กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

วิธีรับมืออาการภูมิแพ้จากแมว

เมื่อแมวที่คุณเลี้ยงกลายเป็นแหล่งของสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน แล้วคุณควรรับมืออย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 10 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 23 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
วิธีรับมืออาการภูมิแพ้จากแมว

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สารก่อภูมิแพ้จากแมวที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หลักๆ มาจากเส้นขนและสะเก็ดผิวหนังที่ตายไปแล้ว ซึ่งเปื้อนคราบปัสสาวะ และน้ำลายจากแมว
  • อาการหลักๆ ของภูมิแพ้แมวจะได้แก่ อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม คันระคายเคืองตา
  • วิธีรักษาอาการแพ้จากแมวแบ่งเป็น 2 วิธี วิธีแรกคือ ใช้ยาบรรเทาอาการ มีทั้งยารับประทาน ยาพ่น ยาหยอด ส่วนวิธีที่ 2 คือ ดูแลสภาพแวดล้อมในบ้านให้สะอาด หลีกเลี่ยงไม่อยู่ใกล้แมว เพื่อไม่ให้ร่างกายรับขนที่หลุดร่วงเข้าไป
  • หากต้องอยู่ร่วมกับแมว ต้องกำหนดบริเวณ และทำความสะอาดบ้านบ่อยๆ 
  • คุณอาจลองตรวจภูมิแพ้เพื่อหาสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ ที่อาจยังไม่รู้มากขึ้น (ดูแพ็กเกจตรวจโรคภูมิแพ้ และสารก่อภูมิแพ้ได้ที่นี่)

คุณมีคนในครอบครัว หรือเพื่อนสนิทที่เป็นภูมิแพ้แมวกันบ้างหรือเปล่า นอกจากความน่ารัก ตัวนุ่มๆ และขนปุยๆ ของมันแล้ว คุณอาจไม่รู้ว่า "แมวเป็นสัตว์อีกชนิดที่เป็นตัวต้นเหตุของการก่อโรคภูมิแพ้"

อาการหลักๆ ของภูมิแพ้แมวได้แก่ อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ระคายเคืองตา ผื่นคัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากมีอาการเหล่านี้ เราจึงควรรู้วิธีจัดการกับอาการภูมิแพ้แมวอย่างไร เพื่อที่จะได้ไม่ต้องแก้ปัญหาด้วยการยกแมวแสนรักของคุณให้คนอื่นไปเลี้ยงแทน

สาเหตุที่ทำให้เกิดภูมิแพ้แมว

สารก่อภูมิแพ้ที่มาจากตัวเจ้าเหมียวนั้น มีต้นตอหลักมาจากโปรตีนชื่อ Fel d 1 ที่พบได้ในปัสสาวะและน้ำลายของแมว 

หากคุณเคยเลี้ยงแมวมาก่อน จะรู้ว่าแมวมักจะทำความสะอาดตนเองผ่านการเลียขน นั่นจึงทำให้สารก่อภูมิแพ้บางส่วนไปติดอยู่ตามขน และผิวหนังของแมวนั่นเอง

เมื่อขนแมวของคุณมีสารก่อภูมิแพ้ติดอยู่ และขนส่วนหนึ่งรวมถึงสะเก็ดผิดหนังที่ตายไปแล้วได้หลุดร่วงไปติดอยู่ตามเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ พื้นบ้าน และตามร่างกายของคุณ 

นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณรับเอาสารก่อภูมิแพ้จากแมวเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ และเกิดเป็นอาการภูมิแพ้ขึ้นในที่สุด

วิธีรักษาอาการภูมิแพ้แมว

โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยทั่วไปการรักษาภูมิแพ้ที่ดีที่สุดคือ เลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งหมายถึงการเลิกเลี้ยงแมว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่หากคุณเป็นคนรักแมวที่อยากเลี้ยงแมว แต่สามารถเลือกใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการแพ้ได้ 

ประเภทของยารักษาภูมิแพ้

  • ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) ซึ่งจะไปยับยั้งการทำงานของสารฮิสตามีนที่ทำให้เกิดอาการแพ้โดยตรง เช่น เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) เซทิรีซีน (Cetirizine) ลอราทาดีน (Loratadine)
  • ยาหดหลอดเลือด (Decongestants) เป็นยาสำหรับลดอาการของการแพ้คัดจมูก มีทั้งแบบชนิดพ่น หรือหยอดจมูก เช่น ออกซีเมตาโซลีน (Oxymetazoline) เตตาไฮโดรโซนลีน (Tetrahydrozoline) อีฟิดรีน (Ephidrine)
  • ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (Nasal steroid sprays) เช่น ไซเคิลโซไนด์ (Ciclesonide) บูเดโซไนด์ (Budesonide) โมเมทาโซน ฟูโรเอต (Mometasone furoate)

นอกจากนี้การให้วัคซีนภูมิแพ้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้จากแมวได้ แต่ด้วยระยะเวลารักษาที่ค่อนข้างนานและไม่สามารถใช้ได้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ วิธีรักษาแบบนี้จึงไม่ค่อยได้ความนิยมมากนัก

นอกจากวิธีรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ การปรับเปลี่ยนวิธีเลี้ยงแมวให้เหมาะสม ก็เป็นอีกทางช่วยให้อาการภูมิแพ้ของคุณดีขึ้นได้เช่นกัน

การปรับเปลี่ยนวิธีเลี้ยงแมวให้เหมาะสม 

ไม่กอด หอม หรือจูบแมว 

หลายคนคงที่เป็นทาสแมวคงจะชอบอุ้ม หรือจับแมวฟัดด้วยความหมั่นเขี้ยว หรือบางคนอาจจะชอบจูบ หรือหอมเจ้าเหมียวเพื่อแสดงความรัก แต่นั่นเป็นช่องทางให้สารก่อภูมิแพ้สามารถเข้าถึงร่างกายได้โดยตรง 

ทางที่ดีควรสัมผัสแมวเพียงการลูบเท่านั้น และให้ล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสแมว

ระมัดระวังหากมีคนรู้จักที่เลี้ยงแมว

ถึงจะไม่ได้เลี้ยงแมวไว้ในบ้าน หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสแมวอย่างใกล้ชิดแล้ว แต่หากมีญาติ หรือเพื่อนสนิทที่เลี้ยงแมว และมาเยี่ยมที่บ้าน ให้ระวังขนแมวที่อาจติดอยู่ตามเสื้อผ้า หรือกระเป๋าของแขก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เพราะถึงแม้แขกจะกลับไปแล้ว แต่ขนแมวที่ติดตัวมาก็อาจหล่นร่วงอยู่ภายในบ้าน และทำให้เกิดอาการแพ้ได้

วางแผนให้ดี หากต้องอยู่บ้านที่เลี้ยงแมว

หากจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านที่เลี้ยงแมวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้วางแผนรับมือกับอาการแพ้ 

โดยอาจไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับวัคซีนภูมิแพ้ หรือขอรับยาแก้อาการภูมิแพ้มาติดตัวไว้ เพื่อให้สามารถควบคุมอาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม หากคุณมีคนในครอบครัวที่เป็นโรคภูมิแพ้แมว วิธีรักษา และแก้ไขอาการได้ดีที่สุดก็คือ คุณควรหาบ้านใหม่ให้แมวของตนเอง เพราะหากเป็นโรคภูมิแพ้แล้ว ผู้ป่วยก็ควรจะอยู่ให้ห่างจากสารก่อภูมิแพ้ที่สุด

แต่แน่นอนว่า คำแนะนำข้อนี้ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะเมื่อคุณอยู่กับสัตว์เลี้ยงไปได้สักพักก็ย่อมมีความผูกพัน และไม่อยากให้มันจากไปไหน เราจึงมีคำแนะนำอื่นๆ มาให้ เพื่อให้คุณสามารถอยู่ร่วมกับแมวได้

คำแนะนำหากต้องการเลี้ยงแมวอย่างปลอดภัย

  • จำกัดระยะห่าง ระวังอย่าให้ตนเองเข้าไปอยู่ใกล้แมว และสมาชิกคนอื่นในบ้านที่ไม่เป็นภูมิแพ้ก็ควรรับหน้าที่ช่วยดูแลแมวแทน
  • จำกัดพื้นที่ในบ้าน พูดคุยทำความเข้าใจกับสมาชิกในบ้านว่า มีพื้นที่ส่วนใดที่แมวสามารถเข้าไปได้บ้าง และพื้นที่ส่วนใดที่ห้ามแมวเข้าไป เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ เพื่อป้องกันสารก่อภูมิแพ้เข้าไปกระจายตัวอยู่บริเวณนั้น 
  • ทำความสะอาดบ้านบ่อยๆ เพราะขนแมวสามารถหลุดกระจายอยู่ได้ทั่วบริเวณของบ้าน คุณจึงจำเป็นต้องทำความสะอาดบ้านบ่อยๆ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นผ้า หรือพรม เพราะพื้นผิวชนิดนี้ง่ายต่อขนแมวที่จะเข้าไปติด และหลุดออกได้ยาก
  • เลี้ยงแมวไว้นอกบ้าน อาจเป็นไอเดียที่ดีกว่าสำหรับผู้ที่เลี้ยงแมวแต่เป็นภูมิแพ้แมวด้วย แต่ข้อนี้ก็ต้องแน่ใจด้วยว่า ข้างนอกบ้านนั้นปลอดภัยพอสำหรับเจ้าเหมียว
  • ให้บริเวณบ้านมีอากาศถ่ายเท และสะอาด อย่าปล่อยให้ภายในบ้านอับชื้น ควรเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท ไล่ความชื้น รวมถึงไล่สารก่อภูมิแพ้จากแมวให้ออกไปจากบ้าน นอกจากนี้ควรติดตั้งควรติดตั้งเครื่องฟอกอากาศที่ใช้ระบบ HEPA ด้วย
  • อาบน้ำให้แมว อย่างที่หลายคนรู้กันว่า แมวเป็นสัตว์ที่กลัวน้ำ การอาบน้ำจึงไม่เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้เลี้ยงแมว แต่เพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งสกปรกติดอยู่ตามขนแมวมากเกินไป จึงควรอาบน้ำให้แมวทุกๆ 4-6 สัปดาห์ หรืออาจปรึกษากับสัตวแพทย์ว่า ควรอาบถี่แค่ไหน และให้แนะนำแชมพูที่ช่วยบำรุงไม่ให้ขนแมวหลุดร่วงเยอะ เพื่อไม่ให้ภายในบ้านมีสารก่อภูมิแพ้มาเกินไป

การใช้วิธีเหล่านี้รวมกัน หรือลองปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมของบ้านดู ก็อาจช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นจากแมวได้มากมาย และทำให้อาการแพ้ของคุณดีขึ้นกว่าแต่ก่อน 

นอกจากนี้คุณยังสามารถเลี้ยงเจ้าเหมียวได้ต่อไปและไม่ต้องยกเจ้าเหมียวแสนรักให้คนอื่นอีกด้วย

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และอาการแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, Cat Allergies (https://www.webmd.com/allergies/cat-allergies#1), 10 March 2020.
Judith Marcin, Cat Allergies (https://www.healthline.com/health/allergies/cats), 1March 2020.
Bonnet, B., et al. An update on molecular cat allergens: Fel d 1 and what else? Chapter 1: Fel d 1, the major cat allergen. Allergy, Asthma Clin Immunol 14, 14(2018). Doi: https://doi.org/10.1186/s13223-018-0239-8

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำไม ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ จึงไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ
ทำไม ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ จึงไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ

อาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มักกำเริบในช่วงกลางคืน ทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ การกำจัดสารก่อภูมิแพ้ภายในห้องนอนสามารถช่วยลดอาการได้

อ่านเพิ่ม