กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

แพ้อาหารทำให้อ้วนจริงหรือไม่

คนที่เป็นโรคอ้วนมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าคนทั่วไป และการรับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ก็อาจทำให้เป็นภาวะลำไส้รั่ว ทำให้น้ำหนักตัวขึ้นง่าย
เผยแพร่ครั้งแรก 6 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
แพ้อาหารทำให้อ้วนจริงหรือไม่

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ปัจจุบันยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า การแพ้อาหารทำให้เป็นโรคอ้วน แต่คนที่เป็นโรคอ้วนมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าคนทั่วไป
  • การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรืออาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่วได้
  • ภาวะลำไส้รั่วจะส่งผลให้สารพิษหลุดเข้าไปในกระแสเลือด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดอาการแพ้ ไขมันเกาะตับ ดื้ออินซูลิน และทำให้เป็นโรคอ้วนได้
  • วิธีรักษาภาวะลำไส้รั่ว คือหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ และพักผ่อนให้เพียงพอ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารและภูมิแพ้อาหารแฝงได้ที่นี่)

“แพ้อาหารทำให้อ้วน” เป็นสิ่งที่ยังไม่สามารถยืนยันได้ แต่การแพ้อาหารก็ส่งผลเสียต่อระบบร่างกายแน่นอน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) ที่อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

ถึงแม้จะยังไม่สามารถยืนยันเรื่องการแพ้อาหารทำให้อ้วนได้ แต่โรคอ้วนกับโรคภูมิแพ้ก็ยังมีความเชื่อมโยงกันอยู่ โดยวารสารโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยาทางคลินิก (JACI) ได้เผยข้อมูลว่า ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วนมีโอกาสเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มากกว่าคนทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคอ้วน หรือโรคภูมิแพ้ก็ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ทั้งจากอาหาร และสิ่งแวดล้อม รวมถึงตรวจสุขภาพประจำปีด้วย

กลไกการเกิดการแพ้อาหาร

การแพ้อาหารเกิดขึ้นเมื่อเรารับประทานอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ หรือเกิดปฏิกิริยาต่อต้านระหว่างภูมิคุ้มกันกับอาหารที่รับประทานเข้าไป ทำให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานชนิดอี (Immunoglobulin E) หรือที่เรียกว่า “IgE” ออกมา

IgE จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า “ฮิสตามีน (Histamine)” ออกมา ซึ่งฮิสตามีนเป็นตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ผ่านทางระบบต่างๆ ในร่างกายนั่นเอง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพ้อาหาร

  • ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • สุขภาพร่างกายในขณะที่รับประทานอาหารชนิดนั้น โดยผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะมีโอกาสเกิดอาการแพ้อาหารมากกว่าคนทั่วไป
  • ออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารทันที (ยังไม่ทราบกลไกของการแพ้อาหารด้วยปัจจัยนี้อย่างแน่ชัด)
  • รับประทานอาหารชนิดเดิมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

อาการแพ้อาหาร

ลักษณะของอาการแพ้อาหารจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะตามระยะเวลาของการแสดงอาการ

1. อาการแพ้เฉียบพลัน

  • เกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารไปแล้ว 2-3 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
  • อาการที่พบมาก เช่น คันคอ ปาก จมูก และตา ปากบวม หนังตาบวม ลมพิษพุพอง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือหมดสติ
  • จัดเป็นอาการแพ้ชนิดรุนแรงที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉีดยาอิพิเนฟริน (Epinephrine) ทันที และรีบไปโรงพยาบาล

2. อาการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารเข้าไปนานกว่า 1-24 ชั่วโมง
  • อาหารที่ทำให้เกิดการแพ้อย่างช้าๆ เช่น นม ไข่ ข้าวสาลี
  • อาการแพ้ที่เกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง ลมพิษพุพอง ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือปวดศีรษะ

หากสงสัยว่าแพ้อาหารต้องทำอย่างไร?

เมื่อเกิดอาการแพ้ หรือสงสัยว่า ตัวเองเป็นโรคภูมิแพ้ ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการแพ้นั้นๆ เพราะวิธีการป้องกันไม่ให้อาการภูมิแพ้กลับมาเป็นซ้ำที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้

โดยการตรวจภูมิแพ้สามารถตรวจได้ทั้งภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้อาหารแฝง และภูมิแพ้อากาศ ซึ่งวิธีที่คนส่วนมากนิยมตรวจกันคือ

  • การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด (Skin Prick Test: SPT)
  • การตรวจเลือดเพื่อหา specific IgE antibody (sIgE)

กินอาหารไม่มีประโยชน์ทำให้เกิดการแพ้อาหาร และโรคอ้วน ได้อย่างไร?

ลำไส้ของคนเรามีแบคทีเรียชนิดดีมากกว่า 500 สายพันธุ์ที่คอยปกป้องลำไส้อยู่

แต่เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเข้าไป อาหารเหล่านี้จะส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดไม่ดี ในขณะที่แบคทีเรียชนิดดีที่มีหน้าที่ต้านการอักเสบจะถูกทำลายลง

ไม่ใช่แค่อาหารไขมันสูงเท่านั้นที่ส่งผลเสียต่อแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป อาหารที่มีน้ำตาลสูง และใยอาหารต่ำ รวมทั้งยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ ยาต้านการอักเสบ ยาลดกรด และฮอร์โมน ล้วนแต่มีผลเสียต่อระบบนิเวศของแบคทีเรียในลำไส้ทั้งนั้น

เมื่อแบคทีเรียชนิดดีถูกทำลายจนปริมาณน้อยลงจะทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดภาวะลำไส้รั่วตามมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สารพิษที่รั่วจากลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดจะจับตัวกับเซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน และกระตุ้นให้สร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบหลายชนิด นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ไขมันเกาะตับ และเกิดโรคอ้วนด้วย

รู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะลำไส้รั่ว?

อาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะลำไส้รั่ว ลองสำรวจตัวเองดูว่า มีอาการเหล่านี้หรือไม่

  • ปฏิกิริยาแพ้อาหารแฝง เช่น ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องเสียสลับกับท้องผูกเป็นประจำ
  • มีลมพิษ คัน หรือผิวหนังอักเสบเรื้อรังเป็นๆ หายๆ
  • สิวอักเสบเรื้อรังที่รักษาไม่หาย
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะนอนหลับพักผ่อนเป็นเวลานาน
  • มื้อเท้าเย็น (โดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากยา หรือโรคอื่นๆ)
  • มีอาการในโรคแพ้ภูมิตนเอง (Autoimmune Disease)
  • ปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือปวดศีรษะไมเกรน
  • การตัดสินใจช้าลง หรือสมาธิลดลง
  • มีอาการจาม คันจมูก คอบวม ไอ หอบหืด หายใจลำบาก

ภาวะลำไส้รั่วสามารถรักษาให้หายได้

  • งดอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้เป็นเวลา 3-6 เดือน เพื่อให้ร่างกายกำจัด IgE จนหมด
  • ปรับเปลี่ยนโภชนาการ
    1. รับประทานอาหารให้หลากหลาย
    2. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์ เช่น พืชผักใบเขียว ผลไม้หวานน้อย เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร
    3. รับประทานจุลินทรีย์ชนิดดีมีประโยชน์ต่อลำไส้ (Probiotic) และอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ชนิดดี (Prebiotic)
    4. รับประทานกรดอะมิโน เพื่อช่วยซ่อมแซมเยื่อบุผนังลำไส้
    5. สังกะสี (Zinc) ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผนึกระหว่างลำไส้ และป้องกันความเสียหายของเยื่อบุผนังลำไส้
    6. ซีลีเนียม (Selenium) และวิตามินอี (Vitamin E) สามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการขนส่งสารผ่านเข้าออกผนังลำไส้จากการถูกทำลายโดยความเครียดได้
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ใช้ยาเท่าที่จำเป็น เพราะยาบางตัวอาจส่งผลต่อจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ ให้สอบถามแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา

3 วิธีง่ายๆ ที่ลดโอกาสเกิดการแพ้อาหาร และสร้างสมดุลให้กับระบบย่อยอาหาร

1. หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ประมาณ 3-4 สัปดาห์

อาหารที่คนส่วนมากแพ้ เช่น สารกลูเตน (เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในข้าวสาลี) ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี นม ไข่ ข้าวโพด ยีสต์ ถั่วเหลือง และถั่วลิสง

ให้ลองสังเกตร่างกายว่า หลังจากเลี่ยงอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้แล้ว อาการแพ้อาหารดีขึ้นหรือไม่ หากดีขึ้นก็แสดงว่า เราแพ้อาหารนั้นๆ

2. เน้นการบริโภคพืชที่มีใยอาหารสูง ไม่ผ่านการแปรรูป

ผักอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น และใยอาหาร ที่ช่วยบำรุงแบคทีเรียชนิดดีในระบบย่อยอาหาร

3. บริโภคอาหารที่มีแบคทีเรียชนิดดีทุกวัน

เพื่อช่วยให้ระบบย่อยแข็งแรงขึ้น ควรรับประทานอาหารที่มีแบคทีเรียชนิดดีในทุกๆ วัน เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว หรือกิมจิ โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดบิฟิโดแบคทีเรีย และแล็กโตแบซิลลัส ประมาณสิบพันล้านตัวขึ้นไป

สรุป

การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงจะช่วยเลี้ยงแบคทีเรียชนิดไม่ดี ซึ่งจะทำลายผนังลำไส้ และผลิตสารพิษที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

เมื่อผนังลำไส้ถูกทำลายลง อาหารที่ถูกย่อยบางส่วนจะรั่วเข้าสู่กระแสเลือด เข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านสารพิษ และอาหาร

ปฏิกิริยานี้จะทำให้เกิดการอักเสบ และนำไปสู่กระบวนการไขมันเป็นพิษ หรือไขมันเกาะตับ และภาวะดื้อต่ออินซูลินจนทำให้ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น นำไปสู่โรคอ้วน และเร่งให้ร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น

ฉะนั้นถ้าลำไส้มีแบคทีเรียชนิดไม่ดีมากกว่าชนิดดีก็อาจทำให้อ้วน และป่วยง่ายนั่นเอง

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหาร และภูมิแพ้อาหารแฝง เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อาจารย์ ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน, น้ำหนักขึ้นง่าย สิวไม่หาย! …สัญญาณ "ภาวะลำไส้รั่ว" (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/469/ภาวะลำไส้รั่ว/).
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, การแพ้อาหารคืออะไร (https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_OBS/admin/knowledges_files/25_65_1.pdf).
Everyday Health, The allergy and Obesity Link (https://www.everydayhealth.com/allergies/obesity-and-allergies.aspx), 16 October 2009.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป