กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HONESTDOCS
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HONESTDOCS

Chlorpheniramine (คลอเฟนิรามีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • Chlorpheniramine (คลอร์เฟนิรามีน) หรือ CPM เป็นยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสตามีน ใช้บรรเทาอาการแพ้ต่างๆ เช่น คันจมูก คันคอ ผื่นคัน ลมพิษ รวมทั้งบรรเทาอาการหวัด เช่น ลดน้ำมูก จาม
  • คลอร์เฟนิรามีน มีทั้งชนิดเม็ดขนาด 2 และ 4 มิลลิกรัม และชนิดน้ำเชื่อม ขนาด 2 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร
  • ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ อาการง่วงซึม ไม่สดชื่น ปากแห้ง จมูกแห้ง คอแห้ง แต่เหตุที่เป็นที่นิยมเพราะราคาถูก โอกาสแพ้ยา หรือเกิดผลข้างเคียง น้อยและหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป
  • ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาต่อไปนี้ เช่น ยาทางจิตเวช ยานอนหลับ ยาคลายกังวล ยากันชักบางชนิด ยกแก้ปวดบางชนิด ยาแก้แพ้อื่นๆ เพราะอาจมีผลต่อการรักษา หรือทำให้เกิดอันตรายได้ 
  • สำหรับอาการแพ้ หรือภูมิแพ้ ควรพยายามสังเกตตนเองเพื่อหาสาเหตุการแพ้ หากไม่ทราบอาจไปตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จะได้หลีกเลี่ยงการแพ้นั้น และใช้ยาเท่าที่จำเป็นจริงๆ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

Chlorpheniramine (คลอร์เฟนิรามีน) บางครั้งนิยมเรียกสั้นๆว่า "CPM" เป็นยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสตามีน ใช้บรรเทาอาการแพ้ต่างๆ เช่น  คันจมูก  คันคอ ผื่นคัน ลมพิษ  รวมทั้งบรรเทาอาการหวัด เช่น ลดน้ำมูก จาม  

แม้ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของ Chlorpheniramine คือ อาการง่วงซึม ไม่สดชื่น  ปากแห้ง จมูกแห้ง คอแห้ง แต่อย่างไรก็ตาม ยานี้ยังเป็นที่นิยมใช้เพราะมีราคาถูก โอกาสแพ้ยา หรือเกิดผลข้างเคียงจากยามีน้อย รวมทั้งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Chlorpheniramine

  • ยาเม็ดรับประทาน (tablet) ประกอบด้วยคลอร์เฟนิรามีน ขนาด 2 และ 4 มิลลิกรัม 
  • ยาน้ำเชื่อม (syrup) ประกอบด้วยคลอร์เฟนิรามีน ขนาด 2 มิลลิกรัม ต่อ 5 มิลลิลิตร

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

โดยทั่วไปยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น แต่ถ้าเป็นตัวยา chlorpheniramine maleate ขนาด 2 มิลลิกรัม บรรจุในแผง แผงละ 4 และ 10 เม็ด จะจัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน

กลไกการออกฤทธิ์ของ Chlorpheniramine

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ คลอเฟนิรามีนจับกับตัวรับฮีสตามีน H1 ส่งผลให้ฮีสตามีนที่เป็นสารตัวกลางก่อการแพ้ไม่แสดงผล

ข้อบ่งใช้ยา Chlorpheniramine

  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการแพ้ ได้แก่ ภูมิแพ้เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากสารก่อการแพ้ ขนาดรับประทาน 4 มิลลิกรัม  ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 24 มิลลิกรัม
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการน้ำมูกไหลจากโรคหวัดธรรมดา ขนาดรับประทาน 4 มิลลิกรัม ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 24 มิลลิกรัม
  • ข้อบ่งใช้ คือ รักษาอาการแพ้ ได้แก่ ภูมิแพ้เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากสารก่อการแพ้ ขนาดรับประทานในเด็ก 6-11 ปี ขนาดรับประทาน 4 มิลลิกรัมทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 24 มิลลิกรัม
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการน้ำมูกไหลจากโรคหวัดธรรมดา ขนาดรับประทานในเด็ก 6-11 ปี ขนาดรับประทาน 4 มิลลิกรัมทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 24 มิลลิกรัม
  • หลังรับประทานให้ดื่มน้ำตามมากๆ อย่างน้อย 1 แก้ว 

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Chlorpheniramine

  • หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน 
  • กรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อมูลการใช้ยา Chlorpheniramine ในหญิงมีครรภ์และหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร

  • สำหรับการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในหญิงมีครรภ์โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนคลอด  
  • สำหรับหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร ควรระมัดระวังการใช้ยาเพราะนอกจากตัวยาจะลดการสร้างน้ำนมแล้ว ตัวยายังสามารถยาขับออกทางน้ำนมได้ 

ข้อควรระวังของการใช้ยา Chlorpheniramine

  • ห้ามใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการแพ้ยานี้ หรือเคยแพ้ยานี้
  • ห้ามใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี  เพราะยากระตุ้นประสาทอาจทำให้มีอาการชักได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้สูงอายุ เนื่องจากยามีผล anticholinergic และมีการขับยาลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีอาการเพ้อ (delirium) หรือมีความเสี่ยงการเกิดอาการเพ้อสูง เนื่องจากยาอาจทำให้อาการเพ้อรุนแรงยิ่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้ป่วยความจำเสื่อม หรือมีความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง เนื่องจากยามีผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
  • ห้ามใช้ยาในผู้ที่กำลังใช้ยารักษาภาวะซึมเศร้าบางชนิดภายใน 14 วันที่ผ่านมา เพราะอาจทำให้อาการข้างเคียงของยาเพิ่มขึ้นได้  
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้ป่วยเพศชายที่มีอาการของระบบปัสสาวะส่วนล่าง หรือเนื้องอกต่อมลูกหมาก เนื่องจากตัวยาลดการขับปัสสาวะ และอาจเกิดการคั่งของปัสาวะ
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคหลอดลมพอง  ถุงลมโป่งพอง  ความดันโลหิตสูง ลมชัก ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ 
  • ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยา หรือเครื่องดื่มต่อไปนี้ เพราะอาจมีผลต่อการรักษา หรือเกิดอันตรายได้ เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ  ยาทางจิตเวช  ยานอนหลับ  ยาคลายกังวล  ยากันชักบางชนิด  ยกแก้ปวดบางชนิด ยาแก้แพ้อื่นๆ
  • ระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานเสี่ยงอันตราย  

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Chlorpheniramine

ปัจจุบันยังไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ยา CPM เป็นระยะเวลานาน  

ข้อมูลการเก็บรักษา Chlorpheniramine

  • ควรเก็บยาในภาชนะเดิมที่บรรจุมา ปิดให้สนิท 
  • ควรเก็บรักษายาในที่แห้ง อย่าให้โดนแสง หรือความชื้นโดยตรง 
  • ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส สำหรับยาน้ำเชื่อม ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็ก

แม้ว่ายาทุกชนิดจะมีประโยชน์ในการรักษาโรค หรือบรรเทาอาการ แต่ก็อาจมีโทษได้เช่นกัน หากใช้ผิดวิธี หรือใช้อย่างไม่เหมาะสม ดังนั้นหากไม่แน่ใจเกี่ยวกับการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง 

สำหรับอาการแพ้ หรือภูมิแพ้ ควรพยายามสังเกตตนเองเพื่อหาสาเหตุการแพ้ หากไม่ทราบอาจไปติดต่อตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จะได้หลีกเลี่ยง ป้องกัน หรือรับมือกับการแพ้นั้นได้ถูกต้อง รวมทั้งสามารถลดการใช้ยาลง ใช้เท่าที่จำเป็นจริงๆ 

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chlorpheniramine | C16H19ClN2. U.S. National Library of Medicine National Center for Biotechnology Information. (https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Chlorpheniramine)
Chlorpheniramine Allergy Oral : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing. WebMD. (https://www.webmd.com/drugs/2/drug-53948/chlorpheniramine-allergy-oral/details)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)