กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Escitalopram (Lexapro)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 10 นาที

สรรพคุณของยา Escitalopram

ยา Escitalopram ใช้สำหรับรักษาโรคซึมเศร้า (Depression) และโรควิตกกังวล (Anxiety) โดยยาจะออกฤทธิ์ปรับสมดุลของสารเคมีตามธรรมชาติในสมอง (สาร Serotonin) ยา Escitalopram เป็นยาในกลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRI) ยาอาจช่วยให้ร่างกายมีระดับพลังงานดีขึ้น ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และช่วยลดอาการกังวลใจ

วิธีใช้ยา Escitalopram

อ่านคำแนะนำในการใช้ยาที่ได้รับจากเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ และในทุกครั้งที่มารับยาซ้ำ หากมีคำถามใดๆ ให้สอบถามจากแพทย์หรือเภสัชกร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รับประทานยานี้ตามแพทย์สั่ง โดยสามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ โดยทั่วไปจะรับประทานวันละ 1 ครั้งในตอนเช้า หรือตอนเย็น ขนาดยาที่คุณได้รับจะขึ้นกับสภาวะโรค การตอบสนองต่อการรักษา อายุ และยาอื่นที่คุณกำลังใช้ร่วมด้วยในขณะนั้น ดังนั้นต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรทราบว่าคุณกำลังใช้ยา อาหารเสริม และสมุนไพรใดอยู่ในขณะนี้

ถ้าคุณใช้ยา Escitalopram ในรูปแบบยาน้ำ คุณต้องตวงยาโดยใช้ช้อนตวงตา/อุปกรณ์ตวงยาโดยเฉพาะ อย่าใช้ช้อนรับประทานอาหารตวงยาเพราะอาจทำให้ได้รับขนาดยาไม่ถูกต้อง

เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงจากยา แพทย์อาจให้คุณเริ่มใช้ยาในขนาดต่ำก่อน และค่อยๆ ปรับเพิ่มขนาดยาขึ้น โปรดปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด อย่าเพิ่มขนาดยา หรือใช้ยาบ่อยครั้งกว่าที่แพทย์สั่ง หรือใช้ยานานกว่าที่แพทย์สั่ง เพราะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นเร็วกว่าเดิม อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงจากยาด้วย คุณต้องรับประทานยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาเต็มที่ แนะนำให้รับประทานยาในเวลาเดียวกันของทุกวันเพื่อไม่ให้ลืมรับประทานยา 

คุณต้องรับประทานยานี้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม อย่าหยุดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เพราะอาการบางอย่างอาจแย่ลงหากหยุดยากะทันหัน คุณอาจมีอาการอื่นๆ เช่น อารมณ์แปรปรวน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย การนอนหลับผิดปกติไป และมีความรู้สึกสั้นๆ เหมือนถูกไฟช๊อตได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวหลังจากหยุดยา แพทย์อาจค่อยๆ ปรับลดขนาดยาลงก่อนหยุดยาให้กับคุณ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันทีหากมีอาการใดๆ เกิดขึ้น หรืออาการที่เป็นอยู่แย่ลง 

อาจต้องใช้เวลานาน 1-2 สัปดาห์ จึงจะรู้สึกถึงประโยชน์ที่ได้จากยา และใช้เวลาถึง 4 สัปดาห์ จึงจะได้ประโยชน์จากยาเต็มที่ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง ให้แจ้งแพทย์ 

ผลข้างเคียงของยา Escitalopram

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยา Escitalopram เช่น คลื่นไส้ ปากแห้ง มีปัญหาในการนอนหลับ ท้องผูก อ่อนเพลีย ง่วงนอน เวียนศีรษะ และมีเหงื่อออกมากขึ้น ถ้าอาการเหล่านี้ไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง ให้แจ้งแพทย์ทันที 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์สั่งยานี้ให้กับคุณ เพราะว่าแพทย์ได้ประเมินแล้วว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากยานี้มากกว่าความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียง ผู้ป่วยหลายรายที่ใช้ยานี้ไม่เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงจากยา

แจ้งแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง ได้แก่ ความสนใจทางเพศลดลง ความสามารถในการมีเพศสัมพันธ์ลดลง เลือดออกง่าย มีรอยช้ำง่าย 

ไปพบแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงมาก ได้แก่

ยา Escitalopram อาจเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาท Serotonin ซึ่งอาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการที่ร้ายแรงได้ (พบได้น้อย) ซึ่งก็คือกลุ่มอาการซีโรโตนิน หรือซีโรโตนินเป็นพิษ (Serotonin syndrome/toxicity) โดยความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้จะเพิ่มขึ้นถ้าคุณใช้ยาอื่นที่เพิ่มปริมาณสาร Serotonin ในร่างกายร่วมด้วย ดังนั้นคุณต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับรายการยาทุกรายการที่กำลังใช้อยู่ และไปพบแพทย์ทันที ถ้ามีอาการใดๆ ดังนี้: หัวใจเต้นเร็ว ประสาทหลอน สูญเสียการประสานงานกันของร่างกาย เวียนศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้/อาเจียน/ท้องเสียอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อกระตุก มีไข้อย่างไม่ทราบสาเหตุ กระสับกระส่าย/กระวนกระวายผิดปกติ

ในผู้ชายอาจเกิดอาการปวดอวัยวะเพศขณะแข็งตัวหรืออวัยวะเพศแข็งตัวนาน 4 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น ถ้าเกิดอาการนี้ขึ้น ให้หยุดใช้ยาและรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้

ปฏิกิริยาการแพ้ยานี้ เป็นเรื่องที่พบได้น้อย อย่างไรก็ตามถ้าเกิดอาการใดๆ ของการแพ้ยาให้รีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่ ผื่น คัน/บวม (โดยเฉพาะที่หน้า ลิ้น คอ) เวียนศีรษะรุนแรง หายใจลำบาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการข้างเคียงที่กล่าวไว้ข้างต้นไม่ใช่อาการข้างเคียงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นถ้าคุณมีอาการผิดปกติใดๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังในการใช้ยา Escitalopram

ถ้าคุณแพ้ยา Escitalopram หรือแพ้ยา Citalopram หรือแพ้สิ่งอื่นๆ ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนได้รับยานี้ ผลิตภัณฑ์ยานี้อาจประกอบด้วยสารไม่ออกฤทธิ์อื่นซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนการใช้ยา Escitalopram ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะถ้าคุณ

  • ตนเองหรือคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ (bipolar disorder)
  • ตนเองหรือคนในครอบครัวเคยพยายามฆ่าตัวตาย
  • เป็นโรคตับ
  • มีอาการชัก
  • มีแผลหรือมีเลือดออกที่ลำไส้ (Peptic ulcer disease)
  • มีโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia)
  • ตนเองหรือคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหินชนิดมุมปิด

ยา Escitalopram อาจเป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาว (QT Prolongation) หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด QT Prolongation เป็นสภาวะที่พบได้น้อยแต่ร้ายแรง (อาจทำให้เสียชีวิตได้) ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ และมีอาการอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะรุนแรง หน้ามืด ซึ่งต้องรีบทำการรักษาทันที 

ความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด QT Prolongation อาจเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีโรคบางโรค หรือกำลังใช้ยาบางชนิดที่อาจเป็นสาเหตุของ QT Prolongation อยู่แล้ว ดังนั้นก่อนใช้ยา Escitalopramคุณต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่ รวมถึงหากเป็นโรคดังต่อไปนี้ โรคหัวใจบางชนิด (หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นช้า พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาวจากการตรวจ EKG) มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจบางชนิด (พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาวจากการตรวจ EKG, คนในครอบครัวเสียชีวิตจากโรคหัวใจ)

การที่ร่างกายมีระดับโพแทสเซียม (Potassium) หรือ แมกนีเซียม (Magnesium) ในเลือดต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด     QT Prolongation โดยความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นถ้าคุณใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาขับปัสสาวะ) หรือมีอาการเหงื่อออกรุนแรง ท้องเสียรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีใช้ยา Escitalopram อย่างปลอดภัย

ยา Escitalopram อาจทำให้วิงเวียนศีรษะ หรือง่วงนอน โดยแอลกอฮอล์จะทำให้อาการวิงเวียนศีรษะและอาการง่วงนอนเป็นมากขึ้น ห้ามขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ต้องอาศัยการตื่นตัวหรือการมองเห็นที่ชัดเจน จนกว่าคุณจะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย และแนะนำให้จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์

ยา Escitalopram รูปแบบยาน้ำอาจมีส่วนประกอบของน้ำตาล และ/หรือสาร Aspartame จึงต้องระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วย phenylketonuria (PKU) หรือผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่จำเป็นต้องจำกัด/หลีกเลี่ยงการรับประทานสารดังกล่าว ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยานี้อย่างปลอดภัย 

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ให้แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับรายการยา อาหารเสริม และสมุนไพรที่กำลังใช้อยู่

ผู้สูงอายุอาจเกิดอาการข้างเคียงจากยาได้มากกว่าปกติ เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาวกว่าปกติ (QT prolongation) สูญเสียการประสานงานกันของร่างกาย หรือมีอาการเลือดออก นอกจากนี้ผู้สูงอายุอาจสูญเสียเกลือโซเดียมได้มากกว่าปกติ (Hyponatremia) โดยเฉพาะถ้ากำลังใช้ยาขับปัสสาวะร่วมด้วย การสูญเสียการประสานงานกันของร่างกายจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ

ผู้ป่วยเด็กอาจเกิดอาการข้างเคียงจากยาได้มากกว่าปกติ โดยเฉพาะอาการเบื่ออาหาร และน้ำหนักลด จึงต้องติดตามน้ำหนักตัวและความสูงของเด็กระหว่างใช้ยานี้

ระหว่างการตั้งครรภ์ ยานี้ควรใช้เฉพาะในกรณีที่ประเมินแล้วว่ามีความจำเป็นจริงๆ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ในทารกที่คลอดจากมารดาที่ใช้ยานี้ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ อาจมีอาการถอนยาเกิดขึ้น (พบได้น้อย) เช่น ดูดนมลำบาก หายใจลำบาก มีอาการชัก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หรือร้องไห้ไม่หยุด ถ้าคุณพบอาการใดๆ เหล่านี้ในเด็กแรกเกิด ให้แจ้งแพทย์ทันที

เนื่องจากโรคทางจิตเวช/อารมณ์ ที่ไม่ได้รับการรักษา เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ ตื่นตระหนก อาจเป็นภาวะที่ร้ายแรงได้ ดังนั้นห้ามหยุดยานี้เองโดยแพทย์ไม่ได้สั่ง ถ้าคุณกำลังวางแผนตั้งครรภ์ กำลังตั้งครรภ์ หรือคิดว่าตนเองอาจจะตั้งครรภ์ ให้รีบปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์ 

ยา Escitalopram ผ่านไปยังน้ำนมได้ และอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในทารกที่ดูดนมแม่ จึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการให้นมบุตร 

คำเตือนในการใช้ยา Escitalopram

ยาต้านเศร้า (Antidepressant medications) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคได้หลายโรค ได้แก่ โรคซึมเศร้า และโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตใจ/ความผิดปกติทางอารมณ์ (Mental/Mood disorders) โดยยาเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้มีความคิดฆ่าตัวตาย/พยายามฆ่าตัวตาย และยังมีประโยชน์ที่สำคัญอื่นๆ กับตัวผู้ป่วยที่ใช้ยา อย่างไรก็ตามมีข้อมูลพบผู้ป่วยจำนวนน้อย (โดยเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 25 ปี) ซึ่งใช้ยาต้านเศร้าสำหรับรักษาโรคใดๆ ก็ตาม อาจมีอาการซึมเศร้าแย่ลง, มีอาการทางสภาวะจิตใจ/อารมณ์, หรือมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่ต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับจากยาต้านเศร้า (โดยเฉพาะในผู้ที่อายุน้อยกว่า 25 ปี) แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ยานี้สำหรับรักษาโรคทางจิตใจ หรืออารมณ์ก็ตาม

แจ้งแพทย์ทันที หากคุณมีอาการซึมเศร้าแย่ลง หรือมีอาการทางจิตที่แย่ลง มีพฤติกรรมผิดปกติไป (รวมถึงความคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย) หรือมีความเปลี่ยนแปลงของสภาพจิตใจ อารมณ์ (มีอาการวิตกกังวล หรือวิตกกังวลมากกว่าเดิม ตื่นตระหนก) มีปัญหาในการนอนหลับ หงุดหงิด ฉุนเฉียว รู้สึกเกลียด รู้สึกโกรธ มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น กระวนกระวายใจอย่างรุนแรง พูดเร็วมาก โดยให้สังเกตอาการเหล่านี้เป็นพิเศษในช่วงเริ่มใช้ยาต้านเศร้า หรือเมื่อมีการปรับขนาดยา

ใครบ้างที่ไม่ควรใช้ยา Escitalopram

สภาวะต่อไปนี้ถือเป็นข้อห้ามในการใช้ยา Escitaloprm ดังนั้นต้องแจ้งแพทย์ทราบหากคุณมีสภาวะดังต่อไปนี้

  • กลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (Syndrome of Inappropriate Antidiuretic Hormone Secretion)
  • มีระดับแมกนีเซียม (Magnesium) ในเลือดต่ำ
  • มีระดับโซเดียม (Sodium) ในเลือดต่ำ
  • มีระดับโพแทสเซียม (Potassium) ในเลือดต่ำ
  • มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกมากกว่าปกติ
  • มีพฤติกรรมร่าเริงและทำกิจกรรมต่างๆ มากเกินไป
  • มีอาการคลุ้มคลั่งที่ไม่รุนแรง
  • มีอาการคลุ้มคลั่งสลับกับซึมเศร้า
  • มีความคิดฆ่าตัวตาย
  • เป็นกลุ่มอาการ Neuroleptic Malignant Syndrome
  • เป็นกลุ่มอาการซีโรโตนิน (Serotonin syndrome)-การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา
  • เป็นโรคต้อหินมุมปิด หรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นต้อหินมุมปิด
  • มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดใน 30 วันที่ผ่านมา
  • หัวใจเต้นเร็วชนิด Torsades de Pointes
  • พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาวจากการตรวจ EKG
  • เป็นโรคหัวใจ
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ผิดปกติแต่กำเนิด
  • เป็นโรคตับ
  • มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้ หลอดอาหาร
  • เป็นโรคไตบกพร่องอย่างรุนแรง
  • มีอาการชัก
  • เป็นผู้ที่มีการทำงานของเอนไซม์ CYP2C19 น้อยกว่าปกติ (CYP2C19 poor metabolizer)
  • แพ้ยาในกลุ่ม SSRIs
  • แพ้ยา Citalopram
  • แพ้ยา Escitalopram

การใช้ยา Escitalopram ร่วมกับยาอื่น

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interactions) อาจเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ข้อมูลที่ระบุนี้ไม่ได้ครอบคลุมการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ดังนั้นคุณต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรทราบทุกครั้งว่าคุณกำลังรับประทานยา อาหารเสริม สมุนไพร ใดอยู่ในขณะนี้ อย่าเริ่มยา หยุดยา หรือเปลี่ยนแปลงขนาดยาต่างๆ เอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

รายการยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยา Escitalopram:

ยา Aspirin จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกเมื่อใช้ร่วมกับยา Escitalopram อย่างไรก็ตามถ้าแพทย์สั่งยา Aspirin ขนาดต่ำให้คุณสำหรับป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด (heart attack prevention) หรือเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (stroke prevention) (ขนาดยาโดยทั่วไปคือ 81-325 มิลลิกรัมต่อวัน) คุณควรใช้ยา Aspirin ต่อ ยกเว้นแพทย์สั่งเป็นอย่างอื่น โดยให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การใช้ยาในกลุ่ม MAO inhibitors ร่วมกับยา Escitalopram อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่ร้ายแรงได้ (อาจทำให้เสียชีวิตได้) จึงต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่ม MAO inhibitors (Isocarboxazid, Linezolid, Methylene Blue, Moclobemide, Phenelzine, Procarbazine, Rasagiline, Safinamide, Selegiline, Tranylcypromine) ระหว่างใช้ยา Escitalopram โดยยาในกลุ่ม MAO inhibitors ส่วนใหญ่ ควรเว้นระยะห่างไม่ใช้ร่วมกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนและหลังใช้ยา Escitalopram โดยให้ปรึกษาแพทย์ว่าเมื่อใดควรเริ่มยาหรือหยุดยา Escitalopram 

ความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการซีโรโตนิน หรือ ซีโรโตนินเป็นพิษ (Serotonin syndrome/toxicity) จะเพิ่มขึ้นถ้าคุณใช้ยาอื่นที่เพิ่มปริมาณสารสื่อประสาท Serotonin ในร่างกาย เช่น สมุนไพร St. John's wort, ยาต้านเศร้าบางชนิด (ยาในกลุ่ม SSRIs เช่น Fluoxetine/Paroxetine, ยาในกลุ่ม SNRIs เช่น Duloxetine/Venlafaxine), Tryptophan โดยความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการซีโรโตนิน หรือ ซีโรโตนินเป็นพิษอาจเพิ่มมากขึ้นเมื่อเริ่มใช้ยาหรือเมื่อปรับเพิ่มขนาดยา

แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบถ้าคุณกำลังใช้ยาที่ทำให้ง่วงนอนได้ ตัวอย่างเช่น 

อ่านฉลากยาทุกชนิดที่กำลังใช้ เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้ไอ-แก้หวัด ยาแก้ปวด ลดไข้ เพราะอาจมีส่วนประกอบของยาที่ทำให้ง่วงนอน หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก ให้ปรึกษาเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาเหล่านี้อย่างปลอดภัย

มียาอีกหลายชนิดนอกเหนือจากยา Escitalopram ที่อาจส่งผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาวกว่าปกติ ทำให้มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ยา Amiodarone, Pimozide, Procainamide, Quinidine, Sotalol

ยา Escitalopram มีโครงสร้างคล้ายกับยา Citalopram จึงห้ามใช้ยาที่มีส่วนประกอบของ Citalopram ระหว่างใช้ยา Escitalopram

ยา Escitalopram อาจรบกวนผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ/การตรวจทางการแพทย์บางชนิด เช่น การตรวจสแกนสมองสำหรับโรคพาร์กินสัน ซึ่งอาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาด จึงต้องแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการว่าคุณกำลังใช้ยานี้อยู่

การได้รับยา Escitalopram เกินขนาด 

หากมีใครก็ตามที่ได้รับยา Escitalopram เกินขนาด จนทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรง เช่น หมดสติ หรือหายใจลำบาก ให้รีบเรียกรถพยาบาลทันที โทร 1669 

หมายเหตุ

ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้

ให้ไปพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำเพื่อติดตามอาการ

หากลืมรับประทานยา Escitalopram

ถ้าคุณลืมรับประทานยานี้ ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากนึกได้เมื่อใกล้กับเวลาของมื้อถัดไป ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และรับประทานมื้อถัดไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

การเก็บรักษายา Escitalopram

เก็บรักษายาที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดดและความชื้น ไม่เก็บยาในห้องน้ำ เก็บยาทุกชนิดให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่เทยานี้ทิ้งในห้องน้ำหรือในท่อระบายน้ำ ให้ทิ้งผลิตภัณฑ์ยานี้อย่างเหมาะสมเมื่อยาหมดอายุหรือเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้อีก


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Joana Cavaco Silva, Is it safe to drink alcohol while taking Lexapro? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322569.php), 24 July 2018.
nhs, Escitalopram (https://www.nhs.uk/medicines/escitalopram/), 14 December 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)