กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาระบายคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาระบายคืออะไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาระบาย เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการท้องผูก ทำให้อุจจาระอ่อนตัวลงหรือกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้มากขึ้น อาจพบการใช้ยาระบายก่อนการตรวจลำไส้ใหญ่
  • ยาระบายมีหลายรูปแบบ เช่น ยาเพิ่มปริมาณอุจจาระ และยาทำให้อุจจาระอ่อนตัว หลักการคล้ายกันคือจะเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ใช้เวลา 12-72 ชั่วโมงในการออกฤทธิ์
  • กลุ่มยาหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระลื่นเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ง่าย ใช้เวลาออกฤทธิ์ 6-8 ชั่วโมง และยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ที่ออกฤทธิ์ค่อนข้างเร็ว 
  • ผลข้างเคียงของยาระบายที่พบบ่อยที่สุดคืออาการท้องอืด รู้สึกเหมือนมีลมในท้อง และปวดท้อง ดังนั้นจึงควรดื่มน้ำตามเข้าไปเยอะๆ เพื่อให้มีน้ำอยู่ในร่างกายเพียงพอตลอดเวลา
  • ดูแพ็กเกจ Detox สวนล้างลำไส้ที่นี่

ยาระบาย (Laxatives) เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการท้องผูก โดยทำให้อุจจาระอ่อนตัวลงหรือกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้มากขึ้น บางครั้งอาจพบการใช้ยาระบายก่อนการตรวจลำไส้ใหญ่ 

ส่วนมากแล้วยาระบายจะอยู่ในรูปของยาเม็ด ยาน้ำ ยาเหน็บและยาสวนทวารหนัก ซึ่งจะออกฤทธิ์แตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้ยา 

ประเภทของยาระบาย

ยาระบาย สามารถแบ่งออกตามประเภทได้ดังต่อไปนี้

  • ยาเพิ่มปริมาณอุจจาระ (Bulking agents) เช่น ยาซิลเลียม (Metamucil) ยาเมทิลเซลลูโลส (Citrucel) ยาระบายประเภทนี้จะเพิ่มปริมาณน้ำและอุจจาระ เพื่อให้อุจจาระเคลื่อนที่ผ่านทางลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ใช้เวลา 12-72 ชั่วโมงในการออกฤทธิ์ อาหารที่มีไฟเบอร์สูงก็จัดเป็นยาระบายในประเภทนี้เช่นกัน
  • กลุ่มยาหล่อลื่นลำไส้ (Lubricant laxativesเช่น น้ำมันแร่ (Mineral Oil) เป็นยาที่ทำให้อุจจาระลื่น ทำให้อุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ง่ายและเร็วขึ้น ใช้เวลา 6-8 ชั่วโมงในการออกฤทธิ์ 
  • ยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนตัวลง (Emollient laxatives) เช่น ยา Colace และยา Diocto ยาประเภทนี้ทำให้ไขมันและน้ำแทรกเข้าไปในอุจจาระ จึงช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น ใช้เวลา 12-72 ชั่วโมงในการออกฤทธิ์ 
  • ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ (Stimulant laxatives) เช่น ยา Ex-Lax (Senokot) ยา Correctol ยา Dulcolax และยา Feen-a-Mint ยาเหล่านี้จะไปกระตุ้นเยื่อบุภายในลำไส้ให้ขับอุจจาระออกมา ยาประเภทนี้ช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างรวดเร็วแต่ควรใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้น 
  • ยาระบายเพิ่มปริมาตรน้ำ (Osmotic and hyperosmolar laxatives) เช่น ยา Fleet Phospho-Soda Milk of Magnesia ยา lactulose และยา Miralax ยาประเภทนี้จะดูดของเหลวจากเนื้อเยื่อโดยรอบเข้าไปในลำไส้ ทำให้อุจจาระอ่อนตัวลงและเคลื่อนผ่านลำไส้ง่ายขึ้น ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีถึง 6 ชั่วโมงในการออกฤทธิ์ ขึ้นอยู่กับประเภทของยา 

ผลข้างเคียงของยาระบาย

ผลข้างเคียงของยาระบายที่พบบ่อยที่สุดคืออาการท้องอืด รู้สึกเหมือนมีลมในท้อง และปวดท้อง ดังนั้นจึงควรดื่มน้ำตามเข้าไปเยอะๆ เพื่อให้มีน้ำอยู่ในร่างกายเพียงพอตลอดเวลา 

อีกผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือการติดยาระบาย ที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาระบายบ่อยเกินไปหรือใช้ยาเกินขนาด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น

  • สารอิเล็คโทรไลท์และแร่ธาตุในร่างกายไม่สมดุล
  • ภาวะขาดน้ำรุนแรง
  • ภาวะพึ่งพายาระบาย
  • ท้องผูกเรื้อรัง
  • อวัยวะภายในได้รับความเสียหาย
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มีคนบางกลุ่มใช้ยาระบายเพื่อลดน้ำหนัก ซึ่งก็มีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นว่ายาเหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักได้จริง และหากใช้เพื่อลดน้ำหนักก็อาจเกิดอันตราย เพราะยาระบายจะไปกระตุ้นการขับถ่าย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำในปริมาณมาก 

ดูแพ็กเกจ Detox สวนล้างลำไส้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)