โรคภูมิแพ้ขนสัตว์ สาเหตุ วิธีป้องกัน และวิธีรักษา

อยู่ใกล้สัตว์เลี้ยง หมา แมว กระต่าย นก แล้วเกิดอาการไอ จาม ผื่นขึ้น ใช่โรคภูมิแพ้ขนสัตว์หรือเปล่านะ
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคภูมิแพ้ขนสัตว์ สาเหตุ วิธีป้องกัน และวิธีรักษา

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคภูมิแพ้ขนสัตว์ เกิดได้ทั้งจากขนสัตว์โดยตรง ไรฝุ่นบนตัวสัตว์ และน้ำมันลาโนลินที่อยู่บนผ้าขนสัตว์
  • อาการแพ้ขนสัตว์ เช่น จาม คัน น้ำมูกไหล คัดจมูก ผื่นขึ้น ลมพิษ คันตา ตาแดง หรือตาบวม
  • หากสงสัยว่า แพ้ขนสัตว์ ลองหลีกเลี่ยงสัตว์ตัวนั้นสัก 1-2 อาทิตย์ หากอาการดีขึ้นแปลว่า มีโอกาสแพ้
  • ป้องกันภูมิแพ้ได้ โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ แต่หากจำเป็นต้องเลี้ยงสัตว์จริงๆ ก็ควรกำจัดบริเวณ และไม่ให้เข้าห้องนอน
  • ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ขนสัตว์ให้หายขาด แพทย์จะรักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้น (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ได้ที่นี่)

โรคภูมิแพ้ขนสัตว์เป็นโรคที่ขัดใจคนรักสัตว์เลี้ยงอย่างยิ่ง เพราะเมื่อไรก็ตามที่คุณเข้าใกล้สัตว์เลี้ยง หรือเพียงแค่สัมผัสคลุกคลีเป็นเวลาสั้นๆ คุณอาจเกิดอาการแพ้ เช่น จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก คันจมูก คัน แดง หรือมีผื่นลมพิษขึ้นตามผิวหนังได้

แต่หากคุณไม่เคยสังเกตมาก่อนว่า ตัวเองมีอาการเหล่านี้เมื่อใกล้ชิดสัตว์เลี้ยง คุณก็ควรเริ่มเอะใจได้แล้ว เพราะอาจถึงเวลาที่ต้องออกห่างจากสัตว์เลี้ยงของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มาลองเช็กอาการ และดูกันว่า คุณจะจัดการกับโรคภูมิแพ้ชนิดนี้อย่างไรได้บ้าง

สาเหตุของอาการแพ้ขนสัตว์

1. สารก่อภูมิแพ้ที่มาจากสัตว์โดยตรง

เป็นสารก่อภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมาก พบได้บนผิวหนังของสัตว์ และน้ำลายจากสัตว์

เมื่อสัตว์เลียขนจะทำให้สารก่อภูมิแพ้ชนิดนี้เคลือบอยู่บนขนของสัตว์ และสามารถอยู่ได้นาน 5–6 เดือนเลยทีเดียว

2. ไรฝุ่นบนตัวสัตว์

มีงานวิจัยบางฉบับที่พบว่า อาการภูมิแพ้จากขนสัตว์อาจไม่ได้เกิดจากการแพ้สารก่อภูมิแพ้บนขนสัตว์เพียงอย่างเดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่สามารถเกิดจากการแพ้ฝุ่น หรือตัวไรชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมาก และอาศัยอยู่บนตัวสัตว์ชนิดนั้น เช่น สุนัข แมว และกระต่าย ได้เช่นกัน

3. ผ้าขนสัตว์

ผ้าที่ทำมาจากขนแกะ ซึ่งมีน้ำมันธรรมชาติที่เรียกว่า “ลาโนลิน” เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการแพ้ขนสัตว์ในหมู่คนจำนวนไม่น้อย โดยจะทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้น้ำมันลาโนลินในขนสัตว์

และเมื่อไปสัมผัสผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีลาโนลินเป็นส่วนประกอบก็ทำให้เกิดอากรแพ้ได้เช่นกัน

อาการของโรคภูมิแพ้ขนสัตว์

อาการแพ้ขนสัตว์มีได้หลายรูปแบบ เช่น

  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ ทำให้คัดจมูก น้ำมูกไหล จามบ่อย หรือรุนแรงถึงขั้นหายใจไม่ออก หลอดลมตีบ และมีอาการหอบ
  • อาการทางผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรง อาจทำให้เกิดผื่นแดง มีอาการคัน หรือเกิดผื่นลมพิษ
  • อาการทางดวงตา ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ตาแดง คันตา น้ำตาไหล และมีอาการตาบวมอย่างเห็นได้ชัด

วิธีสังเกตว่า เป็นโรคภูมิแพ้ขนสัตว์

หากคุณอยู่ใกล้สัตว์เลี้ยงชนิดใดแล้วมีอาการที่กล่าวมาข้างต้น ให้ลองอยู่ห่างจากสัตว์ชนิดนั้นประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วสังเกตว่า อาการดีขึ้นหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากอาการดีขึ้น หรืออยู่ใกล้สัตว์เลี้ยงชนิดนั้นแล้วมีอาการกลับมาอีก ก็สันนิษฐานได้เลยว่า คุณอาจเป็นโรคภูมิแพ้ขนสัตว์

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นโรคภูมิแพ้ขนสัตว์ คุณควรเข้ารับการทดสอบโรคภูมิแพ้กับแพทย์ เพราะอาการที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากการสัมผัสสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้เช่นกัน

และเมื่อรู้แน่ชัดว่าแพ้อะไรแล้ว คุณก็จะสามารถควบคุม หรือหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้

วิธีสังเกตว่า แพ้เสื้อขนสัตว์ที่มีน้ำมันลาโนลิน

ส่วนการสังเกตว่า ตัวเองมีอาการแพ้เสื้อขนสัตว์ที่มีน้ำมันลาโนลินหรือไม่นั้น ให้ลองสวมเสื้อขนสัตว์ดู

หากสัมผัสโดยตรงแล้วแพ้ อาจลองใส่เสื้อข้างในชั้นหนึ่งก่อนสวมเสื้อขนสัตว์แท้ หากไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แสดงว่า คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนสัตว์ได้หากไม่ได้สวมใส่แบบสัมผัสผิวหนังโดยตรง

ในกรณีนี้มีความเป็นไปได้ที่จะไม่ใช่อาการแพ้ แต่เป็นแค่การระคายเคืองจากเสื้อผ้าที่มีเส้นใยหยาบ ซึ่งบางคนมีความไวต่อคุณภาพ และความหยาบขนสัตว์ชนิดนั้น

หรือเกิดจากการดูแลรักษาอย่างไม่ถูกต้อง จนทำให้เส้นใยขนสัตว์ที่หลุดร่วงออกมาแล้วกระตุ้นให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง

นอกจากนี้สารเคมีที่นำมาใช้ทำความสะอาดขนสัตว์ รวมถึงสีที่ผสมลงไป ก็สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน

การทดสอบโรคภูมิแพ้ขนสัตว์

การทดสอบภูมิแพ้ขนสัตว์ทำได้เช่นเดียวกับการทดสอบโรคภูมิแพ้อื่นๆ แพทย์มักใช้การทดสอบที่เรียกว่า “การตรวจภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด (Skin Prick Test: SPT)”

โดยนำสารภูมิแพ้จากสัตว์ หรือสารก่อภูมิแพ้ที่น่าสงสัยว่า อาจเป็นตัวการ มาหยดลงบนผิวหนัง และใช้เข็มขนาดเล็กที่ปราศจากเชื้อสะกิดผิวหนังบริเวณที่หยดของเหลว เพื่อให้ของเหลวนั้นซึมเข้าสู่ผิวหนัง

หลังจากนั้นจะสังเกตดูว่า ผิวหนังบวม แดง หรือมีสัญญาณของอาการแพ้อื่นๆ เกิดขึ้นหรือไม่ โดยอาการแพ้จะเกิดขึ้นภายใน 15-20 นาที

วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ขนสัตว์

เมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนที่ช่วยคลายความเหงาให้เรา แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ขนสัตว์ด้วย คุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อช่วยลดอาการแพ้ และสามารถอยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงได้

  • ไม่ให้สัตว์เลี้ยงเข้ามาในห้องนอนของคุณ และจำกัดให้สุนัขเข้าได้เพียงบางห้องเท่านั้น
  • ไม่ลูบคลำ กอด จูบ หรือคลุกคลีใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง ถ้าคุณทำ ให้ล้างมือด้วยสบู่ และน้ำสะอาด
  • ใช้เครื่องฟอกอากาศประสิทธิภาพสูง (HEPA) ฟอกอากาศในห้องนอน หรือในห้องนั่งเล่นอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ลงได้
  • หมั่นหมั่นทำความสะอาดและดูดฝุ่นภายในบ้านเป็นประจำ เพื่อกำจัดปริมาณสารก่อภูมิแพ้
  • อาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพื่อลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้บนตัวสัตว์เลี้ยง หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวสัตว์เลี้ยง 
  • หมั่นแปรงขนให้สัตว์เลี้ยงบ่อยๆ รวมถึงทำความสะอาดของเล่นของสัตว์เลี้ยงทุกสัปดาห์
  • ไม่นำสัตว์เลี้ยงมาเล่นบนโซฟา หรือบนโต๊ะ และไม่ให้สัตว์เลี้ยงเข้าไปภายในรถ
  • อาจให้สัตว์เลี้ยงกินอาหารเสริมประเภทโอเมก้า 3 เพื่อบำรุงขน และป้องกันการหลุดร่วงของเส้นขน

วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ขนสัตว์

ปัจจุบันนี้ยังไม่มีการรักษาใดที่ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ให้หายขาดได้ วิธีที่ดีที่สุด คือการหลีกเลี่ยงต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และรับการรักษาตามอาการของภูมิแพ้ที่เกิดขึ้น

โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้จะช่วยแนะนำว่า การรักษาใดเหมาะสมสำหรับคุณที่สุด เช่น

  • อาการทางจมูกมักรักษาด้วยยาสเตียรอยด์แบบพ่นจมูก ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน และยาชนิดรับประทานอื่นๆ
  • อาการทางตามักรักษาด้วยยาแก้แพ้ชนิดหยอดตา
  • อาการทางระบบทางเดินหายใจหรือหอบหืดรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นหรือยาขยายหลอดลม

นอกจากนี้ มีการรักษาอีกวิธีที่ช่วยป้องกันภูมิแพ้ได้ในระยะยาวและเห็นผลดี คือ การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

โดยจะฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกายเข้าสู่ร่างกายทีละน้อย และค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่แพ้ขนสัตว์ แต่ต้องการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว หนูแฮมสเตอร์ หรือกระต่าย เพื่อให้เป็นเพื่อนคลายเหงา หรือเปรียบเสมือนเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว

หลังจากทราบถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และวิธีรักษาโรคภูมิแพ้ขนสัตว์ไปแล้ว คุณก็น่าจะคลายความกังวลไปได้มากพอสมควร และรู้ว่า ควรทำอย่างไรถึงจะอยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงอย่างสบายใจ และปลอดภัยยิ่งขึ้น

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ขนสัตว์


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Michael Kerr and Rena Goldman, Dog Allergies (https://www.healthline.com/health/allergies/dog), 11 July 2017.
Michael Kerr and Rena Goldman, Cat Allergies (https://www.healthline.com/health/allergies/cats), 21 August 2017.
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=977), 6 กรกฎาคม 2555.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป