ยาขับเสมหะ (Expectorants) เป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากหาซื้อได้ด้วยตนเองในร้านยา ยาขับเสมหะโดยมากจะผสมอยู่ในยาแก้ไอชนิดน้ำ นอกจากนี้ยังมียาขับเสมหะโดยเฉพาะในรูปแบบยาน้ำ หรือยาเม็ด ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไป
ยาขับเสมหะมักนำมาใช้รักษาอาการมีเสมหะคั่ง เนื่องจากโรคหวัด โรคภูมิแพ้ และภาวะติดเชื้อ หรืออาจนำมาใช้รักษาโรคอื่นๆ ในระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้สั่งจ่าย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
กลไกการออกฤทธิ์ของยาขับเสมหะ
ยาขับเสมหะ (Expectorants) เป็นกลุ่มยาที่ช่วยขับมูก หรือเสมหะภายในระบบทางเดินหายใจที่มีมากเกินนั้นออกมาได้ง่ายขึ้น
โดยปกติกลไกตามธรรมชาติของร่างกายจะใช้การกระแอม หรือการไอ เพื่อขยับหลอดลมและหลอดอาหารให้เสมหะ หรือมูกออกมาได้ง่ายยิ่งขึ้น กลุ่มยาขับเสมหะนี้จะไปช่วยกระตุ้นให้มีการพัดโบกของขน (celia) ในทางเดินหายใจ เพื่อช่วยให้ไอและขับเอามูกออกมาได้มากขึ้น
นอกจากนี้ยายังออกฤทธิ์ไประคายเคืองเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายมีกลไกตอบสนองคือ กระตุ้นให้เยื่อบุส่วนนั้นหลั่งสารคัดหลั่งมากขึ้นเพื่อให้เสมหะลื่น ไม่ข้นเหนียว และขับออกมาได้ง่ายกว่าเดิม
ยาขับเสมหะในประเทศไทย
ยาขับเสมหะทุกตัวมีกลไกการออกฤทธิ์ที่เหมือนกัน ทำให้ทุกตัวมีประสิทธิภาพในการขับเสมหะที่เท่าเทียมกัน แต่แตกต่างกันที่ผลข้างเคียงและราคา
ตัวยาขับเสมหะที่มีใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
1.แอมโมเนียม คลอไรด์ (Ammonium Chloride)
เป็นยาที่มีฤทธิ์ขับเสมหะ และยังมีฤทธิ์อื่นอีกด้วย จึงจัดเป็นตัวยาที่มีหลากหลายข้อบ่งใช้ ดังเช่น ขับปัสสาวะ ปรับความเป็นกรดด่างของปัสสาวะและขับเสมหะ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ทั้งยังเป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูงกว่าชนิดอื่นคือ ระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ง่าย จึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นยาขับเสมหะเป็นหลัก แต่อาจจะนำไปใช้ผสมกับยาขับเสมหะกัวฟีนีซีน หรือยาแก้ไอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเสมหะ
ยาตัวนี้จะเน้นใช้ในการขับปัสสาวะและปรับกรดด่างในปัสสาวะของผู้ที่เป็นโรคไต หรือในผู้ที่มีระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติมากกว่า
2.กัวฟีนีซีน (Guafenesin หรือ Glycerol Guaicolate)
เป็นยาขับเสมหะชนิดหลักที่มีใช้มานานและได้รับความนิยมสูง พบได้ในร้านขายยาทั่วไป มีทั้งรูปแบบยาเม็ดและยาน้ำ ทั้งตำรับยาเดี่ยวและชนิดยาผสม โดยอาจจะผสมกับยาขับเสมหะชนิดอื่น ยาแก้แพ้ หรือยาแก้ไอ
ตัวอย่างชื่อการค้าที่พบได้เช่น Icolid, Terco-D, D-Coat, ยาแก้ไอน้ำดำ ตราเสือดาว ยาชนิดนี้จะมีราคาไม่แพงและมีผลข้างเคียงต่ำ อาจจะมีคลื่นไส้ หรือระคายเคืองทางเดินอาหารได้บ้างในบางราย แต่พบได้น้อย
3.เทอร์พีน ไฮเดรต (Terpin hydrate)
ตัวยาชนิดนี้สกัดได้จากน้ำมันหอมระเหยของพืช เช่น น้ำมันสน น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันออริกาโน่ ทำให้มีต้นทุนสูง มีประสิทธิภาพในการขับเสมหะดีพอกับชนิดอื่นแต่ราคาแพงกว่าชนิดอื่น นิยมใช้ในประเทศอเมริกา
ในประเทศไทยจะนิยมนำยาตัวไปผสมกับยาแก้ไอ หรือยาขับเสมหะชนิดอื่น เช่น กัวฟีนีซีน โดยมีทั้งในรูปแบบเม็ดและรูปแบบน้ำ ผลข้างเคียงมีน้อย แต่อาจจะกดการหายใจ และปัสสาวะคั่งได้เมื่อใช้ในปริมาณมาก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ข้อควรระวังและผลข้างเคียงของยาขับเสมหะ
ยาขับเสมหะเป็นยาที่สามารถซื้อเองได้จากร้านยาทั่วไป มีผลข้างเคียงน้อยและไม่รุนแรงเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ก็อาจจะเกิดผลข้างเคียงได้บ้างในบางราย เช่น
- เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
- ง่วงนอน
- มีผื่นขึ้น ในผู้ที่มีอาการแพ้ยากลุ่มนี้
- หายใจไม่ออก ในผู้ที่มีอาการแพ้ยากลุ่มนี้
- หน้าบวม ปากบวม ในผู้ที่มีอาการแพ้ยากลุ่มนี้
- คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดท้อง
- เด็กที่อายุมากกว่า 4 ปีสามารถใช้ยากลุ่มนี้ได้ ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์หรือเภสัชกรจะเป็นผู้กำหนดขนาด หรือปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละราย
- หญิงตั้งครรภ์สามารถใช้ยาขับเสมหะได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณตามที่ระบุในฉลากยาเท่านั้น และต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ
ยาละลายเสมหะ
ยาละลายเสมหะ (Mucolytics) เป็นยาที่ใช้อย่างแพร่หลายและหาซื้อได้ในร้านยาเช่นกัน มีทั้งแบบที่เป็นสูตรตำรับเดี่ยวๆ และแบบที่เป็นสูตรรวมระหว่างยาละลายเสมหะหลายตัว ยาขับเสมหะ หรือ ยากดอาการไอ แล้วแต่สูตรตำรับของแต่ละบริษัท มีทั้งรูปแบบยาน้ำและยาเม็ด
ยาละลายเสมหะมักนำมาใช้เพื่อทำให้ความข้นเหนียวของเสมหะลดลงและกำจัดออกมาได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) คาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine) แอมบรอกซอล (Ambroxol) และ บรอมเฮกซีน (Bromhexine) เป็นต้น
กลไกการออกฤทธิ์ของยาละลายเสมหะ
ยาละลายเสมหะ (Mucolytics) แต่ละตัวมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน แต่ต่างก็มีผลทำให้เสมหะมีความข้นเหนียวลดลง ดังนี้
- อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) และ คาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine) มีกลไกการออกฤทธิ์คือ การไปทำให้การเกาะกันของพันธะไดซัลไฟด์ของเสมหะลดลง เสมหะจึงมีความข้นเหนียวลดลง
- แอมบรอกซอล (Ambroxol) และบรอมเฮกซีน (Bromhexine) กระตุ้นให้ทางเดินหายใจหลั่งสารที่ทำให้เสมหะมีความข้นเหนียวน้อยลง พร้อมกับกระตุ้นการพัดโบกของขนเล็กๆ (Celia) บริเวณทางเดินหายใจ ทำให้ขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น
ข้อควรระวังและผลข้างเคียงของยาละลายเสมหะ
- ปวด หรือเวียนศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และอาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร
- ควรระวังการใช้เป็นพิเศษในผู้ที่มีประวัติมีแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และผู้ป่วยโรคหอบหืด
- ควรระวังการใช้ในเด็กสำหรับยาทุกตัวในกลุ่มนี้
- ควรระวังการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี สำหรับยาแอมบรอกซอล
- ควรระวังการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี สำหรับยาบรอมเฮกซีน
- ควรระวังการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สำหรับยาคาร์โบซิสเทอีน อีกทั้งไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าใช้ได้ผลในการรักษา
- ควรระมัดระวังการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่กำลังให้นมบุตร
หากมีปัญหาเรื่องน้ำมูกและเสมหะ แต่ไม่แน่ใจว่า ควรใช้ยาชนิดใดจึงจะเหมาะสมกับอาการและข้อบ่งชี้ทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนการใช้ยา หรือใช้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์เพื่อได้รับคำแนะนำเบื้องต้นก่อน
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android