กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. ปิยาภรณ์ กิตติสุรัตน์พงศ์ แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. ปิยาภรณ์ กิตติสุรัตน์พงศ์ แพทย์ทั่วไป

อาการไอเป็นเลือด (Hemoptysis)

อาการไอเป็นเลือด เป็นสัญญาณอันตรายของร่างกายที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจ ผู้ที่พบอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการไอเป็นเลือด (Hemoptysis)

อาการไอเป็นเลือด ไม่ว่าจะมีเลือดออกมากหรือน้อยก็ตาม ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ากังวลใจและน่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาการนี้มักมีสาเหตุมาจากโรคใดโรคหนึ่ง ซึ่งเลือดดังกล่าวอาจมาจากจมูก ลำคอ ทางเดินหายใจส่วนบนหรือปอดก็ได้ ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับปริมาณของเลือดที่ปนออกมา และระยะเวลาที่มีอาการไอเป็นเลือด

สิ่งที่สามารถสังเกตด้วยตัวเองได้ คือถ้าเลือดที่ออกมาพร้อมกับการไอมีฟองปนอยู่ด้วย มักจะเป็นเลือดที่ออกมาจากปอด เพราะเลือดถูกผสมกับอากาศและเมือกในปอด ส่วนเลือดที่ออกจากช่องปากในกรณีที่มีบาดแผล จะมีลักษณะไม่เหมือนกับเลือดที่ออกมาพร้อมการไอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

สาเหตุของอาการไอเป็นเลือด

อาการไอเป็นเลือด อาจเกิดจากปัญหาของร่างกายได้หลายระดับ ตั้งแต่การระคายเคืองที่ลำคอ จนถึงโรคมะเร็งปอด แต่สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากโรคหรือความผิดปกติที่ไม่รุนแรง เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นต้น

ส่วนสาเหตุที่มีความรุนแรงจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ได้แก่

มีบางสาเหตุที่จัดเป็นภาวะรุนแรง และต้องได้รับการรักษาทันที เช่น

  • การได้รับบาดเจ็บที่หน้าอก เช่น อุบัติเหตุ
  • การสูดดมอนุภาคสิ่งแปลกปลอม เช่น PM 2.5
  • การบาดเจ็บของหลอดเลือดแดงในปอด
  • โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic fibrosis)
  • ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

การตรวจทางการแพทย์และกระบวนการบางอย่าง ก็สามารถเกิดผลข้างเคียงที่นำไปสู่การไอเป็นเลือดได้ชั่วคราว เช่น

  • การส่องกล้องตรวจหลอดลม (Bronchoscopy)
  • การตรวจวัดสมรรถภาพปอด (Spirometry)
  • การส่องกล้องตรวจกล่องเสียง (Laryngoscopy)
  • การผ่าตัดต่อมทอนซิล
  • การผ่าตัดเสริมจมูก
  • การตัดตรวจชิ้นเนื้อในทางเดินหายใจส่วนบน

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

ทันทีที่พบอาการไอเป็นเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณของโรคระบบทางเดินหายใจร้ายแรง และควรรีบไปที่ห้องฉุกเฉินทันที หากพบอาการเหล่านี้ร่วมอยู่ด้วย

  • เริ่มไอเป็นเลือดหลังจากการหกล้ม ตกจากที่สูง หรือได้รับบาดเจ็บที่หน้าอก
  • ไอเป็นเลือดออกมาเกินกว่า 2-3 ช้อนชา
  • ไอเป็นเลือด ร่วมกับพบเลือดในปัสสาวะ หรืออุจจาระ
  • มีอาการเจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ หน้ามืด หรือหายใจลำบากร่วมด้วย

การรักษาอาการไอเป็นเลือด

การไอเป็นเลือดสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการเอ็กซเรย์ทรวงอกเป็นอันดับแรก และจะทำการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • การส่องกล้องตรวจหลอดลม (Bronchoscopy)
  • การเจาะตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด และตรวจการแข็งตัวของเลือด
  • การตัดตรวจชิ้นเนื้อปอด
  • การตรวจการไหลของปอด (Lung VQ Scan)
  • การตรวจการไหลเวียนเลือดในปอด (Pulmonary Angiography)
  • การเพาะเชื้อจากเสมหะ (Sputum Culture)
  • การตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด (Pulse Oximetry)

หากสาเหตุเกิดจากการระคายเคืองคอทั่วไปเนื่องจากการไอ แพทย์ก็อาจจ่ายยาแก้ไอ หรือยาอมที่ทำให้ชุ่มคอ แต่ถ้าหากมีเลือดออกรุนแรง ทั้งที่รักษาโรคต้นเหตุแล้วแต่ยังไม่หาย แพทย์อาจจะต้องทำการผ่าตัดเล็กเพื่อหยุดเลือด เป็นต้น

วิธีป้องกันอาการไอเป็นเลือด

วิธีการป้องกันการไอเป็นเลือดที่ดีที่สุด คือการดูแลตัวเอง และหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการระคายเคือง หรือเกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ลง สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ในที่มีฝุ่น ควัน หรือสารเคมี เป็นต้น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bidwell JL, Pachner RW. Hemoptysis: Diagnosis and Management. Am Fam Physician 2005
Johnson JL. Manifestations of hemoptysis. Postgrad Med 2002
Brian Krans and Rachel Nall, What causes coughing up blood? (https://www.healthline.com/symptom/coughing-up-blood), 12 December 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)