อาการของโรคภูมิแพ้ทางระบบทางเดินหายใจ เช่น จาม ไอ แน่นหน้าอก มักทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว
การรู้วิธีจัดการและบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของโรคภูมิแพ้ที่ส่งผลต่อการนอนหลับ
อาการแพ้ที่ส่งผลต่อการนอนหลับ มักเกิดจากโรคภูมิแพ้ทางระบบทางเดินหายใจอย่าง “โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้” หรือ “โรคแพ้อากาศ”
สิ่งที่ผู้ป่วยต้องให้ความสำคัญคือ เมื่อใดก็ตามที่อาการแพ้ส่งผลต่อการนอนหลับ การใช้ชีวิตประจำวัน หรือการทำงาน นั่นหมายถึง อาการของโรคภูมิแพ้อยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรงแล้ว ผู้ป่วยควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
อาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่ส่งผลต่อการนอนหลับคือ มีปัญหาด้านการหายใจเวลานอนหลับ เนื่องจากขณะนอนแรงต้านในโพรงจมูกจะสูงกว่าคนทั่วไปถึงสามเท่า ทำให้มีอาการหายใจขัด จาม ไอ แน่นหน้าอก จนนอนไม่หลับนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม: วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
ส่วนอาการแพ้ทางผิวหนังที่ทำให้นอนไม่หลับมักเกิดจากอาการคัน ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว เมื่อผู้ป่วยเกาก็อาจทำให้เกิดแผล และมีโอกาสติดเชื้อสูง
ตรวจภูมิแพ้ช่วยป้องกันอาการภูมิแพ้กำเริบได้
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคภูมิแพ้ให้หายขาด วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการโรคภูมิแพ้จึงเป็นการป้องกันไม่ให้อาการของโรคภูมิแพ้กำเริบคือ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ส่วนวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้ว่า สารก่อภูมิแพ้ใดที่ร่างกายแพ้ นอกเหนือจากการเฝ้าสังเกตก็คือ “การตรวจภูมิแพ้” นั่นเอง
การตรวจภูมิแพ้ที่ผู้คนนิยมกันส่วนมาก คือการตรวจภูมิแพ้อาหาร และสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ด้วยการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด (Skin Prick Test: SPT) ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ราคาไม่แพง และสามารถรู้ผลได้ทันที
ในขณะที่การทดสอบทางผิวหนังอีกวิธีหนึ่งโดยใช้สารเคมีที่สงสัยว่า ก่อให้เกิดอาการแพ้แปะที่บริเวณผิวหนัง (Patch Test) อาจต้องใช้เวลาในการแปลผลนานกว่าคือ 48 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด เป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการทดสอบทางผิวหนัง เพราะไม่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ทั่วร่างกาย
อีกทั้งวิธีการเจาะเลือดยังสามารถตรวจสารก่อภูมิแพ้ได้ครอบคลุมกว่า เช่น ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงได้มากกว่า 200 ชนิดได้ในคราวเดียว จึงมักใช้ทดสอบในเด็กเล็ก หรือผู้ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
อย่างไรก็ตาม วิธีตรวจภูมิแพ้ดังกล่าวมีค่าบริการตรวจค่อนข้างสูงจึงควรสอบถามรายละเอียดกับทางสถานพยาบาล รวมไปถึงขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการตรวจภูมิแพ้แต่ละรูปแบบด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
“ไรฝุ่น” สารก่อภูมิแพ้ที่ควรหลีกเลี่ยง
ถึงแม้จะยังไม่รู้ว่า สารก่อภูมิแพ้ใดที่ร่างกายแพ้ก็สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้หลักๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ทางระบบทางเดินหายใจอย่าง “ไรฝุ่น”
ไรฝุ่นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ของคนไทย คิดเป็น 70-80% ของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทั้งหมด
ไรฝุ่นสามารถพบได้ในที่ๆ มีเส้นใย เช่น เตียงหนอน หมอน ตุ๊กตา หรือโซฟา โดยจะพบมากที่สุดในห้องนอน
ผู้ป่วยที่แพ้ไรฝุ่นนั้นเมื่อสัมผัสกับไรฝุ่นบนที่นอนจะทำให้เกิดอาการคัน ไม่สบายตัว เมื่อหายใจเข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น เยื่อบุจมูกอักเสบ ไอ จาม เวียนศีรษะ น้ำตาไหล หายใจไม่สะดวก หรือแน่นหน้าอก จนทำให้นอนไม่หลับ
หากปล่อยทิ้งไว้และสูดหายใจรับไรฝุ่นเข้าไปติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
วิธีการจัดการกับไรฝุ่นในห้องนอน หรือในบ้าน
- เปลี่ยนไปใช้ผ้าปูที่นอนกันไรฝุ่น
- เปลี่ยนผ้าปูที่นอนใหม่ทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี
- หมั่นทำความสะอาดผ้าปูที่นอนบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส และนำไปตากแดดจัดๆ 2-3 ชั่วโมง
- เปิดหน้าต่างห้องนอนเพื่อระบายความชื้นในห้อง อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง
- ทำความสะอาดบ้านและห้องนอนเป็นประจำด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ
- ไม่ควรเก็บของเล่น ตุ๊กตา หรือพรมไว้ในห้องนอน เพราะเป็นแหล่งอาศัยของไรฝุ่น
- ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในห้องนอน เพราะฝุ่นละอองจากขนสัตว์ สะเก็ดหนังสัตว์เป็นแหล่งอาหารของไรฝุ่น
- ใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีคุณภาพดี มี HEPA Filter แผ่นกรองอากาศที่สามารถดักจับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศได้มากกว่า หรือเท่ากับ 99.97%
การกำจัดไรฝุ่นด้วยวิธีดังกล่าวจะช่วยให้อากาศในห้องนอน หรือในบ้านดีขึ้น ทำให้ลดโอกาสกำเริบของอาการภูมิแพ้ หรือทำให้อาการภูมิแพ้ที่เป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้นนั่นเอง
7 วิธีบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้เพื่อทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น
- รับประทานยาให้ตรงเวลาตามคำสั่งของแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยให้ควบคุมอาการของโรคได้ดีขึ้น
- รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะห้องเรียน ห้องนอน และสถานที่ทำงาน จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ ทำให้เกิดอาการแพ้ดีขึ้น
- ตัดเล็บสั้นจะช่วยลดความรุนแรงของโรคภูมิแพ้ที่ผิวหนัง ในขณะที่ผู้ป่วยเกาแบบไม่รู้ตัวขณะนอนหลับ
- ไม่ควรอาบน้ำร้อนเกินไปเพราะจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว กระตุ้นผิวหนังให้เกิดอาการคัน ซึ่งเป็นผลเสียต่อโรคภูมิแพ้ที่ผิวหนัง
- หลังสระผมไม่ควรเข้านอนทันทีเพราะเส้นเลือดฝอยจะหดตัว ทำให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงบางบริเวณน้อยลง และภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง นอกจากนี้ยังทำให้ระบบทางเดินหายใจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- หนุนศีรษะสูงขณะนอน เพราะการนอนราบจะทำให้ความสามารถในการขับน้ำในจมูกลดน้อยลง ทำให้เกิดของเหลวสะสมในโพรงจมูกส่งผลต่อการนอนหลับ
- ไม่ควรนอนเตียงสองชั้น เพราะคนที่นอนชั้นล่างจะมีโอกาสเกิดอาการแพ้สูง เนื่องจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ที่ร่วงลงมาจากเตียงชั้นบนมากกว่า ควรใช้เตียงที่ไม่มีขา และขอบเตียงแนบชิดกับผนังห้อง
เมื่อป่วยเป็นโรคภูมิแพ้จะต้องให้ความสำคัญกับสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายแพ้ และหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ
หากเพิกเฉยต่อสารก่อภูมิแพ้และสัมผัสเป็นประจำจะทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการนอนหลับด้วย
สิ่งที่ควรทำคือ ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการใช้ชีวิต การรักษา และการดูแลตนเอง หากไม่แน่ใจ หรือยังไม่รู้ว่า ตนเองแพ้สิ่งใดกันแน่ การตรวจภูมิแพ้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยไขข้อสงสัยนี้ได้
ถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะมีข้อควรระวังมากกว่าคนทั่วไป แต่หากปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android