ทีมเภสัชกร HD
เขียนโดย
ทีมเภสัชกร HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ยาแก้ไอละลายเสมหะ

แนะนำยาแก้ไอละลายเสมหะ ที่เหมาะกับอาการไอมีเสมหะใส หรือไอมีเสมหะมีสีขาวขุ่น ไอมีเสมหะสีเขียวหรือเหลือง
เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ยาแก้ไอละลายเสมหะ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาแก้ไอมีเสมหะ คือ ยารักษาอาการไอร่วมกับมีเสมหะในลำคอ ซึ่งมักจะมาจากโรคหวัด การติดเชื้อไวรัส หรือโรคภูมิแพ้
  • อาการไอมีเสมหะแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทไอมีเสมหะใส เกิดได้จากไวรัส หรือโรคภูมิแพ้ และประเภทไอมีเสมหะสีเขียว หรือเหลือง อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ
  • ยาช่วยบรรเทาอาการไอมีเสมหะแบ่งได้ 2 กลุ่มตามกลไกการออกฤทธิ์ ได้แก่ ยาละลายเสมหะ มีคุณสมบัติทำให้เสมหะเหนียวข้นน้อยลง และขับออกมาได้ง่ายขึ้น
  • ยาบรรเทาอาการไอมีเสมหะกลุ่มที่ 2 คือ ยาขับเสมหะ มีคุณสมบัติเพิ่มสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้ผู้ป่วยไอเอาเสมหะในคอออกมาได้ง่าย
  • เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง และอาการแพ้ยา คุณควรให้แพทย์ หรือเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยาแก้ไอมีเสมหะให้ และอย่าซื้อมารับประทานเอง คุณควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหากเกิดอาการเจ็บป่วย เพื่อจะได้รับยารักษาที่เหมาะสม (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

อาการไอมีเสมหะ คือ มีอาการไอร่วมกับมีเสมหะในลำคอ ซึ่งเป็นอาการไอที่พบได้บ่อยที่สุดแบบหนึ่ง ส่วนมากเกิดจากเป็นหวัด ซึ่งอาจมีน้ำมูกลงคอ หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย หรือบางครั้งอาจเป็นเพราะภูมิแพ้ก็ได้เช่นกัน 

การดูแลตัวเองระยะแรกอาจใช้วิธีดื่มน้ำมากๆ หรืออาจใช้ยาแก้ไอละลายเสมหะบรรเทาอาการ ซึ่งคุณจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับอาการไอแบบต่างๆ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

ลักษณะอาการไอมีเสมหะ

อาการไอมีเสมหะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ไอมีเสมหะใส ไม่มีสี หรือมีสีขาวขุ่น สาเหตุอาจเกิดจากไวรัส หรือภูมิแพ้ กรณีนี้ควรให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ หรือยาขับเสมหะ โดยไม่มีความจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ เพราะว่าไม่มีการติดเชื้อของแบคทีเรีย
  2. ไอมีเสมหะข้นสีเขียว หรือสีเหลือง แสดงว่าอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจ แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาละลายหรือขับเสมหะ

ยาแก้ไอละลายเสมหะ

ยาที่ช่วยบรรเทาอาการไอละลายเสมหะ นิยมนำมาใช้รักษาการมีเสมหะคั่งเนื่องจากโรคหวัด โรคภูมิแพ้ ภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจ หรืออาจนำมาใช้รักษาโรคอื่นๆ ในระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ยาทั้งสองกลุ่มนี้มีจำหน่ายในท้องตลาด ทั้งในรูปแบบยาน้ำและยาเม็ด มีทั้งสูตรยาเดี่ยวและยาผสม ยาในกลุ่มนี้จัดเป็นยาอันตราย สามารถหาซื้อได้ในร้านขายยา แต่ต้องจ่ายโดยเภสัชกรเท่านั้น ยาที่ช่วยบรรเทาอาการไอมีเสมหะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ตามกลไกการออกฤทธิ์ ได้แก่

1. ยาละลายเสมหะ (Mucolytics)

เป็นยาที่ออกฤทธิ์เข้าไปย่อยโปรตีนหรือเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งจะมีผลทำลายการรวมตัวกันของโปรตีนที่จับตัวเป็นก้อนเสมหะเหนียวข้น รวมถึงลดแรงตึงผิวของเสมหะ ทำให้เสมหะใสขึ้น เหนียวข้นน้อยลงจนกลไกของร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายยิ่งขึ้น ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่

  • อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine; Acetin® Fluimucil®, Flucil®, Mucil®, Muclear®) หรือเอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-acetylcysteine; NacLong®) ออกฤทธิ์โดยในโครงสร้างของอะเซทิลซิสเทอีนมีหมู่ซัลไฮดริลอิสระที่สามารถสลายพันธะไดซัลไฟด์ของมิวโคโปรตีน (mucoprotein) ของเสมหะได้ ส่งให้ความข้นหนืดของเสมหะลดลง ส่วนใหญ่พบในรูปแบบแกรนูล หรือเม็ดฟู่ละลายน้ำ
  • คาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine; Amicof®, Expetan®/Expetan-Kids®/Expetan-R®, Flemex®/Flemex Kids®) ยาในกลุ่มนี้ได้รับความนิยมมากเนื่องจากมีประสิทธิภาพในการละลายเสมหะดี มีราคาไม่แพง และผลข้างเคียงน้อย มีความปลอดภัยสูงสามารถใช้ได้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3 แต่ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 เนื่องจากยาจะมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
  • บรอมเฮกซีน (Bromhexine; Bisolvon®, Bisolvon® Syrup, Bisoltab®, Bromcolex®, Bromxin®, Bromxine®) บรอมเฮกซีนนิยมใช้เช่นกัน เนื่องจากมีความเป็นพิษต่ำ ยาตัวนี้สามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์
  • แอมบร็อกซอล (Ambroxol; Mucolid®, Mucosolvan®, Mucosolvan-SR®) มีคุณสมบัติช่วยให้เสมหะเหลวลง ทำให้เสมหะที่เหนียวข้นและคั่งค้างอยู่ในหลอดลมถูกขับออกได้ง่าย ทำให้การหายใจสะดวกขึ้น นิยมใช้ละลายเสมหะในโรคของระบบทางเดินหายใจทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังที่มีเสมหะเหนียวข้น สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ยาแอมบรอกซอลจัดอยู่ในประเภท B แม้ว่าจะมีความปลอดภัยกับหญิงตังครรภ์ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก หากจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

2. ยาขับเสมหะ (Expectorants)

เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยกระตุ้นให้เยื่อบุในระบบทางเดินหายใจกำจัดเสมหะออกจากร่างกาย และเพิ่มปริมาณสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจให้มากขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยไอเอาเสมหะออกมาได้ง่ายและหายใจสะดวกยิ่งขึ้น โดยแท้จริงแล้วการที่เรามักมีอาการไอร่วมด้วยขณะที่มีเสมหะ นั่นคือกลไกหนึ่งของร่างกายที่ต้องการขับเสมหะออกมานั่นเอง ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่

  • ยาไกวเฟนิซิน (Guaifenesins หรือ Glycerol guaicolate; Fenesin®, Robitussin®, MUCHES®, Icolid®, Terco-D®) เป็นยาขับเสมหะชนิดหลักที่มีใช้มานาน และได้รับความนิยมสูง มีทั้งตำรับยาเดี่ยวและชนิดยาผสม
  • ยาเทอร์พินไฮเดรต (Terpin hydrate) มีประสิทธิภาพในการขับเสมหะดีใกล้เคียงกับชนิดอื่น ในประเทศไทยนิยมนำไปผสมกับยาแก้ไอหรือยาขับเสมหะชนิดอื่น เช่น กัวฟีนีซีน
  • ยาแอมโมเนียมคลอไรด์ (Ammonium chloride) มักนำไปใช้ผสมกับยาแก้ไอหรือยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก แต่ไม่นิยมนำมาใช้เป็นยาขับเสมหะเป็นหลัก

ตัวอย่างยาแก้ไอละลายเสมหะชนิดสูตรผสม

ยาในกลุ่มนี้ทั้งหมดจัดเป็นยาอันตรายที่ต้องจ่ายโดยเภสัชกรเท่านั้น

1. A-nadri® Cough Syrup

มีส่วนประกอบของยา ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สรรพคุณของยา มีดังนี้

  • ขับเสมหะ
  • บรรเทาอาการไอ
  • ลดน้ำมูก
  • บรรเทาอาการภูมิแพ้

2. Aracaf®

มีส่วนประกอบของยา ดังนี้

สรรพคุณของยา มีดังนี้

  • ขับเสมหะ
  • บรรเทาอาการไอ
  • ลดน้ำมูก
  • บรรเทาอาการภูมิแพ้

3. Asthnyl®

มีส่วนประกอบของยา (Per 5 mL) ดังนี้

สรรพคุณของยา มีดังนี้

  • ขับเสมหะ
  • ช่วยขยายหลอดลม

4. Codee-C®

มีส่วนประกอบของยา ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

  • guaifenesin 100 mg
  • terpin hydrate 130 mg
  • codeine phosphate 10 mg

สรรพคุณของยา มีดังต่อไปนี้

  • ขับเสมหะ
  • บรรเทาอาการไอ

5. D-Coate ®

มีส่วนประกอบของยา ดังนี้

สรรพคุณของยา มีดังต่อไปนี้

  • ขับเสมหะ
  • บรรเทาอาการไอ

6. British Dispensary Health Care®

มีส่วนประกอบของยา (60 mL; Per 5 mL)

  • glycyrrhiza fluid extr 0.6 mL
  • antimony K tartrate 1.2 mg
  • camphorated opium tinct 0.6 mL

สรรพคุณของยา มีดังต่อไปนี้

  • ขับเสมหะ
  • บรรเทาอาการไอ

ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้ไอละลายเสมหะ

  • ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรถึงประวัติโรคที่เป็น และประวัติการแพ้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ยาและผลเสียต่างๆ ที่อาจเกิดจากการใช้ยา
  • หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
  • ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยาไกวเฟนิซิน หากมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบ โรคหืด ไอเป็นเลือด อาการไอจากการสูบบุหรี่ หรือมีเสมหะมาก
  • ไม่ควรใช้ยาไกวเฟนิซินในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี
  • ระหว่างรับประทายาขับเสมหะควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยลดความข้นเหนียวของเสมหะ ทำให้เสมหะขับออกง่ายขึ้น

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)