กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Adrenaline (อะดรีนาลีน) / Epinephrine (เอพิเนฟริน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • Adrenaline หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ อีพิเนฟรีน (Epinephrine) เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง
  • Adrenaline ออกฤทธิ์ที่บริเวณสมองส่วนอะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal Medulla) โดยตรง มีฤทธิ์กระตุ้นระบบซิมพาเทติกของร่างกายผ่านการกระตุ้นตัวรับอะดรีเนอร์จิกชนิดอัลฟ่า (Alpha) และเบต้า (Beta) ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่หลอดลมเกิดการคลายตัว
  • Adrenaline ใช้รักษาโรคหืดเฉียบพลัน ภาวะช็อกชนิดอะนาไฟแลกซิส เพิ่มการเต้นของหัวใจในการช่วยชีวิต ความดันในลูกตาสูง หรือโรคต้อหินมุมเปิด โดยมีข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน
  • Adrenaline เป็นยาที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหลายอย่าง เช่น ทำให้ผู้ใช้ยากลั้นปัสสาวะไม่ได้ หายใจลำบาก ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง หรือเหงื่อออกมาก ไม่ควรซื้อมาใช้ด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

Adrenaline หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ อีพิเนฟรีน (Epinephrine) เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาท ในทางยาจัดเป็นยาในกลุ่มยาสำหรับโรคหัวใจ โรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และยาที่ออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือด 

Adrenaline จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย ตามการจำแนกโดยคณะกรรมการอาหารและยา มีจำหน่ายเฉพาะร้านยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งควบคุมการขายยา ต้องมีการจัดทำบัญชียาอันตราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับบุคคลทั่วไป เภสัชกรสามารถจำหน่ายยาและให้คำแนะนำในการใช้ยาได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพฯ 

รูปแบบยาที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่

  • รูปแบบยาฉีด ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
  • รูปแบบปากกา ขนาด 0.3 และ 0.15 มิลลิกรัม (ยี่ห้อ EpiPen) ใช้สำหรับภาวะช็อก

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Adrenaline

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Adrenaline คือ ทำให้หลอดเลือดหดตัว

Adrenaline ออกฤทธิ์ที่บริเวณสมองส่วนอะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal Medulla) โดยตรง มีฤทธิ์กระตุ้นระบบซิมพาเทติกของร่างกายผ่านการกระตุ้นตัวรับอะดรีเนอร์จิกชนิดอัลฟ่า (Alpha) และเบต้า (Beta) ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่หลอดลมเกิดการคลายตัว 

ซึ่งทำให้ Adrenaline มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง ยามีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ และทำให้หลอดเลือดหดตัว จึงใช้เพื่อกระตุ้นหัวใจ

ข้อบ่งใช้ของยา Adrenaline

โรคหรือภาวะที่เป็นข้อบ่งใช้ของยานี้ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ภาวะช็อก ชนิดอะนาไฟแลกซิส (anaphylactic shock)
  • โรคหืดเฉียบพลัน (Acute asthma) ทั้งในรูปแบบยาฉีด และยาสูดพ่น โดยกรณียาสูดพ่นเป็นยาเตรียมพิเศษ ไม่มีวางจำหน่าย
  • เพิ่มการเต้นของหัวใจในการช่วยชีวิต
  • ความดันในลูกตาสูง หรือโรคต้อหินมุมเปิด (Closed-angle glaucoma) เป็นยาเตรียมพิเศษ ยังไม่มี Adrenaline ในรูปยาหยอดตาวางจำหน่ายในประเทศไทย

ขนาดและวิธีการใช้ยา Adrenaline

Adrenaline มีขนาดและวิธีการใช้ตามข้อบ่งใช้ ดังนี้

ภาวะช็อก ชนิดอะนาไฟแลกซิส 

เป็นปฏิกิริยาของร่างกายจากการแพ้อย่างรุนแรงต่อสารกระตุ้น เช่น แพ้ยา แพ้สารในอาหาร อาการที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นในหลายระบบของร่างกาย เช่น ระบบหัวใจ ระบบหายใจ ระบบหลอดเลือด ระบบผิวหนัง และมักมีอาการที่รุนแรง หาไม่ได้รับการรักษามีแนวโน้มที่ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้

ยาในรูปแบบยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

  • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ยาในอัตราส่วนความเข้มข้น 1 ต่อ 1000 ขนาด 500 ไมโครกรัม (0.5 มิลลิลิตร) ให้ยาซ้ำทุก 5 นาทีจนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • ขนาดการใช้ยาในเด็ก ขนาดยาขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนัก โดยขนาดยาปกติในเด็ก คือ 10 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม

ยาในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

  • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 0.5 มิลลิกรัม (0.5 มิลลิลิตรของยาที่มีอัตราส่วนความเข้มข้น 1 ต่อ 10000) ให้ยาในอัตรา 100 ไมโครกรัมต่อนาที หยุดให้ยาเมื่อมีการตอบสนอง
  • ขนาดการใช้ยาในเด็ก ขนาด 10 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม

โรคหืดเฉียบพลัน 

ยาในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

  • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ อัตราส่วนความเข้มข้น 1 ต่อ 1000 ใช้ยา 0.3-0.5 มิลลิลิตร (ซึ่งเทียบเท่ากับยา 300 ถึง 500 ไมโครกรัม) อาจให้ยาผ่านการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
  • ขนาดการใช้ยาในเด็ก อัตราส่วนความเข้มข้น 1 ต่อ 1000 ใช้ยา 0.01 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม (ซึ่งเทียบเท่ากับยา 10 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) อาจให้ยาผ่านการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

เพิ่มการเต้นของหัวใจในการช่วยชีวิต 

ยาในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มต้น 1 มิลลิกรัม อาจให้ยาซ้ำทุก 2 ถึง 3 นาทีระหว่างการช่วยชีวิต
  • ขนาดการใช้ยาในเด็ก ขนาดเริ่มต้น 10 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม อาจให้ยาซ้ำทุก 2 ถึง 3 นาทีระหว่างการช่วยชีวิต

ข้อควรระวังและผลข้างเคียงของการใช้ Adrenaline

ข้อควรระวังในการใช้ Adrenaline ได้แก่

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่แพ้ Adrenaline
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยหลอดเลือดอุดตัน
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยต้อหินมุมปิด
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) หรือหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูง
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยเบาหวาน
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันส์ (Parkinson’s disease)
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงของการใช้ Adrenaline

Adrenaline อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทส่วนกลาง ระบบทางเดินอาหาร ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เช่น 

  • ทำให้ผู้ใช้ยากลั้นปัสสาวะไม่ได้ 
  • หายใจลำบาก 
  • ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง 
  • เหงื่อออกมาก 
  • หลั่งน้ำลายมากกว่าปกติ
  • อ่อนแรง 
  • อาการสั่น 
  • เย็นปลายมือปลายเท้า 
  • ภาวะระดับโพแทสเซียมในกระแสเลือดต่ำ 
  • เกิดเนื้อตาย (gangrene)

ข้อควรทราบอื่นๆของยา Adrenaline

  • ยา Adrenaline ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม category C ตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) ควรใช้ยานี้เฉพาะเมื่อแพทย์มีความเห็นว่าผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากยามากกว่าความเสี่ยงรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อทารกในครรภ์
  • ยามีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว แพทย์จึงมักใช้ยานี้ร่วมกับยาชาเฉพาะที่ เพื่อลดการแพร่กระจายของยาในบริเวณกว้าง จำกัดการดูดซึมของยาชาเฉพาะที่ และลดการเกิดพิษของยาชาเฉพาะที่
  • ยานี้จัดเป็นยาช่วยชีวิต (life-saving drug) การใช้ยาส่วนใหญ่เป็นยาในรูปแบบยาฉีด มีโอกาสที่จะเกิดอันตรายและผลข้างเคียงสูง การใช้ยาในทุกข้อบ่งใช้จึงควรอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์
  • ยานี้แนะนำให้เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

Adrenaline เป็นยาที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหลายอย่าง ไม่ควรซื้อมาใช้ด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Adrenalin (Epinephrine): Uses, Dosage, Side Effects, Interactions, Warning. RxList. (Available via: https://www.rxlist.com/adrenalin-drug.htm)
The physiology and pharmacology of adrenaline. DermNet NZ. (Available via: https://dermnetnz.org/topics/the-physiology-and-pharmacology-of-adrenaline/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)