กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

5-Hydroxytryptophan (5-ไฮดรอกซี ทริปโตเฟน)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที

5-hydroxytriptan หรือที่รู้จักกันในชื่อเรียก 5-HTP เป็นอาหารเสริมที่คนพยายามใช้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตใจและระบบภูมิคุ้มกัน

5-HTP ถูกใช้ในหลายปัจจัย รวมถึงอาการเครียดวิตกกังวล อาการหลับที่ผิดปกติ อาการอยู่ไม่นิ่งที่ผิดปกติ โรคสมองน้อย อาการซึมเศร้า อาการปวดตามโครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อที่กระจายทั่วๆ ไป และไมเกรน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม การใช้ 5-HTP ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นยายังไม่ได้ถูกการรับรองจากองค์การอาหารและยา และข้อมูลส่วนมากที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ 5-HTP มีเพียงเล็กน้อยและไม่ถูกสนับสนุนจากงานวิจัย

สิ่งสำคัญที่จะพึงตระหนักคือ ไม่ทั้งหมดของงานวิจัยที่ใช้เป็นประโยชน์ได้เกี่ยวกับ 5-HTP รวมถึงการศึกษาในมนุษย์ แต่ยังทำในสัตว์อีกด้วย และยังต้องมีการวิจัยมากไปกว่านี้ว่า 5-HTP นั้นปลอดภัยหรือเป็นอาหารเสริมที่มีประสิทธิภาพหรือไม่

ดังนั้น ผลิตภัณฑ์นี้และอาหารเสริมที่ซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ไม่สมควรที่จะใช้แทนยาที่แพทย์ของคุณสั่งให้สำหรับคุณ

5-HTP เป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในร่างกายของเรา ที่มีคุณสมบัติเป็นสารสื่อประสาท เป็นหน่วยโครงสร้างของสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่ช่วยการส่งผ่านสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทให้อยู่อย่างพอควร

การเสียสมดุลย์ของสารเซโรโทนินในร่างกายเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคซึมเศร้า

5-HTP กับการลดน้ำหนัก

บางการค้นคว้าแสดงว่า 5-HTP มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักเนื่องจากถูกใช้เพื่อลดอาการอยากอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

5-HTP กับอาการวิตกกังวล

ถึงแม้ว่า 5-HTP จะเป็นหน่วยโครงสร้างหรือสารตั้งต้นของสารเคมีเซโรโทนินที่มีส่วนทำให้อารมณ์ดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์ยังได้ค้นพบประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้ของ 5-HTP ที่จะช่วยลดอาการวิตกกังวล

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่พิสูจน์ได้ว่า 5-HTP มีประโยชน์ในเรื่องนี้

5-HTP กับโรคซึมเศร้า

ด้วยประโยชน์ของสารเซโรโทนินที่ถูกใช้เพื่อบำบัดอาการซึมเศร้า 5-HTP จึงถูกเชื่อว่าอาจเป็นไปได้ที่จะมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้า

บทบาทของอาหารเสริมในการรักษาโรคซึมเศร้ายังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบ

5-HTP กับความผิดปกติด้านการนอน

ประโยชน์ของการใช้ 5-HTP เพื่อการบำบัดการนอนไม่หลับยังคงไม่เป็นที่รับรอง

อย่างไรก็ตาม บางการวิจัยบ่งบอกว่าเมื่อมีการใช้ร่วมกับอาหารเสริมอื่นที่มีชื่อเรียกว่า gamma aminobutyric acid (GABA) การผสมของสองอย่างนี้เข้าด้วยกันอาจจะช่วยให้เราไม่ได้นอนหลับเร็วขึ้นอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราหลับได้สนิทมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยังคงต้องมีการศึกษามากกว่านี้เพื่อจะให้รู้แน่ชัดว่าการใช้ 5-HTP อย่างเดียวอาจจะช่วยให้เราสามารถหลับได้หรือหลับได้นานขึ้น

คำเตือนของการใช้ 5-HTP

ข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ได้เกี่ยวกับการใช้ 5-HTP ยังคงมีอยู่น้อยมาก ฉะนั้นความปลอดภัยและประโยชน์ของอาหารเสริมชนิดนี้ยังคงอยู่ภายใต้การค้นคว้าวิจัย

จากสิ่งตีพิมพ์ทางการแพทย์ล่าสุด ไม่มีปรากฏว่า เราสมควรต้องหลีกเลี่ยงการใช้ 5-HTP อย่างสิ้นเชิง

อย่างไรก็ตาม บุคคลที่มีโรคไต อาการของโรคในช่องท้อง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร หรือ ดาวน์ซินโดรม ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อนใช้ 5-HTP

การใช้ 5-HTP ในสตรีมีครรภ์

ไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยวกับการใช้และความปลอดภัย ของ 5-HTP ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์หรือระหว่างการให้นมบุตร

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม บอกแพทย์ของคุณถ้าคุณตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ก่อนการใช้ยาตัวนี้

คุณควรจะแจ้งเภสัชกรของคุณด้วยว่าคุณกำลังให้นมบุตรหรือวางแผนจะให้นมบุตร ไม่แนะนำให้แม่ที่กำกำลังให้นมบุตรจะใช้ยาตัวนี้

ผลข้างเคียงของ 5-HTP

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป

  • ท้องเสีย คลื่นเหียน อาเจียน
  • จุกเสียดท้อง ลมในกระเพาะ ท้องอืด
  • การอึดอัดหรือการปวดในช่องท้อง
  • การลดความอยากอาหาร การเบื่ออาหาร

ผลข้างเคียงที่อันตราย

  • อาการปวดกล้ามเนื้อ (Eosinophilia myalgia syndrome) คือ การที่ผู้ป่วยตรวจเลือดพบมีภาวะเม็ดเลือดขาวผิดปกติที่อาจส่งผลให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว หายใจขัด หรือร่างกายบวมอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน แม้ว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก แต่อาการก็อาจใช้เวลาหลายเดือนถึงจะปรากฏ
  • โรคเลือดที่รู้จักกันในชื่อ อีโอซิโนฟีเลีย (Eosinophilia) แบบไม่แสดงอาการ หรือภาวะเม็ดเลือดขาวมาก โดยทั่วไปแล้ว ความผิดปกตินี้จะสามารถตรวจจับได้ในห้องปฏิบัติการวิจัยเท่านั้น เพราะผู้ป่วยจากความผิดปกตินี้จะไม่แสดงอาการให้เห็น

ปฏิกิริยาระหว่างยาของ 5-HTP

โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบว่า ท่านกำลังใช้ยาตามแพทย์สั่ง ยาที่ไม่ได้จ่ายให้โดยแพทย์ ยาผิดกฎหมาย การใช้ยาที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาโรค ยาจากพืชสมุนไพร ยาทางโภชนาการ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเมื่อเร็วๆ นี้

การใช้ 5-HTP มีส่วนร่วมในการผลิตสารเซโรโทนิน ดังนั้น คุณควรจะระมัดระวังในการใช้เพราะอาจจะเพิ่มระดับของสารเซโรโทนินในร่างกายได้

ยาดังนี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีปฏิกิริยาระหว่างยาที่อันตรายเมื่อใช้ร่วมกับ 5-HTP

  • ไอโซคาร์บอกซาซิด (Maplan)
  • ลีเนโซลิด (Zyvox)
  • เมทิลีน บลู
  • ฟีเนลซีน (Nardil)
  • ทรานิลซัยโปรมิน (Parnate)

รวมถึงยาเหล่านี้ที่คุณสมควรจะแจ้งแพทย์ก่อนการใช้ 5-HTP

  • ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เช่น Celexa (citalopram), Lexapro (escitalopram), Paxil (paroxetine) หรือ Prozac (fluoxetine)
  • Serotonin norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) เช่น Cymbalta (duloxetine) and Effexor (venlafaxine)
  • Tricyclic Antidepressants (TCAs) เช่นNorpramin (desimpramine), Tofranil หรือ Tofranil-PM (imipramine) และ Elavil (amitritypline)
  • ยาไมเกรนที่มีชื่อว่า "ergots" เช่น Cafergot, Migergot (ergotamine) หรือ Migranal (dihydroergotamine รวมถึงยาพ่นจมูก)
  • ยาไมเกรน เช่น Imitrex (sumatriptan), Frova (frovatriptan), Maxalt (rizatriptan) หรือ Zomig (zolmitriptan)
  • ยาต้องห้าม เช่น โคเคน และแอลเอสดี  lysergic acid diethyamide (LSD)
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร เช่น St. John-s wort และ L-tryptophan
  • ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของฝิ่น รวมถึงRoxanol (morphine) และ Duragesic (fentanyl)
  • Lithobid (lithium)
  • Dexedrine หรือ Procentra (dextroamphetamine)
  • ยาสำหรับรักษาโรคพาร์คินสัน เช่น Lososyn (carbidopa), Zelapar, Eldepryl, Emsam (selegiline) และ Azilect (rasagiline)

ขนาดยาที่แนะนำและวิธีการใช้ 5-HTP

เนื่องด้วย 5-HTP เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีกฎระเบียบในการใช้อย่างเคร่งครัด จึงมีข้อแนะนำที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ถึงขนาดในการใช้ที่เหมาะสมดังนี้

สำหรับโรคซึมเศร้า ขนาดที่แนะนำของ 5-HTP คือ 150 มิลลิกรัม ถึง 300 มิลลิกรัมต่อวัน

สำหรับโรคปวดกล้ามเนื้อระยะแรก ขนาดที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม สามครั้งต่อวัน เป็นเวลาหนึ่งเดือน

สำหรับการรักษาอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ของท่านหรือปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต

การรับประทาน 5-HTP เกินขนาด

ถ้าคุณสงสัยว่าจะมีการใช้เกินขนาด ติดต่อหน่วยพิษวิทยา หรือ ห้องฉุกเฉินทันที

คุณสามารถติดต่อหน่วยพิษวิทยาได้ที่ (800) 222-1222

หากลืมรับประทาน 5-HTP

หากลืมรับประทาน 5-HTP ให้รับประทานยาทันทีเมื่อนึกขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานในมื้อถัดไป ให้ข้ามจำนวนยาที่ลืมไป แล้วรับประทานยาเม็ดต่อไปตามเวลาปกติ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า

คำถามทั่วไปเกี่ยวกับ 5-HTP

คำถาม:  ผลิตภัณฑ์ 5-HTP เข้าไปขัดขวางการทำงานของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ไขมันในเลือด หรือ ยาที่ไม่ใช้ใบสั่งแพทย์อื่นๆ หรือไม่

คำตอบ:  ขณะที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีปฏิกิริยาระหว่างยาเกิดขึ้น แต่มักจะไม่รุนแรงหรือถึงแก่ชีวิต พึงระลึกไว้ว่า T ใน HTP หมายถึง ทริปโตเฟน (tryptophane) เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ ปฏิกิริยาระหว่างยาที่เกิดขึ้นได้กับ 5-HTP คือ ยาต้านเศร้า หรือ ยาอื่นที่ส่งผลต่อสารเคมีในสมอง เนื่องจาก 5-HTP จะถูกเปลี่ยนโครงสร้างเป็นสารเซโรโทนิน สารเคมีสำคัญในสมองที่ช่วยปรับอารมณ์

คำถาม:  ฉันใช้ยา Plavix, Lipitor, Uroxatral, bisoprolol, aspirin, lisinopril และ tramadol อยู่ ฉันสามารถรับประทาน 5-HTP ร่วมด้วยได้หรือไม่

คำตอบ:  5-HTP ถูกเปลี่ยนเป็นสารเซโรโทนินในร่างกายของเรา เพราะ 5-HTP เกี่ยวข้องกับสารเซโรโทนิน คุณจึงไม่ควรรับประทานพร้อมกับยาที่ส่งผลต่อระดับของสารเซโรโทนิน ยาเหล่านี้คือยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRI (selective serotonin reuptake inhibitors) เช่น Paxil (paroxetine), Zoloft (sertraline), Prozac (fluoxetine), Celexa (citalopram) และอื่น ๆ ส่วนยา Plavix (clopidogrel), Lipitor (atorvastatin), Uroxatral (alfuzosin), bisoprolol, aspirin และ Lisinopril ไม่ส่งผลกระทบต่อสารเซโรโทนินในร่างกาย

ส่วน Tramadol นั้นมีการขัดขวางการเก็บกลับไปของสารเซโรโทนิน  และสามารถเพิ่มระดับของสารเซโรโทนิน ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทาน tramadol กับ 5-HTP อย่างระมัดระวัง ผู้ป่วยต้องได้รับการเฝ้าสังเกตถึงอาการของสารเซโรโทนิน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาวะทางจิตใจ อาการสั่น อุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น การเกร็ง การชัก เหงื่อที่มากขึ้น และการสั่นเทา ปฏิกิริยาระหว่างยาอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติของเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงเช่น Call-Fleming Syndrome จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะปรึกษาการใช้ tramadol กับ 5-HTP กับผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพก่อนใช้ 5-HTP

คำถาม:  การรับประทาน 5-HTP เป็นปริมาณ 1,000 มิลิกรัมทุกคืน ปลอดภัยหรือไม่

คำตอบ:  5-HTP เป็นตัวย่อของ 5-hydroxytryptophan และถูกจัดให้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พบมากในต้นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากแอฟริกามีชื่อว่า Griffoinia simplicfolia

5-HTP เป็นสารอาหารประเภทกรดอะมิโนทริปโตเฟน (tryptophan) ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ร่างกายคนเราไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง แต่จะได้รับจากอาหารที่รับประทานในแต่วัน ร่างกายของมนุษย์จะใช้ทริปโตเฟนเป็นสารตั้งต้นเพื่อสร้างสารสื่อประสาทของสมองที่มีชื่อว่า เซโรโทนิน (serotonin) ทางคลินิกสารเซโรโทนินมีอิทธิพลต่ออารมณ์ ช่วยคลายความเครียดและความกังวล ผู้ป่วยรับประทาน 5-HTP ในหลายสาเหตุ รวมถึงการลดน้ำหนัก โรคซึมเศร้า ความวิตกกังวล อาการของผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน การปวดกล้ามเนื้อ ความผิดปกติของการกิน โรคย้ำคิดย้ำทำ และอาการปวดหัวต่างๆ

แต่ประโยชน์ต่างๆ ที่กล่าวอ้างมาหลายข้อก็ยังไม่ยืนยันผลจากองค์การอาหารและยา ดังนั้นจึงควรใช้ตามคำแนะนำในการรับประทานของบรรจุภัณฑ์นั้นๆ อ้างจากผู้ค้นคว้ารายหนึ่งแนะนำว่า ปริมาณการใช้ควรอยู่ระหว่าง 50 ถึง 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยปกติแล้วจะอยู่ระหว่าง 100-600 มิลลิกรัม แนะนำให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เพื่อความแน่ใจอีกครั้งก่อนรับประทาน

คำถาม:  ฉันเพิ่งเริ่มรับประทาน 5-HTP เพื่อคุณประโยชน์ของการได้รับสารเซโรโทนิน ฉันจะต้องรับประทานเป็นเวลานานแค่ไหน และได้ผลอย่างไร

คำตอบ: 5-HTP ถูกจัดให้อยู่ในประเภทของอาหารเสริม ด้วยความที่อาหารเสริมยังไม่ได้ถูกศึกษาค้นคว้าอย่างถี่ถ้วนทางคลินิก ผลข้างเคียงและปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่อาจเป็นไปได้จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับ องค์การอาหารและยายังไม่มีการออกกฎหมายอย่างเข้มงวดเกี่ยวกับยาสมุนไพรและอาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้จึงยังไม่ถูกทดสอบถึงประสิทธิภาพ ความบริสุทธิ์ หรือความปลอดภัย โดยทั่วไปแล้วอาหารเสริมควรใช้ภายใต้การแนะนำของผู้ดูแลเรื่องสุขภาพของคุณเอง ถ้าต้องการรายละเอียดเชิงลึก โปรดปรึกษาเภสัชกรของคุณเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น โดยยึดอาการเฉพาะของคุณและยาที่กำลังใช้อยู่เป็นหลัก ก่อนที่จะรับประทานยาใดๆ

เมื่อแพทย์สั่งยาตัวใหม่ให้คุณ แน่ใจว่าคุณได้แจ้งถึงยาที่แพทย์สั่งให้คุณ ยาที่แพทย์ไม่ได้สั่ง รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริม วิตามิน ยาแผนโบราณ แร่ธาตุและยาสมุนไพร แม้กระทั่งอาหารที่คุณกินเป็นประจำ

คุณควรจะบันทึกรายการยาและอาหารเสริมล่าสุดที่คุณกำลังใช้อยู่และปรึกษากับผู้ดูแลสุขภาพหรือเภสัชกรของคุณ ถ้าเป็นไปได้ ใช้บริการร้านขายยาที่ใดที่หนึ่งที่เดียว สำหรับยาทั้งหมดทั้งมีใบสั่งจ่ายจากแพทย์หรือไม่มี เพื่อเภสัชกรจะได้มีบันทึกรายการยาทั้งหมดของคุณและจะได้แนะนำเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยาและผลข้างเคียงกับคุณได้ เมื่อต้องการข้อมูลเชิงลึก โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับคำแนะนำ อ้างอิงจากสภาวะสุขภาพหรือยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ก่อนที่จะรับประทานยาใดๆ

คำถาม:  5-HTP สามารถช่วยอาการของโรคอารมณ์สองขั้วได้หรือไม่

คำตอบ:  5-HTP ถูกจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สำหรับอาการวิตกกังลง โรคซึมเศร้า การนอนไม่หลับ อาการปวดหัวต่างๆ และอื่นๆ ด้วยความที่อาหารเสริมยังไม่ได้ถูกศึกษาค้นคว้าอย่างถี่ถ้วนทางคลินิก ผลข้างเคียงและปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่อาจเป็นไปได้จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ 5-HTP ร่วมกับยาต้านเศร้า อาจทำให้เกิดภาวะมีสารเซโรโทนิน ในสมองเพิ่มสูงขึ้นจนก่อให้เกิดภาวะ Serotonin syndrome ซึ่งเป็นไปได้ยากแต่ก็สามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกายังไม่มีการออกกฎหมายอย่างเข้มงวดเกี่ยวกับยาสมุนไพรและอาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้จึงยังไม่ถูกทดสอบถึงประสิทธิภาพ ความบริสุทธิ์ หรือความปลอดภัย ในการรักษาโรคซึมเศร้าหรือโรคอารมณ์สองขั้ว

มียาอีกหลายประเภทที่แพทย์สามารถสั่งจ่ายได้ที่ทดสอบแล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับอาการเหล่านี้ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rachel Nall, MSN, CRNA, What are the health benefits of 5-HTP? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324025.php), December 18, 2018
Gavin Van De Walle, MS, RD, 5 Science-Based Benefits of 5-HTP (plus dosage and side effects) (https://www.healthline.com/nutrition/5-htp-benefits), May 21, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)