ลมพิษ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลตนเอง

ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อมีอาการแสบร้อน ผื่นคัน บวมแดง จากลมพิษ
เผยแพร่ครั้งแรก 9 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 31 ม.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ลมพิษ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลตนเอง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ลมพิษเป็นอาการตอบสนองของร่างกายเมื่อเกิดอาการแพ้ โดยจะมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย มักมาพร้อมกับอาการคัน และหากเป็นมากจะรู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนัง
  • ลมพิษแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง
  • ลมพิษสามารถรักษาเบื้องต้นได้โดยการทายาแก้แพ้บริเวณที่ผื่นขึ้น หากอาการไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์
  • ลมพิษเกิดจากร่างกายเกิดโรคภูมิแพ้ สามารถลดการสร้างสารก่อภูมิแพ้ได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งเร้า เช่น ฝุ่น แสงแดด และอาหารบางชนิด
  • วิธีการรักษาลมพิษและภูมิแพ้ที่ดีที่สุดคือ การรู้สาเหตุของโรคด้วยการสังเกต และตรวจภูมิแพ้ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ได้ที่นี่)

เคยไหม รู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนัง มีผื่นแดงเป็นปื้นๆ หรือเป็นวงๆ และมีอาการคันอย่างมาก สัญญาณนี้อาจบ่งชี้ว่า "คุณกำลังเป็นลมพิษ"

หากในบางครั้งอยู่ๆ ก็เกิดอาการลมพิษขึ้นแบบเป็นๆ หายๆ หรือบางครั้งก็เป็นลมพิษแบบเรื้อรัง เมื่อรับประทานยาแก้แพ้ หรือทายาก็หาย แต่พอหมดฤทธิ์ยาก็กลับมาเป็นอีก ลักษณะเหล่านี้อันตรายหรือไม่ ต้องดูแลรักษา และป้องกันอย่างไรให้ถูกวิธี ในบทความนี้จะมาตอบคำถามนี้กัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทำความรู้จักกับลมพิษ

ลมพิษ” คือหนึ่งในกลุ่มอาการของปฏิกิริยาตอบสนองจากโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักมีผื่นนูนขึ้นตามผิวหนัง มีสีออกขาวล้อมรอบไปด้วยผื่นสีแดงมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กปะปนกันไป มักมาพร้อมกับอาการคัน หากเป็นมากจะรู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนังจนไม่สามารถสัมผัส หรือหยิบจับสิ่งของได้

ชนิดของลมพิษ

โรคลมพิษแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามระยะเวลา และอาการ ได้แก่

  1. ชนิดเฉียบพลัน (Acute urticaria) คือลักษณะของลมพิษที่เกิดขึ้นมา และหายไปอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะใช้ระยะเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง หรือเป็นติดต่อกันไม่เกิน 6 สัปดาห์
  2. ชนิดเรื้อรัง (Chronic urticaria) คือลักษณะของลมพิษที่มีอาการเป็นๆ หายๆ ต่อเนื่องกันนานกว่า 6 สัปดาห์ขึ้นไป แม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่น้อย

สาเหตุของการเกิดลมพิษ

ลมพิษไม่มีสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด ส่วนหนึ่งเกิดจากสภาวะที่ร่างกายปล่อยสาร "ฮิสตามีน (Histamine)" และสารอื่นๆ เข้าสู่กระแสเลือดเป็นจำนวนมาก

สารเหล่านี้เป็นผลมาจากสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งเร้าภายนอก เช่น แสงแดด ฝุ่น สารพิษต่างๆ รวมถึงความเครียด การรับประทานยาแก้ปวด การรับประทานอาหารบางชนิด หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

นอกจากนี้ยังพบว่า สาเหตุของลมพิษชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากอาการแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายตัวเอง หรือแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคไทรอยด์ หรือโรคลูปัส (แพ้ภูมิตัวเอง)

อาการของลมพิษ

อาการของลมพิษเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยจะเห็นผิวหนังนูนแดง มีจำนวนผื่นน้อยบ้างเยอะบ้าง และมีขนาดแตกต่างกันไป รวมทั้งมีอาการคัน หรือแสบร้อนบริเวณดังกล่าว พบได้ทั้งบริเวณใบหน้า แขน ขา และลำตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การวินิจฉัยลมพิษ

แพทย์จะสอบถามอาการเบื้องต้น ซักประวัติการเป็นโรคอื่นๆ หรือประวัติการรักษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ของผู้ป่วย เพื่อหาสาเหตุ และปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดลมพิษ

หากพบว่า ผู้ป่วยมีอาการลมพิษบ่อยครั้ง แพทย์อาจใช้การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ อย่างละเอียด

ภาวะแทรกซ้อนของลมพิษ

ภาวะแทรกซ้อนจากลมพิษพบได้ประมาณ 25% ในผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน และประมาณ 50% ในผู้ป่วยระยะเรื้อรัง โดยลมพิษอาจพัฒนาไปเป็น "แองจิโออีดีมา (Angioedema)" คือผู้ป่วยจะมีอาการบวมของเนื้อเยื่อในชั้นลึกของผิว ซึ่งรุนแรงกว่าลมพิษมาก

อีกภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้คือ "ภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis)" ที่ทำให้มีอาการหายใจลำบาก แน่นหน้าอก ชีพจรต่ำ หัวใจเต้นเร็ว ฯลฯ หากไม่รักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฉะนั้นหากมีอาการเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน หรือมีอาการแทรกซ้อน ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน

วิธีการรักษาลมพิษ

การรักษาในเบื้องต้นคือ ทายาแก้แพ้บริเวณผิวหนังที่เป็นผื่นแดง แต่หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อรับยาที่ถูกต้องและเหมาะสม

วิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำจะมีทั้งแบบใช้ยาทา และยารับประทาน เพื่อช่วยควบคุมอาการให้ดีขึ้นตามลำดับ เช่น คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) ไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) และเซทริซีน (Cetrizine)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีป้องกันลมพิษ

วิธีป้องลมพิษที่ดีที่สุดคือ การหาสาเหตุที่ทำให้เกิดลมพิษ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการ โดยสังเกตว่า ตนเองมีอาการเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับสิ่งใด แล้วพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น 

ที่สำคัญควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงขึ้น

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นลมพิษ

เนื่องจากลมพิษไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่เกิดได้จากหลายปัจจัยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล จึงควรสังเกตตัวเองและทำตามข้อดังต่อไปนี้ เพื่อให้ได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด

  • ควรออกจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยง หรือมีสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
  • ไม่ควรสัมผัสกับผื่นลมพิษโดยตรง
  • ควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่มีผื่นด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือ แล้วเช็ดให้แห้ง
  • ทายา หรือรับประทานยาแก้แพ้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ไม่ควรเครียด หรือวิตกกังวลมากเกินไป
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ

แม้ลมพิษจะไม่อันตรายร้ายแรงเหมือนโรคอื่นๆ แต่ก็อาจทำให้หลายคนรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว รบกวนการทำงานได้ 

ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ และหากมีอาการเกิดขึ้นก็ควรหาวิธีรักษาให้เร็วที่สุด หรือไปพบแพทย์เฉพาะด้านเพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาต่อไป

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป