ความหมายของถุงลมโป่งพอง
เป็นภาวะที่มีการขยายตัวอย่างผิดปกติของถุงลมส่วนปลายซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
สาเหตุ
เกิดจากมีโรคหลอดลมเป็นเวลานานและเรื้อรัง หายใจเอาฝุ่นละออง ขาดเอนไซม์ Alpha1-antitrypsin (AAT) และเกิดจากการสูบบุหรี่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
พยาธิสรีรภาพ
พบว่าโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เพราะขาดเอนไซม์ (Enzyme) ชื่อ Alpha-one antitrypsin ซึ่งทำหน้าที่ช่วยป้องกันเนื้อเยื่อปอดไม่ให้ถูกทำลาย ตัวที่มาทำลายคือ เอนไซม์อีลาสเตส (Elastase) ย่อยสบายเนื้อเยื่อปอดโดยไม่มีตัวควบคุม ทำให้ถุงลมปอดโป่งพอง ผู้ป่วยที่ขาดเอนไซม์ Alpha-one antitrypsin จะทำให้ถุงลมปอดโป่งพองตั้งแต่อายุยังน้อย ควันบุหรี่ หรือมลภาวะต่าง ๆ เป็นตัวก่อสารอนุมูลอิสระ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบที่หลอดลม
อาการ
มีอาการหายใจเร็วซึ่งสัมพันธ์กับออกซิเจนที่ลดลง หายใจลำบาก เหนื่อยเวลาเดินอาการหายใจลำบากจะเป็นมากขณะหายใจออกมากกว่าหายใจเข้า ทรวงอกมีลักษณะค่อนข้างกลม (Barrel-shaped chest) ฟังได้เสียงหายใจเบาลง มีนิ้วมือและนิ้วเท้าปุ้มเนื่องจากได้รับออกซิเจนต่ำเป็นเวลานาน ๆ เสียงสั่นสะเทือนที่มากระทบมือจากการคลำปอด (Tactile fremitus) ลดลง ปอดขยายตัวได้ลดลง เคาะปอดได้ยินเสียง Hyperresonanceขณะหายใจเข้าได้ยินเสียงหวีด มีการคั่งของ CO2หากเป็นมากอาจมีอาการเขียว (Cyanosis) และเป็นผลทำให้เกิดการหายใจล้มเหลว
การวินิจฉัยโรค
ถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-rays) จะเห็นปอดขยาย กะบังลมหย่อนตัวการตรวจหน้าที่ปอดพบว่ามีลมคั่งค้างอยู่ในปอด การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือดแดงพบว่า pO2ลดลง และ pCO2มีค่าปกติ การตรวจ Electrocardiography (ECG) จะพบความผิดปกติของ P wave และมีอาการของ Right ventricular hypertrophy ตรวจเลือดหา CBC จะพบระดับฮีโมโกลบินสูงขึ้น
การรักษา งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงมลพิษ ให้ยาขยายหลอดลม เช่น Beta-adrenergic blocker (Acebuterol, Ipratropium bromide) ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อทางเดินหายใจ ให้ภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบ ให้น้ำให้เพียงพอเพื่อละลายเสมหะ การรักษาเพื่อกำจัดเสมหะในหลอดลมออก เช่น Postural drainage, Chest percussion และ Vibration ให้ออกซิเจนในขนาดต่ำ ๆ เพื่อแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจน ให้ยาละลายเสมหะเพื่อช่วยขับเสมหะ
การพยาบาล
หากผู้ป่วยสูบบุหรี่ควรกระตุ้นให้เลิกสูบ ประเมินหน้าที่การหายใจ เช่น ลักษณะและปริมาณเสมหะ อาการกระสับกระส่าย หายใจเร็ว เสียงหายใจ กำจัดเสมหะ ในหลอดลมออกด้วยวิธีต่าง ๆ ชั่งน้ำหนักผู้ป่วยสัปดาห์ละ 3 ครั้งและประเมินภาวะบวม ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารแคลอรีสูง อาหารที่มีโปรตีนสูง รับประทานครั้งละน้อยบ่อย ๆ ครั้ง ได้รับน้ำอย่างน้อย 3,000 มิลลิลิตรต่อวันเพื่อละลายเสมหะทำความสะอาดปากฟันหลังจากพ่นยา หลีกเลี่ยงการอยู่ในชุมชนแออัดและให้ภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบ แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการสูดสิ่งที่ระคายเคือง ได้แก่ น้ำหอม สเปรย์ และฝุ่นละออง หลีกเลี่ยงอากาศเย็นจัด ลมหนาว ควรปิดปากปิดจมูกด้วยผ้าขณะออกไปนอกบ้าน
ทำอย่างไรให้ร่างกายปลอดสารตกค้าง