนซาพรีนในปริมาณ "มาก" และการใช้ที่ผิดวิธี

Numerous online and anecdotal ได้รายงานเกี่ยวกับคนที่ใช้ไซโครเบนซาพรีนผิดวิธีโดยใช้เป็นยาเสพติดในปริมาณสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเซื่องซึม ยาไซโครเบนซาพรีน (cyclobenzaprine) สามารถทำให้เกิดการหลั่งกรดและน้ำย่อยในระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ (หากใช้ยานี้ในระดับปกติ ยานี้อาจรบกวนการทำงานของสารสื่อประสาทบางอย่างในสมอง) การใช้ยาในปริมาณมากอาจนำไปสู่ความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจได้

การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรุนแรง  สภาวะระบบประสาทที่ทำให้สูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงมาแล้ว   ตามที่ the Los Angeles coroner's office รายงานไว้ว่า วิทนีย์ ฮูสตันซึ่งเป็นนักร้อง เธอใช้ยารักษาโรคถึง 5 ตัวในการรักษาอาการเจ็บป่วย  จากนั้นเธอเสียชีวิตจากการจมน้ำในอ่างอาบน้ำเมื่อปี ค.ศ. 2012  หนึ่งในยาห้าชนิดที่ว่านั้นมีไซโครเบนซาพรีนรวมอยู่ด้วย การใช้ยาไซโครเบนซาพรีนควรใช้ตามที่แพทย์ได้กำหนดเท่านั้น และเก็บยานี้ให้ห่างจากมือเด็ก วัยรุ่น หรือใครก็ตามที่ไม่ได้รับยานี้ตามแพทย์สั่ง

หญิงตั้งครรภ์กับการใช้ไซโครเบนซาพรีน

ควรปรึกษา หรือวางแผนการตั้งครรภ์กับแพทย์ก่อนที่จะมีการใช้ไซโครเบนซาพรีน ในช่วงตั้งครรภ์หากต้องการใช้ยาควรพิจารณาประโยชน์ที่ได้รับเปรียบเทียบกับความเสี่ยง โดยแพทย์อาจช่วยตัดสินใจได้ว่า การใช้ยานี้จะเหมาะสมกับคุณหรือไม่  นอกจากนี้ยังต้องแจ้งแพทย์ด้วย หากอยุ่ระหว่างให้นมบุตร  หรือจะต้องให้นมบุตรในอนาคต จากการศึกษายังไม่พบข้อมูลว่า ไซโครเบนซาพรีน (cyclobenzaprine) ผ่านเข้าสู่น้ำนมได้อย่างไร แต่การศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีผลเหมือนกับยาตัวอื่นๆ

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับการใช้ยาไซโครเบนซาพรีน

ผลข้างเคียงที่พบโดยทั่วไปของ cyclobenzaprine ได้แก่ ง่วงนอน  วิงเวียนศีรษะ  ปากแห้ง  ท้องผูก  ร่างกายอ่อนเพลีย   หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ทันทีและบอกรายละเอียดของผลข้างเคียงเหล่านี้ที่เป็นอยู่หรือมีอาการแย่ลง 

ผลข้างเคียงที่รุนแรงของ cycolobenzaprine ได้แก่  หัวใจเต้นเร็ว หรือผิดปกติ   การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือทางจิต (เช่น ความสับสนหรือเห็นภาพหลอน)   ปัญหาเกี่ยวกับปัสสาวะ   ปวดทรวงอก ไข้  อาการชัก

อาการแพ้ยาอย่างรุนแรงเกิดขึ้นได้ยากจากการใช้ยานี้ แต่ต้องพบแพทย์ทันทีหากมีอาการใดๆ ต่อไปนี้  ได้แก่ ผื่น  อาการคัน  อาการบวม (โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้น หรือลำคอ)   เวียนศีรษะอย่างรุนแรงมีปัญหาในการหายใจ

การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้ร่วมกับยาต้านอาการซึมเศร้าอาจทำให้เกิดเป็นอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา (serotonin syndrome) และอาจถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งกลุ่มอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา (serotonin syndrome) ได้แก่

  • เกิดความสับสน
  • เกิดการร้อนรนหรือกระวนกระวายใจ
  • รูม่านตาขยาย
  • ปวดหัว
  • ความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลง
  • อุณหภูมิของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ท้องร่วงอย่างรุนแรง
  • อัตราการเต้นหัวใจอย่างรวดเร็ว
  • สูญเสียการประสานงานของกล้ามเนื้อหรือกระตุก
  • สั่น หรือขนลุก
  • เหงื่อออกมาก

ปฏิกิริยาของไซโครเบนซาพรีน

การใช้ยาไซโครเบนซาพรีนร่วมกับ MAOI อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

จากการวิจัยทางคลินิกอย่างน้อยหนึ่งงานพบว่า ความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นกลุ่มอาการ serotonin syndrome (ภาวะที่มี serotonin มากเกินไปในสมอง ซึ่งทำให้มีอาการต่างๆ รวมกัน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้) จะเกิดในผู้ป่วยที่ใช้ยายาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้ผสมกับยารักษากลุ่มอาการของโรค serotonin syndrome เช่นเดียวกับดูล็อกซีทีนที่ใช้รักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน (Cymbalta)

ไซโครเบนซาพรีนยังมีปฏิกิริยาไปกดระบบประสาทส่วนกลาง (ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง) เช่นเดียวกับยากลุ่มนี้ ได้แก่ โอปิออยด์ (opioids) เบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) นอนเบนโซไดอะซีปีน (nonbenzodiazepines) ฟีโดนไทอาซีน (phenothiazines) ยาเคมีบำบัดบางชนิด (certain chemotherapies) และ บาร์บิทูเรต (barbiturates) และการใช้ยารักษาอาการซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic Antidepressants-TCA) ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ amitriptyline, nortryptyline, imipramine ร่วมกับไซโครเบนซาพรีนอาจมีโอกาสเพิ่มผลข้างเคียงได้อีกด้วย

แอลกอฮอล์กับไซโครเบนซาพรีน

ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้อาจทำให้คุณรู้สึกง่วง การดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้  เพื่อความปลอดภัยคุณต้องหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ขณะที่มีการใช้ยาไซโครเบนซาพรีน

ปริมาณยาไซโครเบนซาพรีนที่รับประทานต่อครั้ง

ไซโครเบนซาพรีนเป็นยาที่ใช้รักษาด้วยการรับประทาน (มีทั้งรูปแบบเม็ดและแคปซูลชนิดค่อยๆ ออกฤทธิ์) แพทย์อาจเริ่มให้ปริมาณยาที่ 5 มิลลิกรัมของยาเม็ดขนาดปกติ 3 ครั้งต่อวัน ยาเม็ดชนิดที่ค่อยๆ ออกฤทธิ์ ให้ในปริมาณ 1 ครั้งต่อวัน อาจเพิ่มปริมาณการให้ยาได้ 

หากยังมีอาการปวดอยู่ ยานี้ไม่จำเป็นจะต้องใช้ระยะยาว จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อาการปวดลดลงในเวลา 2 สัปดาห์แรก ซึ่งจะให้ผลดีใน 2 - 3 วันแรก แต่การใช้ยาหลังจากนั้นจะไม่ค่อยเกิดประโยชน์ ห้ามรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อนี้ติดต่อกัน 3 สัปดาห์โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือผู้ที่มีอายุ 65 ปี อาจใช้ยานี้ได้ในปริมาณต่ำ ทุกครั้งที่กินยาไซโครเบนซาพรีนควรดื่มน้ำตามมากๆ และกลืนยาให้หมดทุกครั้งเสมอ

การใช้ยาไซโครเบนซาพรีนเกินขนาด

อาการที่เกิดจากการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้เกินขนาด ได้แก่  ปวดทรวงอก   การชัก   หลอน   อาเจียน   หัวใจเต้นอย่างรวดเร็ว   ง่วงนอน   พูดไม่ชัด

เมื่อลืมรับประทานยาไซโครเบนซาพรีน ควรทำอย่างไร?

  • ให้รับประทานยาเม็ดที่คุณลืมไปทันทีที่คุณจำได้ 
  • งดรับประทานยาเม็ดที่ลืมหากใกล้ถึงเวลาที่จะต้องรับประทานยาครั้งต่อไป 
  • เมื่อลืมรับประทานยาแล้ว ห้ามรับประทานยานี้เพิ่มเป็น 2 เท่า

รูปลักษณ์ของยาไซโครเบนซาพรีน

Flexeril 10 mg เม็ดยาเป็นสีเหลือง, เป็นรูปห้าเหลี่ยม

Cyclobenzaprine 10 mg-TEV เม็ดยาเป็นสีเหลือง, เป็นรูปวงกลม, เคลือบฟิล์ม

Cyclobenzaprine 10 mg-SCH เม็ดยามีสีขาว, เป็นรูปวงกลม, เคลือบฟิล์ม

Cyclobenzaprine 10 mg-MYL เม็ดยามีสีส้ม, เป็นรูปวงกลม, เคลือบฟิล์ม

Cyclobenzaprine 5 mg-MYL เม็ดยามีสีฟ้า, เป็นรูปวงกลม, เคลือบฟิล์ม

Cyclobenzaprine 5 mg-WAT เม็ดยามีสีขาว, เป็นรูปวงกลม, เคลือบฟิล์ม

Cyclobenzaprine 10 mg-WAT เม็ดยามีสีขาว, เป็นรูปวงกลม, เคลือบฟิล์ม

Cyclobenzaprine 10 mg-GG เม็ดยามีสีเหลือง, เป็นรูปวงกลม

Cyclobenzaprine 10 mg-AMN เม็ดยามีสีเหลือง, เป็นรูปวงกลม

Flexeril 5 mg เม็ดยาเป็นสีลูกพีช, เป็นรูปห้าเหลี่ยม, เคลือบฟิล์ม

Cyclobenzaprine 10 mg-MUT เม็ดยามีสีขาว, เป็นรูปวงกลม, เคลือบฟิล์ม

คำถามเกี่ยวกับยาไซโครเบนซาพรีน

คำถาม: ฉันไม่สามารถรับยา cyclobenzaprine 10 mg ตามใบสั่งแพทย์ได้ในหนึ่งสัปดาห์ และฉันไม่ใช้ยานี้รักษารวมทั้งไม่ได้ไปพบแพทย์ด้วย มียาอื่นที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาโดยแพทย์เพื่อใช้รักษาทดแทนยานี้หรือไม่ ?

คำตอบ: Cyclobenzaprine (Flexeril) เป็นตัวยาที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำงานโดยไปปิดกั้นแรงกระตุ้นของเส้นประสาท (หรือความรู้สึกปวด) ที่ส่งไปยังสมอง ยังไม่มียาคลายกล้ามเนื้อตัวใดในสหรัฐอเมริกาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป  คุณอาจลองใช้แผ่นแปะเพื่อบรรเทาปวด เช่น Thera-Patch ซึ่งมีขายตามร้านขายยาไปก่อน เพื่อบรรเทาอาการปวดกระดูกจนกว่าจะได้รับยานี้เพื่อรักษาตามแพทย์สั่ง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Winchell, Gregory A.; King, Joyce D.; Chavez-Eng, Cynthia M.; Constanzer, Marvin L.; Korn, Scott H. (January 2002). "Cyclobenzaprine Pharmacokinetics, Including the Effects of Age, Gender, and Hepatic Insufficiency". The Journal of Clinical Pharmacology. 42 (1): 61–69.
Keegan MT; Brown DR; Rabinstein AA (2006). "Serotonin syndrome from the interaction of cyclobenzaprine with other serotoninergic drugs". Anesthesia & Analgesia. 103 (6): 1466–8. doi:10.1213/01.ane.0000247699.81580.eb. PMID 17122225

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)