ทารกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้หรือไม่ อาการภูมิแพ้ของทารก เป็นอย่างไร

อาการแพ้ในทารกเกิดขึ้นได้ทั้งจากอาหาร สิ่งแวดล้อม และกรรมพันธ์ุ วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงสารก่อภูมแพ้นั้นๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทารกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้หรือไม่ อาการภูมิแพ้ของทารก เป็นอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการภูมิแพ้ในทารกมักเกิดจากอาหาร และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยจะแสดงอาการแพ้ผ่านระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ทางเดินหายใจ ผิวหนัง และทางเดินอาหาร
  • อาการภูมิแพ้ในทารกสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธ์ุได้ หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมแพ้ก็ควรป้องกันตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยให้มารดาหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ
  • ผู้ปกครองต้องป้องกันไม่ให้ทารกสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ โดยเฉพาะในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด เพราะเป็นช่วงที่ระบบภูมิคุ้นกันยังไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่าย
  • ควรให้ทารกดื่มนมจากมารดาเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
  • อาการภูมิแพ้จะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุ หากดูแลรักษาร่างกายดีๆ ก็จะสามารถบรรเทาอาการแพ้จนกระทั่งหายขาดได้
  • การรู้สาเหตุของภูมิแพ้ และหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น เป็นวิธีการป้องกันโรคภูมิแพ้ที่ดีที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

ผู้ที่เป็น "โรคภูมิแพ้" ร่างกายจะไวต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ควัน หรืออาหาร มากกว่าคนปกติทั่วไป อาจทำให้เกิดอาการไอ จาม หอบ น้ำตาไหล หรือน้ำมูกไหลได้

หากเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ เมื่อเกิดอาการแพ้ยังสามารถแจ้งให้ผู้อื่นทราบได้ แต่หากเกิดในทารกที่ยังไม่สามารถสื่อสารได้ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้ จึงเป็นหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ หรือผู้ที่คอยดูแลทารกจะต้องเป็นผู้สังเกต “อาการภูมิแพ้ในทารก” เอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รู้จักอาการภูมิแพ้ในทารก

อาการแพ้ของทารกส่วนมากมักเกิดจาก “อาหาร” เป็นหลัก เช่น อาหารทะเล นมวัว นมถั่วเหลือง ไข่ แป้งสาลี หรือถั่วลิสง เพราะกระเพาะอาหารและลำไส้ของทารกยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต สามารถดูดซึมสิ่งต่างๆ ได้ดี ทำให้สารก่อภูมิแพ้ในอาหารถูกดูดซึมได้ง่าย

เมื่อสารก่อภูมิแพ้ถูกดูดซึมผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้เข้าไปในร่างกาย จะไปกระตุ้นกลไกของการเกิดภูมิแพ้ในทารก ส่งผลให้ระบบทางเดินอาหารเกิดปฏิกิริยาต่อต้านกลายเป็นโรคภูมิแพ้นั่นเอง

นอกจากนี้ “สิ่งแวดล้อม” ก็ยังมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนสัตว์ รวมไปถึงมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันบุหรี่ การรักษาความสะอาด และหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด

หากทารกได้รับการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้ภายในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด และทำให้เกิดอาการแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะสร้างกลไกป้องกันโรคภูมิแพ้ขึ้น อย่างไรก็ตามหากสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ในภายหลังก็อาจเกิดอาการแพ้ได้อยู่ดี

การถ่ายทอดโรคภูมิแพ้ผ่านทางกรรมพันธุ์

  • โรคภูมิแพ้สามารถถ่ายทอดผ่านทางกรรมพันธุ์ได้
  • หากพ่อ หรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้คนใดคนหนึ่ง ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ 50% แต่ถ้าพ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ถึง 70%
  • ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จากกรรมพันธุ์อาจไม่สำแดงอาการจนกว่าจะได้รับการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้
  • สำหรับทารกที่มีอาการของโรคภูมิแพ้ปรากฏให้เห็น หากได้รับการดูแลและรักษาที่เหมาะสม ไม่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้บ่อยๆ ก็อาจทำให้หายจากโรคภูมิแพ้ได้

ลักษณะอาการภูมิแพ้ในทารก

ลักษณะอาการภูมิแพ้ในทารกคล้ายกับอาการภูมิแพ้ในผู้ใหญ่คือ จะแสดงอาการผ่านระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ หรือระบบทางเดินอาหาร สามารถสังเกตอาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • อาการแพ้ในระบบผิวหนัง ผื่นคัน ผดร้อน ผิวหนังแห้ง โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า และแก้ม หรืออาจมีอาการผื่นลมพิษ
  • อาการแพ้ในระบบทางเดินหายใจ อาจเป็นหวัดง่ายกว่าปกติ หรือเป็นหวัดเรื้อรัง มีอาการจามน้ำมูกไหลในตอนเช้า หรือไอในบางเวลา เช่น ขณะเล่น ช่วงเวลากลางคืน หรือช่วงเวลาที่อากาศเปลี่ยน
  • อาการแพ้ในระบบทางเดินอาหาร ริมฝีปากบวม มีผื่นคันรอบปาก คลื่นไส้ อาเจียน แหวะนมบ่อย ท้องอืด ถ่ายเหลว หรือมีมูกเลือดปนในอุจจาระ

เมื่อสังเกตเห็นอาการแพ้ในทารกให้ลองหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดภูมิแพ้ดู เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก หรือนมวัว และให้ความสำคัญกับความสะอาดภายในบ้านมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่หากหลีกเลี่ยงสารเหล่านี้แล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ “ปรึกษาแพทย์” เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง

อาการของโรคภูมิแพ้จะเปลี่ยนแปลงตามอายุ

  • อาการของโรคภูมิแพ้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ เพราะอวัยวะต่างๆ เจริญเติบโตขึ้น มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของแต่ละคนด้วย
  • หากเด็กถูกกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้เป็นประจำ อาจพัฒนาจนกลายเป็นโรคแพ้อากาศ หรือโรคหอบ หรืออาจเป็นทั้งสองโรคในเวลาเดียวกันได้
  • เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจจำนวน 30-50% เมื่อโตเป็นวัยรุ่นอาการแพ้จะดีขึ้น เนื่องจากหลอดลมขยายใหญ่ขึ้น และปอดเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้หากรักษาอย่างต่อเนื่องก็มีโอกาสที่จะหายขาดได้
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ไม่รักษาให้หายขาดจะยังเป็นโรคภูมิแพ้อยู่ แม้จะไม่แสดงอาการก็ตาม หากไม่ควบคุมอาการของโรคให้ดีก็อาจทำให้อาการแย่ลงได้

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นภูมิแพ้?

  • หากทารกมีอาการภูมิแพ้ ควรรีบป้องกัน และรักษา โดยหาสาเหตุให้พบ และหลีกเลี่ยงสาเหตุนั้น
  • ทารกควรได้รับนมแม่ในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด เพื่อการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดี
  • วิธีรักษาอาการภูมิแพ้ที่ดีที่สุดคือ “การป้องกัน” โดยเฉพาะทารกที่เกิดในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ ควรเริ่มป้องกันตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ โดยมารดาต้องหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่รอบตัว เช่น ไรฝุ่น ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ และสัตว์ที่มีขน

ปัจจัยในการพิจารณาเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้มีมากมาย ทั้งอาหารการกิน และสภาพแวดล้อมต่างๆ หากควบคุมไม่ดี ได้รับการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้บ่อยๆ อาการแพ้จะรุนแรงมากขึ้น แม้ทารกจะเติบโตขึ้นแล้วก็ตาม 

ผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญในการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ โดยเฉพาะในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด ซึ่งเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง

อย่างไรก็ตามโรคภูมิแพ้นั้น หากควบคุมได้ดีก็จะสามารถบรรเทาอาการจนกระทั่งหายขาดได้ แต่หากได้รับการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้ก็อาจทำให้อาการแพ้กำเริบได้อีกเช่นกัน ฉะนั้นผู้ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้จะต้องดูแลรักษาสุขภาพให้ดีอย่างต่อเนื่อง

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คณะเทคนิคทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรคภูมิแพ้ (Allergy) (https://mt.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/home/main/health-brochure/2019/pdf/9.pdf).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป