กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

การรักษาและยาสำหรับโรคภูมิแพ้ในเด็ก

เรื่องล่าสุดเกี่ยวกับภูมิแพ้เพื่อช่วยให้คุณควบคุมอาการภูมิแพ้ของลูกได้
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
การรักษาและยาสำหรับโรคภูมิแพ้ในเด็ก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคภูมิแพ้ในเด็กเกิดได้ทั้งจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลักๆ ได้แก่ แพ้อาหาร ผิวหนังอักเสบ จมูกอักเสบ และหอบหืด
  • อาการแพ้หลักๆ จะแสดงออกมาทาง 3 ระบบในร่างกาย ได้แก่ ระบบผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร และระบบหายใจ
  • การรักษาโรคภูมิแพ้จะใช้ยาทา หรือยารับประทาน เพื่อบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา เนื่องจากยาแก้แพ้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อเด็กได้
  • วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารภูมิคุ้มกันที่สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ ซึ่งไม่สามารถหาได้จากแหล่งอาหารอื่น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้

ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากเห็นลูกของตัวเองเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่พบบ่อย และเกิดขึ้นได้กับทุกคนอย่าง "โรคภูมิแพ้" ซึ่งเป็นโรคที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วรักษาได้ยาก และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก 

ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้เพื่อป้องกัน และเตรียมรับมือกับอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ในเด็ก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ชนิดของโรคภูมิแพ้ในเด็ก

โรคภูมิแพ้ในเด็กส่วนมากจะแสดงอาการออกมาทางระบบผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร โดยแบ่งออกเป็น 4 ชนิด มีรายละเอียดดังนี้

1. โรคแพ้อาหาร

“ภูมิแพ้อาหาร” เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบมากที่สุดในทารก เนื่องจากกระเพาะอาหาร และลำไส้ของทารก ยังอยู่ในช่วงการเจริญเติบโต สามารถดูดซึมสิ่งต่างๆ ได้ดี ทั้งสารอาหารที่มีประโยชน์ และสารก่อภูมิแพ้ ทำให้ง่ายต่อการแพ้อาหารที่รับประทานเข้าไป

อาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก โดยเฉพาะในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอดคือ “นมแม่” ซึ่งเป็นนมที่เต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ย่อยง่าย และมี “ภูมิคุ้มกัน” ที่ไม่สามารถหาได้จากนมผง จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกมาก

ส่วนอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้มากที่สุด ได้แก่ โปรตีนในนมวัว หรือนมถั่วเหลือง ถั่วลิสง แป้งสาลี ไข่ และอาหารทะเล

อาการแพ้นมแม่นั้นมักไม่ได้เกิดจากการแพ้นมแม่จริงๆ แต่เป้นการแพ้สารตกค้างที่เกิดจากอาหาร หรือยาที่แม่รับประทาน รวมทั้งเวชสำอางที่ใช้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นหากเด็กมีอาการแพ้นมแม่จะต้องระมัดระวังในเรื่องอาหารการกินด้วย หรืออาจไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้เพิ่มเติม

อ่านเพิ่มเติม: ปัญหาการแพ้นมในเด็กทารก ทำไมเด็กถึงแพ้นมแม่ หรือนมผง และต้องทำอย่างไร

2. โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้

โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้เป็นโรคที่สามารถพบได้ในเด็กทุกช่วงอายุ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น แพ้เหงื่อ ผื่นคัน หรือผดร้อน โดยจะมีอาการดังนี้

  • ระยะเด็กเล็ก พบผื่นที่บริเวณแก้ม หน้าผาก หนังศีรษะ ข้อศอก และหัวเข่า
  • ระยะเด็กโต พบผื่นที่บริเวณข้อพับแขน ขา ข้อเท้า รวมถึงมือ และเท้า
  • ระยะผู้ใหญ่ พบผื่นที่บริเวณข้อพับ หน้า คอ มือ และเท้า

เมื่อเกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจพัฒนากลายเป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรังได้ 

โดยการรักษาอาการของโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้นั้น แพทย์จะพิจารณาจากลักษณะของผื่นที่ขึ้น และตำแหน่งของการเกิดผื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อ่านเพิ่มเติม: รู้จักกับอาการแพ้เหงื่อ หรือผดร้อนในเด็ก มีกี่ชนิด และแต่ละชนิดต้องดูแลรักษาอย่างไร

3. โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือ “โรคแพ้อากาศ

โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เกิดจากเยื่อบุจมูกไวต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ละอองหญ้า และเชื้อรา

อาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ได้แก่ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล และแน่นจมูก โดยส่วนมากจะมีอาการในช่วงเช้า และกลางคืน เป็นช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง หรือในช่วงที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้กระตุ้นโดยตรง

4. โรคหอบหืด

โรคหอบหืดเป็นหนึ่งในโรคภูมิแพ้ที่มักพัฒนามาจากผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้บ่อยๆ จนทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหลอดลม 

นอกจากนี้โรคหอบหืดยังเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้อีกด้วย

อาการของโรคหอบหืด

  • อาการในช่วงแรกจะไอในช่วงกลางคืน เหนื่อยง่าย ออกกำลังกายแล้วเหนื่อย
  • อาการกำเริบเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นคือ หอบหืด และหายใจเสียงดังวี๊ดๆ

“สิ่งแวดล้อม” เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาการของโรคหอบหืดกำเริบขึ้นมา ผู้ป่วยโรคหอบหืดจึงต้องใส่ใจตัวเองมากเป็นพิเศษ มีวิธีการดังนี้

  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ ขนสัตว์ สารกันบูดในอาหาร หรือมลพิษในอากาศ
  • เมื่อติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น เป็นไข้หวัด ไซนัสอักเสบให้รีบรักษาทันที เพราะอาจไปกระตุ้นให้อาการของโรคหอบหืดกำเริบได้
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศเย็น
  • ไม่ออกกำลังกายหักโหมเกินไป
  • ไม่เครียดมากเกินไป
  • ระมัดระวังการใช้ยาบางชนิดที่สามารถทำให้โรคหอบหืดกำเริบได้ เช่น แอสไพริน และไอบูโพรเฟน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะใช้ยาอะไร ผู้ป่วยโรคหอบหืดควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง ไม่ซื้อยาใช้เอง

จะป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กได้อย่างไร?

การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ทั้งหลายเป็นวิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ที่ดีที่สุด โดยการสังเกตว่า เด็กแพ้อะไร หรือตรวจภูมิแพ้ในโรงพยาบาลต่างๆ และขอคำแนะนำวิธีการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้

เมื่อเรียนรู้การอยู่ร่วมกับโรคภูมิแพ้อย่างถูกวิธีแล้ว สิ่งสำคัญคือ จะต้องเน้นย้ำให้เด็กๆ ระวังสารก่อภูมิแพ้ด้วยตนเอง เพราะการจับตามอง และควบคุมทุกอย่างที่เด็กกิน หรือสัมผัสตลอดเวลาเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

ทางที่ดีควรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ วิธีหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และการสังเกตอาการจากภูมิแพ้ที่เกิดกับตัวเด็กเอง 

สิ่งสำคัญคือ อย่าลืมแจ้งครูที่โรงเรียน และคนในครอบครัวเกี่ยวกับอาการภูมิแพ้ของเด็ก เพื่อช่วยเป็นหูเป็นตา และคอยระวังให้เด็กเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ด้วย

อ่านเพิ่มเติม: ทารกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้หรือไม่ อาการภูมิแพ้ของทารกเป็นอย่างไร

การป้องกันโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง

  • อาบน้ำด้วยน้ำอุ่น ใช้เวลาสั้นๆ ประมาณ 3-5 นาที ไม่ควรใช้เวลานาน เพราะจะทำให้ผิวแห้งเกินไป
  • ใช้สบู่ หรือครีมอาบน้ำที่อ่อนโยนต่อเด็ก การใช้สบู่ที่แรงเกินไปอาจทำให้ผิวแห้ง และมีอาการแย่ลงได้
  • ใช้ครีม ขี้ผึ้ง หรือโลชั่นทาหลังจากอาบน้ำ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว
  • ให้เด็กสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติอย่างผ้าฝ้าย หลีกเลี่ยงผ้าที่มีเนื้อหยาบ เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองมากกว่าเดิม
  • หมั่นตัดเล็บของเด็กให้สั้น ป้องกันการอักเสบ และติดเชื้อที่ผิวหนัง เมื่อเด็กคัน หรือเกา
  • หากพบว่า มีอาการผิวหนังติดเชื้อ เช่น ผิวแดง แสบร้อน ตกสะเก็ด หรือมีหนอง ควรพาไปพบแพทย์

การป้องกันโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ

  • ไม่ควรเลี้ยงสัตว์เลี้ยง หากเด็กแพ้ขนสัตว์ หรือหากต้องการเลี้ยงก็ควรเลี้ยงไว้นอกบ้าน
  • หากแพ้เกสร ควรงดให้เด็กออกจากบ้านในช่วงที่มีเกสรดอกไม้มากๆ หรือช่วงที่มีลมแรง
  • กำจัดเชื้อราภายในบ้านและบริเวณรอบบ้าน
  • ใช้เครื่องลดความชื้นตามบริเวณที่อับชื้น
  • หมั่นซักหมอน ห้าห่ม และเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส รวมถึงเลือกใช้ปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนชนิดกันไรฝุ่นได้
  • ซักทำความสะอาดตุ๊กตาตัวโปรดของเด็กเป็นประจำ เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมของไรฝุ่นได้
  • ใช้เครื่องฟอกอากาศ หรือเครื่องปรับอากาศที่มีแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (HEPA) เพื่อช่วยกำจัดสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน
  • ให้เด็กอาบน้ำทุกครั้งหลังกลับจากเล่นสนุกนอกบ้าน เพราะอาจมีละอองเกสร หรือสารก่อภูมิแพ้ติดมาด้วย
  • ไม่สูบบุหรี่ในบ้าน เพราะบุหรี่เป็นตัวกระตุ้นให้อาการภูมิแพ้รุนแรงขึ้นได้

การป้องกันโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินอาหาร

  • ให้เด็กหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้ และอาหารที่เสี่ยงปนเปื้อนสิ่งที่แพ้
  • สอนให้เด็กอ่านส่วนประกอบของอาหารบนฉลากทุกครั้งก่อนบริโภค
  • ระมัดระวังเมื่อรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร โดยแจ้งให้ทางร้านทราบว่า เด็กไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมทำให้เกิดอาการแพ้ได้
  • บอกคุณครู และผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็ก ให้เข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณของอาการแพ้อาหาร เพื่อที่จะได้รับมือกับอาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที

หากไม่แน่ใจว่า เด็กมีอาการแพ้อาหารชนิดใดบ้าง หรือเด็กมีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงหรือไม่ ปัจจุบันมีโรงพยาบาล และคลินิกชั้นนำหลายแห่งให้บริการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food IgG)แล้ว 

ทั้งแต่บริการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงแต่ละแห่งก็มีจำนวนการตรวจชนิดอาหารแตกต่างกัน เช่น ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 200+ ชนิดตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 221 ชนิด  ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 232 ชนิด

การรักษาโรคภูมิแพ้ในเด็ก

หากหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ไม่ได้ หรือพยายามเลี่ยงแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาบางชนิดเพื่อบรรเทาอาการจากโรคภูมิแพ้ เช่น ยาต้านฮิสตามีน หรือยาแก้แพ้ 

ยาจะช่วยยับยั้งสารฮิสตามีนที่หลั่งออกมาเมื่อร่างกายสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ทำให้อาการแพ้บรรเทาลง 

ยาเหล่านี้มีทั้งชนิดที่มีขายตามร้านยาทั่วไปและชนิดที่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์

ยารักษาภูมิแพ้ที่แนะนำสำหรับเด็กคือ ยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้ง่วง ได้แก่ ยาซิทิริซีน (Cetirizine) และยาโลราทาดีน (Loratadine

ควรหลีกเลี่ยงยาที่จะทำให้เด็กง่วงนอนอย่างยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เพราะจะทำให้ไม่มีสมาธิ สมาธิสั้น และส่งผลต่อการเรียนของเด็กได้ 

หากเด็กมีอาการคัดจมูกจากภูมิแพ้ด้วย อาจต้องใช้สเปรย์พ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ เช่น ยาบูเดโซไนด์ (Budesonide) ยาฟลูทิคาโซน (Fluticasone) และยาไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone) โดยอาจใช้เวลาเพียง 2-3 วัน หรือนาน 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผล

นอกจากนี้เด็กที่เสี่ยงมีอาการแพ้รุนแรงแบบเฉียบพลัน หรือเรียกว่า "แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis)" ซึ่งเป็นอาการแพ้รุนแรงถึงชีวิต แพทย์อาจให้พกยาฉีดอิพิเนฟริน (Epinephrine) ติดตัวไว้สำหรับฉีดระงับอาการในกรณีฉุกเฉิน 

เพื่อการรักษาอาการแพ้รุนแรงอย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นตัวเด็ก ผู้ปกครอง หรือบุคคลใกล้ชิด ควรเรียนรู้วิธีการฉีดยาอิพิเนฟริน

ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้เด็กลองใช้ยา หรือการรักษาใดๆ ไม่ควรซื้อยามาใช้ด้วยตัวเอง

ยารักษาโรคภูมิแพ้ในเด็กเล็ก

ตัวเลือกของยาที่ใช้รักษาโรคภูมิแพ้ในเด็กเล็กจะมีจำกัดมากกว่ายาสำหรับเด็กโต ดังนี้

  • ยาเดสลอราทาดีน (Desloratadine) และยาเลโวซิทีริซีน (Levocetirizine) เป็นยาในรูปยาน้ำเชื่อม ใช้ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนเท่านั้น
  • ยาโลราทาดีนและยาซิทิริซีน มีในรูปยาน้ำเชื่อมและยาเม็ดสำหรับเคี้ยว ใช้ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปีเท่านั้น
  • ยามอนเทลูคาสท์ (Montelukast) เป็นยารักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ใช้ในการรักษาโรคหอบหืดเรื้อรังในเด็ก ยาผงสำหรับรับประทานจะใช้ในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ส่วนยาเม็ดเคี้ยวได้จะใช้ในเด็กอายุมากกว่า 6 ปี
  • ยาเฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) เป็นยารักษาภูมิแพ้ตัวใหม่ล่าสุด รูปแบบยาน้ำแขวนตะกอน ใช้ในเด็กอายุระหว่าง 2-11 ปี ที่มีภาวะภูมิแพ้อากาศ และในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ที่มีผื่นลมพิษเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก ได้แก่ ยาโมเมทาโซนฟูโรเอต (Mometasone furoate) และยาฟลูทิคาโซนฟูโรเอต (Fluticasone furoate) ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี และยาฟลูทิคาโซน ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 4 ปี
  • ยาต้านฮิสตามีนชนิดพ่นจมูก เช่น ยาอะซีลาสทีน (Azelastine) ใช้ในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป

ยารักษาโรคภูมิแพ้ในเด็กโต

ยารักษาภูมิแพ้ที่ใช้ในเด็กโตค่อนข้างคล้ายคลึงกับยาที่ใช้ในเด็กเล็ก แต่อาจใช้ในปริมาณที่มากกว่า ดังนี้

  • ยามอนเทลูคาสท์ในรูปแบบยาเม็ดเคี้ยวได้ขนาด 5 มิลลิกรัม สำหรับเด็กอายุ 6-14 ปี ส่วนเด็กอายุมากกว่า 14 ปี สามารถใช้ยาเม็ดขนาด 10 มิลลิกรัม เหมือนผู้ใหญ่ได้
  • ยาเฟกโซเฟนาดีนในรูปแบบยาเม็ดขนาด 30 มิลลิกรัม สำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี และยาเม็ดขนาด 60 หรือขนาด 180 มิลลิกรัม สำหรับเด็กอายุมากกว่า 12 ปี
  • ยาเดสลอราทาดีน ยาโลราทาดีน ยาซิทิริซีน และยาเลโวซิทีริซีน สามารถใช้ในเด็กอายุมากกว่า 6 ปีได้
  • ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกสำหรับเด็กโต สามารถใช้ยานี้ตัวเดียว หรือใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อควบคุมอาการภูมิแพ้ได้

เมื่อเด็กเป็นโรคภูมิแพ้ สิ่งที่ผู้ปกครองต้องใส่ใจคือ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และสุขภาพร่างกายของเด็ก 

หากเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และไม่ถูกกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้ ก็จะเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ส่งผลให้อาการของโรคภูมิแพ้ดีขึ้นตามไปด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ในเด็ก


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อ. ดร.เสริมศรี สันตติ, เมื่อลูกเป็น “โรคภูมิแพ้” ต้องดูแลอย่างไร? (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/เมื่อลูกเป็น-โรคภูมิแพ/), 6 มีนาคม 2560.
ผศ.พญ.ปัญจมา ปาจารย์, “หนูน้อยภูมิแพ้” กับการดูแลสุขภาพในหน้าหนาว (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=714).
ผศ.พญ.จิตติมา เวศกิจกุล, การให้วัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ในเด็ก (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1160).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)