สาเหตุของความดันโลหิตต่ำมีหลายประการ ทั้งจากปัจจัยในชีวิตประจำวัน เช่น เวลาที่วัดความดันโลหิต อายุ ความเครียด การผ่อนคลาย การออกกำลังกาย เกิดจากโรคและความเจ็บป่วยที่เป็น เกิดจากการใช้ยาบางชนิด เกิดจากการบาดเจ็บสาหัสและภาวะช็อก รวมถึงสาเหตุอื่นๆ
ตลอดทั้งวัน ความดันโลหิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ระหว่าง 30-40 มิลลิเมตรปรอท (ทั้งความดันตัวบนและความดันตัวล่าง) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นกับกิจกรรมที่คุณกำลังทำ ความเครียดในการทำงาน อุณหภูมิภายนอก และแม้แต่อาการที่รับประทานตอนกลางวันก็สามารถส่งผลต่อความดันโลหิตของคุณได้
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ในแต่ละครั้งที่คุณทำการวัดความดันโลหิต สิ่งสำคัญก็คือจะต้องทำภายใต้สภาวะเดียวกันเพื่อให้ผลที่ได้มีความสอดคล้องกัน หากผลการวัดความดันโลหิตออกมาในระดับต่ำ แพทย์จะพิจารณาถึงกิจกรรมที่คุณทำในชีวิตประจำวันซึ่งอาจส่งผลต่อค่าความดันโลหิต ก่อนที่จะพิจารณาถึงโรคที่อาจเป็นสาเหตุ
สาเหตุในชีวิตประจำวัน
หลายๆ ปัจจัยในชีวิตประจำวัน หรือบางครั้งในทุกๆ ชั่วโมง จะส่งผลต่อหัวใจและการไหลเวียนเลือด ด้านล่างนี้คือสิ่งที่สามารถส่งผลต่อความดันโลหิตของคุณ และบางครั้งอาจทำให้มีภาวะความดันโลหิตต่ำได้
- เวลาที่ทำการวัดความดันโลหิต: โดยปกติความดันโลหิตจะลดต่ำลงในช่วงกลางคืน ดังนั้นหากวัดในตอนเช้าความดันโลหิตจะต่ำกว่าช่วงกลางวัน
- อายุ: โดยทั่วไปความดันโลหิตจะสูงขึ้นในผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง หรือหลังรับประทานอาหารจะมีแนวโน้มพบมากขึ้นในผู้สูงอายุก็ตาม
- ความเครียดและการผ่อนคลาย: หากคุณกำลังมีความเครียด หัวใจจะเต้นเร็วขึ้นและความดันโลหิตจะสูงขึ้น แต่ถ้าคุณกำลังผ่อนคลายจะให้ผลในทางตรงกันข้าม
- ปริมาณการออกกำลังกาย: ในตอนเริ่มต้น การออกกำลังกายจะเพิ่มความดันโลหิต แต่ถ้าคุณเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและออกกำลังกายเป็นประจำ ความดันโลหิตของคุณจะลดต่ำลงในขณะพัก
- อุณหภูมิร่างกายของคุณ: ถ้าอุณหภูมิร่างกายคุณเย็น หัวใจคุณจะเต้นช้าลงและความดันโลหิตของคุณจะลดต่ำลงด้วย
- ถ้าคุณเพิ่งรับประทานอาหารเสร็จ: เลือดจะถูกใช้สำหรับการย่อยอาหารที่กระเพาะอาหาร ทำให้ความดันโลหิตต่ำลงได้
สาเหตุจากโรคที่เป็น
หากความดันโลหิตยังคงต่ำอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะพิจารณาจากปัจจัยในชีวิตประจำวันที่ระบุไว้ข้างต้นแล้วก็ตาม สาเหตุอาจมาจากสาเหตุอื่นๆ โดยสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นไปได้มีดังนี้:
การใช้ยา
ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงคือความดันโลหิตต่ำ โดยมีแนวโน้มที่จะเป็นความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง ตัวอย่างรายชื่อยาที่ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ได้แก่
- ยาในกลุ่ม beta-blockers (เบต้า บล็อกเกอร์): คุณอาจได้รับยานี้เพื่อรักษาโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง
- ยาในกลุ่ม alpha-blockers (อัลฟ่า บล็อกเกอร์): ยานี้ใช้เพื่อลดความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
- ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด (antidepressants)
แพทย์จะให้ข้อมูลกับคุณเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ของยาที่สั่ง ในระหว่างที่คุณกำลังใช้ยาที่แพทย์สั่ง หากคุณมีความเสี่ยงที่จะมีความดันโลหิตต่ำ คุณจะได้รับการติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
โรคหรือสภาวะความเจ็บป่วยร้ายแรง
ถ้าคุณกำลังเจ็บป่วยในระยะเฉียบพลัน คุณจะได้รับการวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพราะความดันโลหิตถือเป็นตัวชี้วัดความรุนแรงของความเจ็บป่วยที่เป็นได้ด้วย ความผิดปกติที่หัวใจ เช่น หัวใจล้มเหลว หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด สามารถทำให้ความดันโลหิตต่ำได้ เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic disorders)
ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติสามารถเป็นสาเหตุของความดันโลหิตต่ำได้ ระบบประสาทอัตโนมัติคือส่วนหนึ่งของระบบประสาทในร่างกาย ซึ่งจะควบคุมการทำงานของร่างกายที่คุณไม่สามารถสั่งการได้ เช่น การขับเหงื่อ การย่อยอาหาร และจังหวะการเต้นของหัวใจ
ระบบประสาทอัตโนมัติยังควบคุมการขยายและหดตัวของเส้นเลือด หากเกิดปัญหาขึ้นที่ระบบประสาทอัตโนมัติจะทำให้เส้นเลือดขยายโดยไม่ยอมหด เป็นสาเหตุของความดันโลหิตต่ำ ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติมักเป็นสาเหตุของความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทางด้วย
ตัวอย่างของความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น:
- โรคเบาหวาน: โรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากการมีน้ำตาลในเลือดมากเกินไป
- โรคพาร์กินสัน: โรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ต่อมหมวกไต (Adrenal glands)
ต่อมหมวกไตเป็นต่อมขนาดเล็กสองต่อมที่อยู่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง (ข้างละ 1 ต่อม) ต่อมหมวกไตจะสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตและควบคุมสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกาย หนึ่งในฮอร์โมนที่ต่อมนี้สร้างคือ อัลโดสเตอโรน (aldosterone) โดยมีหน้าที่ควบคุมปริมาณเกลือในร่างกาย
ถ้าต่อมหมวกไตเสียหาย เช่น เกิดการติดเชื้อ หรือมีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต การสร้างฮอร์โมนอัลโดสเตอโรนจะลดลง ทำให้สูญเสียเกลือไปจากร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดน้ำ และทำให้ความดันโลหิตต่ำ
ถ้าปัญหาที่พบกับต่อมหมวกไตได้รับการวินิจฉัย จะสามารถรักษาโดยการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนอัลโดสเตอโรนในร่างกายได้ อาการดังกล่าวนี้อาจเป็นอาการของโรค Addison’s disease ซึ่งเป็นสภาวะทีต่อมหมวกไตไม่สามารถผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) และอัลโดสเตอโรนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การบาดเจ็บสาหัสและช็อก
ความดันโลหิตต่ำสามารถมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บสาหัส หรือแผลไฟไหม้ ไฟคลอก โดยเฉพาะถ้ามีการเสียเลือดจำนวนมากด้วย ซึ่งหมายถึงคุณมีเลือดไม่เพียงพอที่จะสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ความดันโลหิตต่ำจะเกิดขึ้นถ้าคุณมีภาวะช็อกภายหลังการบาดเจ็บสาหัส
ภาวะช็อกชนิดอื่นๆ มีรายละเอียดดังนี้
- Septic shock and toxic shock syndrome: ภาวะนี้เป็นภาวะช็อกที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียจะโจมตีผนังหลอดเลือดขนาดเล็กภายในร่างกาย ทำให้เกิดการรั่วของสารน้ำในหลอดเลือดออกมาที่เนื้อเยื่อรอบๆ ทำให้ความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง (severe hypotension)
- Anaphylactic shock หรือ anaphylaxis: เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการแพ้ต่อบางสิ่งบางอย่าง เช่น โดยตัวต่อต่อย หรือแพ้ถั่ว ในระหว่างปฏิกิริยาการแพ้ ร่างกายจะหลั่งสารเคมีชนิดหนึ่งชื่อฮีสตามีน (histamine) ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ความดันโลหิตต่ำลงกะทันหันและรุนแรงได้
- Cardiogenic shock: ภาวะนี้เป็นภาวะช็อกที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้ร่างกายมีความดันโลหิตต่ำ โดยสามารถเกิดขึ้นระหว่างที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด
สาเหตุอื่นๆ
สาเหตุอื่นๆ ของภาวะความดันโลหิตต่ำ ได้แก่:
- ความผิดปกติของเส้นประสาทอื่นๆ: ถ้าเส้นประสาทที่อยู่ที่บริเวณขาได้รับผลกระทบ คุณอาจมีความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรงในขณะที่ลุกขึ้นยืนได้ (ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง)
- อายุเพิ่มขึ้น: เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น เส้นเลือดแดงจะแข็งตัวมากขึ้น ถ้าเส้นเลือดไม่สามารถหดตัวได้เหมือนเดิม จะทำให้ความดันโลหิตต่ำได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณลุกขึ้นยืน
- ตั้งครรภ์: ระหว่างช่วงแรกๆ ถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์ สามารถพบความดันโลหิตต่ำได้บ่อย
- นอนติดเตียงนานเกินไป: ความดันโลหิตต่ำอาจเกิดขึ้นจากการที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อยเกินไป หรือมีกิจกรรมการทำงานโดยรวมของระบบประสาทน้อยเกินไป
- ขาดน้ำ: ความดันโลหิตต่ำอาจเกิดตามหลังการขาดน้ำอย่างรุนแรงจากการอาเจียนและท้องเสีย เพราะมีการสูญเสียน้ำและเกลือไปกับการอาเจียนและท้องเสีย ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำในเลือดลงลง ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
- พันธุกรรมของคุณ: งานวิจัยบางงานวิจัยสนับสนุนว่าความดันโลหิตต่ำถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ถ้าพ่อแม่มีความดันโลหิตต่ำ มีความเป็นไปได้ที่จะถูกถ่ายทอดมายังคุณด้วย