กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ถุงลมโป่งพองเกิดเมื่อถุงลมภายในปอดถูกทำลาย

ถุงลมโป่งพองเป็น 1 ใน 2 ประเภทของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งจัดเป็นกลุ่มโรคทางระบบหายใจที่ทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจและหายใจลำบาก ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่วนมากมีอาการทั้งของโรคถุงลมโป่งพอง และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อ้างอิงจากสถาบันโรคหัวใจ ปอดและเลือดแห่งชาติ (NHBLI) ศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรค (CDC) พบว่าในปี 2012 มีผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองมากถึง 4.1 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีถึง 93% และพบว่าในช่วงที่ผ่านมา มีผู้ชายเป็นโรคถุงลมโป่งพองมากกว่าผู้หญิง โดยมีผู้ชายเป็นโรค 2.3 ล้านคนเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มี 1.8 ล้าคน ในปี 2011 มีชาวอเมริกันเสียชีวิตจากโรคนี้จำนวน 9352 คน

ถุงลมโป่งพองคืออะไร?

ถุงลมโป่งพองเกิดเมื่อถุงลมในปอดถูกทำลาย และโป่งพองออกทำให้หายใจไม่ได้ ในปอดแต่ละข้างจะมีถุงลมประมาณ 480 ล้านถุง เมื่อคุณหายใจเข้า ถุงลมจะขยายและยืดออก ทำให้ออกซิเจนเข้ามา และแลกเปลี่ยนเข้าสู่เลือดผ่านทางเส้นเลือดฝอยที่อยู่บริเวณผนังถุงลม ในขณะเดียวกัน คาร์บอนไดออกไซด์จะก็เคลื่อนที่ออกจากเลือดเข้าสู่อากาศเช่นกัน เมื่อคุณหายใจออก ถุงลมเหล่านี้ก็จะหดตัวลง ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ถูกขับออกผ่านทางการหายใจ อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง จะมีการทำลายผนังถุงลม และทำให้ถุงลมสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้หลอดลมตีบแคบลง การที่ถุงลมไม่สามารถยืดหยุ่นได้และหลอดลมตีบแคบนั้นทำให้ผู้ป่วยหายใจออกสุดได้ยากขึ้น นอกจากนั้นโรคนี้ยังสามารถทำให้ถุงลมแตกได้ ทำให้มีถุงลมจำนวนน้อยลง แต่ใหญ่ขึ้น และทำให้พื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

โรคนี้ถือเป็นโรคทางระบบหายใจที่สามารถป้องกันได้มากที่สุดเนื่องจากมักเกิดจากการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่มีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากถึง 80-90% อ้างอิงจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง เช่นการมีประวัติติดเชื้อในทางเดินหายใจบ่อยตอนเด็ก การเป็นโรคหอบหืด และการได้รับสารพิษในอากาศ จากควันบุหรี่ จากฝุ่น และควันในที่ทำงานเรื้อรัง โรคนี้อาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมชื่อ alpha-1 antitrypsin (A1AT) deficiency ได้แต่พบน้อยมาก ผู้ป่วยในกลุ่ม A1AT deficiency นี้จะไม่สามารถผลิตโปรตีน A1AT ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันปอดจากการทำลายของเอนไซม์ neutrophil elastase มีการยากที่จะระบุถึงจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ แต่มีการศึกษาในวารสาร Canadian Respiratory Journal ปี 2012 ที่เสนอว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประมาณ 5% อาจมีความผิดปกติทางพันธุกรรมดังกล่าว

อาการของโรคถุงลมโป่งพอง

อาการของโรคถุงลมโป่งพองประกอบด้วย

  • หายใจลำบาก โดยเฉพาะระห่างการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ไอเรื้อรัง
  • มีการติดเชื้อในระบบหายใจบ่อยเช่นหลอดลมอักเสบหรือปอดติดเชื้อ
  • หายใจมีเสียงวี๊ด
  • เบื่ออาหารและน้ำหนักลด
  • อ่อนเพลีย
  • ตัวเขียวโดยเฉพาะที่ริมฝีปาก และปลายนิ้ว
  • ปอดลักษณะเหมือนถังเบียร์ จากการที่มีถุงลมโป่งพองอยู่ข้างในเรื้อรัง

การวินิจฉัยและการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพองมักวินิจฉัยจากการทำการทดสอบ เช่น

  • Spirometry เป็นการประเมินการทำงานของปอด ซึ่งจะวัดปริมาณอากาศที่หายใจออกและความเร็วในการหายใจออก
  • เอกซเรย์ปอด และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเห็นการทำลายของปอด
  • Arterial blood gas เพื่อประเมินปริมาณออกซิเจนและคาร์บอยไดออกไซด์ในเส้นเลือดแดง
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อตัดโรคเกี่ยวกับหัวใจที่อาจมีอาการหายใจลำบากได้
  • การทดสอบ A1AT deficiency

ในปัจจุบันไม่มีการรักษาที่สามารถรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้หาย หรือทำให้โรคดีขึ้นได้ แต่การหยุดสูบบุหรี่ และรับการรักษาจะช่วยชะลอการดำเนินโรค และเพิ่มคุณภาพชีวิต

การรักษาในส่วนของถุงลมโป่งพองเช่น

  • ยาใช้ยา เช่นกลุ่มยาขยายหลอดลม ยาสเตียรอยด์ และยาปฏิชีวนะ (มักใช้เพื่อการรักษาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ)
  • ให้ออกซิเจนถ้าจำเป็น
  • การให้ A1AT ถ้าจำเป็น
  • การผ่าตัดปอดเพื่อตัดส่วนที่ถกทำลายแล้วออก หรือการเปลี่ยนถ่ายปอดในผู้ที่เป็นโรคขั้นรุนแรง
  • การบริหารปอด ซึ่งจะทำให้คุณอยู่ร่วมกับโรคได้ดียิ่งขึ้น

ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อบางชนิด


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้