ภาวะเพ้อคลั่ง (Delirium) เกิดจากอะไร?

ภาวะเพ้อคลั่ง เป็นอาการที่พบได้ในผู้ที่มีปัญหาทางสมอง ผู้ที่อยู่ในช่วงถอนพิษสุรา และผู้ที่ใช้ยาบางชนิด แต่ภาวะนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากรักษาอย่างถูกวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะเพ้อคลั่ง (Delirium) เกิดจากอะไร?

ภาวะเพ้อคลั่ง เป็นอาการที่พบได้ในผู้ที่มีปัญหาทางสมอง ผู้ที่อยู่ในช่วงถอนพิษสุรา และผู้ที่ใช้ยาบางชนิด แต่ภาวะนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากรักษาอย่างถูกวิธี

ภาวะเพ้อคลั่ง (Delirium) คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างฉับพลันในสมอง ทำให้เกิดความสับสนด้านการรับรู้และเสียการควบคุมทางอารมณ์และจิตใจ ส่งผลให้ทักษะการคิด การจำ การตั้งสมาธิ การนอนหลับ และอื่นๆ ถดถอยลง สามารถพบได้ในผู้ที่อยู่ในภาวะถอนพิษสุรา ช่วงหลังผ่าตัด หรือมีภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น อาการเพ้อคลั่งมักเกิดขึ้นชั่วคราว และส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการเพ้อคลั่งสามารถแบ่งประเภทตามสาเหตุได้ ดังนี้

  • ภาวะเพ้อคลั่งจากภาวะถอนพิษสุรา (Delirium Tremens) เป็นภาวะรุนแรงที่เกิดกับผู้ที่ต้องการเลิกแอลกอฮอล์ หลังจากดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักติดต่อกันมาหลายปี
  • ภาวะเพ้อคลั่งแบบกระวนกระวาย (Hyperactive Delirium) ผู้ป่วยจะมีลักษณะตื่นตัวมากผิดปกติ โดยที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ภาวะเพ้อคลั่งแบบเซื่องซึม (Hypoactive Delirium) เป็นลักษณะที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยมักมีอาการง่วงซึม เฉยเมย และละเลยหน้าที่ในชีวิตประจำวัน บางครั้งอาจลืมรับประทานอาหารหรือลืมการนัดหมายด้วย

ผู้ป่วยบางคนอาจมีลักษณะของภาวะเพ้อคลั่งได้ทั้งแบบกระวนกระวายและแบบเซื่องซึมสลับกันไปมา

อาการของภาวะเพ้อคลั่ง

ภาวะเพ้อคลั่งส่งผลต่อจิตใจ อารมณ์ การควบคุมกล้ามเนื้อ การนอนหลับ และอาจทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รวมถึงอาจทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวช้าลงหรือเร็วขึ้นกว่าปกติ และมีอาการอื่นๆ ตามมาได้ เช่น

  • ไม่สามารถคิดหรือพูดได้ชัดเจน
  • อารมณ์แปรปรวน
  • นอนไม่หลับ และรู้สึกเซื่องซึม
  • ความจำระยะสั้นแย่ลง
  • สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้

สาเหตุของภาวะเพ้อคลั่ง

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเพ้อคลั่ง ได้แก่

  • โรคที่ทำให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อ เช่น โรคปอดบวม หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมอง
  • การใช้ยาบางชนิด และการเลิกใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิต หรือยาระงับประสาท อาจส่งผลรบกวนการหลั่งสารเคมีในสมอง
  • ผู้ที่อยู่ในภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol Withdrawal)
  • การรับประทานหรือดื่มสารพิษเข้าไป
  • การหายใจติดขัดจากโรคหอบหืด หรือความผิดปกติอื่นๆ ที่ทำให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออดหลับอดนอนเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่มีภาวะร่างกายขาดน้ำ (Dehydration)
  • ผู้ที่ภาวะร่างกายขาดสารอาหาร (Nutritional Deficiency)

การวินิจฉัยภาวะเพ้อคลั่ง

แพทย์จะสังเกตอาการ และประเมินว่าผู้ป่วยสามารถคิด พูดคุย และเคลื่อนไหวได้เป็นปกติหรือไม่ โดยใช้วิธี Confusion Assessment Method (CAM) เพื่อสังเกตว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้หรือไม่

  • มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะเมื่อเข้ารักษาในโรงพยาบาล
  • ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้ หรือไม่สามารถตามสิ่งที่คนอื่นพูดทัน
  • พูดเพ้อเจ้อเรื่อยเปื่อย

หากพบว่าสาเหตุของภาวะเพ้อคลั่ง อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง แพทย์อาจใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยในการวินิจฉัย เช่น การตรวจทางเคมีในเลือด การตรวจระดับยาและแอลกอฮอล์ การตรวจไทรอยด์ หรือการตรวจการทำงานของตับ เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาภาวะเพ้อคลั่ง

การรักษาภาวะเพ้อคลั่ง ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดขึ้น หากเกิดจากการใช้ยาบางชนิด แพทย์อาจให้หยุดใช้ยาชนิดนั้น หรือปรับเปลี่ยนตัวยาและขนาดการใช้ยา แต่หากสาเหตุเกิดจากภาวะหอบหืดเฉียบพลัน ก็อาจใช้ยาพ่นหรือเครื่องช่วยหายใจเพื่อทำให้การหายใจกลับมาเป็นปกติ และหากสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์ก็อาจรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกซึมเศร้าหรือกระวนกระวายร่วมอยู่ด้วย แพทย์อาจให้ยาตัวใดตัวหนึ่งดังต่อไปนี้ในปริมาณเล็กน้อย เพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น

  • ยาต้านเศร้า : เพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้า
  • ยาระงับประสาท : เพื่อบรรเทาอาการถอนพิษสุรา
  • ยายับยั้งโดพามีน : เพื่อช่วยรักษาพิษจากยาเสพติด
  • ไทอะมีน (Thiamine) : เพื่อช่วยป้องกันภาวะสับสน

การฟื้นตัวจากภาวะเพ้อคลั่ง

การรักษาอย่างถูกวิธี สามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากอาการเพ้อคลั่งได้ แต่อาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาคิด พูดคุย และรู้สึกเป็นปกติเหมือนเดิม

ที่มาของข้อมูล

Chitra Badii, What Causes Delirium? (https://www.healthline.com/symptom/delirium), April 2018


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
emedicine.medscape.com, Delirium (https://emedicine.medscape.com/article/288890-overview), Apr 25, 2019
healthline.com, Delirium (https://www.healthline.com/health/delirium), April 23, 2018
ncbi.nlm.nih.gov, Delirium (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3065676/), 2009 Apr; 5

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)