ไข่เป็นอาหารประจำบ้านของหลายคน เพราะนอกจากจะหาซื้อง่ายและมีราคาถูกแล้ว ไข่ยังเป็นแหล่งรวมสารอาหารและแร่ธาตุหลากหลายชนิด ทั้งยังสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด
แต่เชื่อหรือไม่ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคภูมิแพ้ไข่ ทั้งแบบภูมิแพ้อาหาร และภูมิแพ้อาหารแฝง ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีไข่เป็นส่วนประกอบได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการแพ้ไข่เป็นอย่างไร?
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า หนึ่งในโรคภูมิแพ้อาหารในเด็กที่พบได้บ่อยที่สุดนอกจากการแพ้แป้งสาลี นมวัว ถั่วเหลือง แล้วก็คือ "การแพ้ไข่"
อาการแพ้ไข่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่นาทีถึงไม่กี่ชั่วโมงหลังรับประทานไข่ โดยผู้ที่แพ้จะมีอาการแตกต่างกันไป แสดงออกมาทางระบบร่างกายต่างๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง หรือระบบทางเดินอาหาร
อาการแพ้อาหารที่พบบ่อย ได้แก่ ผื่นลมพิษ ตาบวม ปากบวม หรือถ่ายเป็นมูกเลือด
ในรายที่มีอาการแพ้ระดับปานกลางถึงรุนแรงอาจจะมีอาการอื่นๆ เช่น คัดจมูก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หรือมีอาการของโรคหอบ เช่น ไอ หายใจมีเสียงวี้ด แน่นหน้าอก หรือหายใจสั้นร่วมด้วย
อาการดังกล่าวอาจจะแสดงอาการเพียงอย่างเดียว หรือเกิดขึ้นพร้อมกันก็ได้
ในกรณีที่พบได้น้อย การแพ้อาหารอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้เฉียบพลันรุนแรง หรือที่เรียกว่า “แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis)” ซึ่งอาจทำให้มีอาการหายใจลำบาก ปวดบีบที่ท้อง หัวใจเต้นเร็ว และช็อกเนื่องจากความดันต่ำ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อาการดังกล่าวส่งผลให้เวียนศีรษะ มึนงง หมดสติ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
แพ้ไข่เกิดจากอะไร?
การแพ้ไข่มีกลไกการเกิดเช่นเดียวกับโรคภูมิแพ้อื่นๆ คือ ระบบภูมิคุ้มกันเข้าใจผิดว่า สารบางอย่างในไข่นั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันปล่อยสารฮิสตามีน และสารอื่นๆ ออกมา
- สารเหล่านี้จะมีหน้าที่จัดการสารที่ร่างกายคาดว่า เป็นอันตราย จนทำให้เกิดอาการแพ้ต่างๆ ตามมานั่นเอง
- ทั้งไข่แดง และไข่ขาว ต่างก็ประกอบไปด้วยโปรตีนที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เพียงแต่ว่า การแพ้ไข่ขาวจะพบได้มากกว่า
- นอกจากนี้ ทารกที่กินนมแม่ก็อาจมีอาการแพ้โปรตีนในไข่ที่ปะปนมาในนมแม่ได้เช่นกัน หากคุณแม่รับประทานไข่เข้าไป
- บางคนก็มีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง (Food intolerance) จากไข่ ซึ่งจะไม่แสดงอาการในทันที แต่ค่อยๆ เกิดขึ้นจนกลายเป็นอาการเรื้อรัง อาการของภาวะนี้ไม่รุนแรง แต่ก็อาจกวนใจได้ไม่น้อย
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแพ้ไข่อันเนื่องมาจากวัคซีนบางชนิดที่ทำการผลิตโดยกรรมวิธีการฉีดเชื้อเข้าไปในไข่ไก่ ซึ่งแม้ว่าวัคซีนจะผ่านกรรมวิธีต่างๆแล้ว แต่โปรตีนในไข่ยังคงหลงเหลืออยู่ วัคซีนดังกล่าว ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และ หัด/หัดเยอรมัน/คางทูม
- ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามถึงอาการ ประวัติการแพ้อาหารของคุณ และคนในครอบครัว รวมถึงประวัติการป่วยเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ
ภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงนั้นอาจทำให้คุณมีอาการท้องเสีย ปวดท้องเมื่อรับประทานไข่ หรืออาจเป็นสิวเรื้อรังที่ใบหน้า
การวินิจฉัยอาการแพ้ไข่
หากคุณมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหลังจากรับประทานไข่ และสงสัยว่า ตนเองแพ้ไข่ คุณสามารถไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้แน่ใจ
นอกจากนี้ คุณจะได้รับการตรวจภูมิแพ้เพิ่มเติมด้วยวิธีต่างๆ เช่น
- การทดสอบโดยหยดสารก่อภูมิแพ้ลงบนผิวหนัง (Skin Prick Test: SPT)
- การตรวจเลือดหาปริมาณสารก่อภูมิต้านทานต่อสารก่อภูมิแพ้ (Serum Specific IgE)
- การลองรับประทานอาหารที่แพ้
โดยการตรวจภูมิแพ้จะช่วยให้ทราบแน่ชัดว่า คุณแพ้อะไรบ้าง แพ้รุนแรงแค่ไหน แพ้ไข่อย่างเดียวหรือเปล่า หรือแพ้อาหารชนิดอื่นด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หากผลตรวจภูมิแพ้ ไม่ปรากฏผลว่า แพ้ไข่ แต่เมื่อรับประทานไข่ก็ยังมีอาการแพ้อยู่ คุณอาจเข้ารับบริการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงได้ หากผลตรวจออกมาว่า มีอาการภูมิแพ้อาหารแฝงจากไข่จริงจะได้หลีกเลี่ยงการรับประทาน
การป้องกันอาการแพ้ไข่กำเริบ
หากตรวจพบว่า มีอาการแพ้ไข่ คุณจะได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานไข่และอาหารที่มีไข่เป็นส่วนประกอบ ทั้งการรับประทานอาหารที่ปรุงเองและการรับประทานอาหารนอกบ้าน
วิธีการป้องกันตัวเองจากอาการแพ้ในเบื้องต้น ทำได้ดังนี้
- หากรับประทานอาหารนอกบ้านจะต้องแจ้งแม่ครัวพ่อครัวทุกครั้งว่า เป็นโรคภูมิแพ้ไข่ และกำชับให้ระมัดระวังในการใช้วัตถุดิบ หรือภาชนะปรุงอาหารไม่ให้ปนเปื้อนไข่เด็ดขาด
- อ่านฉลากอาหารให้ละเอียดทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูป หรือวัตถุดิบสำหรับการปรุงอาหารก็ตาม หากพบว่า มีไข่ หรือส่วนประกอบของไข่เป็นส่วนประกอบในอาหารก็ให้หลีกเลี่ยง
- เลือกโปรตีนจากแหล่งอื่นๆ แทนการรับประทานไข่ เช่น เนื้อสัตว์ ถั่ว และธัญพืชอื่นๆ เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
- แจ้งทางโรงเรียน ครูประจำชั้น ครูพี่เลี้ยง หรือผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองของเด็กคนอื่นๆ ให้ทราบถึงอาการแพ้ของเด็ก จะได้ช่วยระมัดระวังไม่ให้เด็กเผลอรับประทาน
- คุณแม่ที่ให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการรับประทานไข่หากลูกของคุณมีอาการแพ้ไข่ เพราะทารกอาจมีอาการแพ้ต่อโปรตีนจากไข่ที่ผ่านไปสู่น้ำนมได้
- อย่างไรก็ตาม หากมีอาการแพ้ไข่แบบไม่รุนแรงเกิดขึ้น คุณสามารถรับประทานยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการได้
- หากมีอาการแพ้แบบเฉียบพลันรุนแรง คุณจำเป็นต้องได้รับยาฉีดอิพิเนฟรินเพื่อช่วยชีวิต และไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาเพิ่มเติมหลังจากนั้นทันที
อาการแพ้ไข่ในเด็กจะดีขึ้นไหมเมื่อโตขึ้น?
เด็กส่วนใหญ่ที่แพ้ไข่lส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นเมื่อโตขึ้น หรืออาจไม่แพ้ไข่อีกเลยก็ได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะหายจากการแพ้ชนิดนี้
ควรเริ่มให้เด็กรับประทานไข่ที่อยู่ในรูปขนมของขนมอบก่อน จะช่วยให้เด็กสามารถทนอาหารไข่ในรูปแบบอื่นได้เร็วขึ้น ระหว่างนี้ให้ใช้แหล่งโปรตีนอื่นๆ ทดแทนไปก่อน เช่น นมแม่ หรือเนื้อสัตว์ที่เด็กไม่แพ้
หากมีอาการแพ้ไข่แบบไม่รุนแรงเกิดขึ้น คุณสามารถรับประทานยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการได้
แต่หากมีอาการแพ้แบบเฉียบพลันรุนแรง คุณจำเป็นต้องได้รับยาฉีดอิพิเนฟรินเพื่อช่วยชีวิต และไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาเพิ่มเติมหลังจากนั้นทันที
โดยแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยที่แพ้อาหารพกยาฉีดอิพิเนฟรินแบบพกพาติดตัวไว้เสมอ สำหรับกรณีแพ้ฉุกเฉิน
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android